ี
สถานที่ตั้ง
(วัดขี้เหล็ก) ตั้งอยู่เลขที่ 796 ถนนรุ่งประชา แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
หรือเรียกบริเวณนี้ว่า สามแยกคลองชักพระ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4435 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่
ราบลุ่มอยู่ริมคลองบางกอกน้อย มีคูนํ้าโดยรอบวัด
อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับคูนํ้า
ทิศใต้ติดต่อกับคูนํ้าและโรงเรียนเสริมศรัทธา
ทิศตะวันออกติดต่อกับคูนํ้ากั้นเขต
ทิศตะวันตกติดต่อกับคลองบางกอกน้อย
หรือเรียกบริเวณนี้ว่า สามแยกคลองชักพระ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4435 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่
ราบลุ่มอยู่ริมคลองบางกอกน้อย มีคูนํ้าโดยรอบวัด
อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับคูนํ้า
ทิศใต้ติดต่อกับคูนํ้าและโรงเรียนเสริมศรัทธา
ทิศตะวันออกติดต่อกับคูนํ้ากั้นเขต
ทิศตะวันตกติดต่อกับคลองบางกอกน้อย
ประวัติวัดสุวรรณคีรี(วัดขี้เหล็ก)
วัดสุวรรณคีรี(วัดขี้เหล็ก)เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างในปลายรัชกาล สมเด็จพระนารายณมหาราช ประมาณ พ.ศ. 2228 เดิมมีนามว่า “วัดขี้เหล็ก” โดยมีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้มาปักกลดอยู่ในบริเวณดงต้นขี้เหล็กซึ่งมีอยู่มากมาย ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างเป็นวัดขึ้นมาและวัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ขึ้นใหม่หมดทั้งวัดในราว พ.ศ. 2338 โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิง
หนาท และได้เปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดสุวรรณคีรี” วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาราวพ.ศ.2228 พร้อมกับระยะเวลา การประกาศสร้างวัด เขตวิสุงคามสีมากว้าง 26 เมตร ยาว 40เมตร
ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาถวายพระราชทานผ้าพระกฐินต้นเป็นการส่วนพระองค์
หนาท และได้เปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดสุวรรณคีรี” วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาราวพ.ศ.2228 พร้อมกับระยะเวลา การประกาศสร้างวัด เขตวิสุงคามสีมากว้าง 26 เมตร ยาว 40เมตร
ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาถวายพระราชทานผ้าพระกฐินต้นเป็นการส่วนพระองค์
ปูชนียวัตถุ
สำ หรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถสร้างด้วยศิลาแลง หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร (ประมาณ 5 ศอก) สูง 3 เมตร ปางสะดุ้งมาร พระหัตถข้างซ้ายมี 6 นิ้ว พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา คือพระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตร พระพุทธบาทจำ ลองและพระพุทธฉาย พร้อมด้วยหอพระไตรปิฎก ทุกกลางเดือน 3 ของทุกปี ได้จัดงานนมัสการเป็นประจำ
เสนาสนะต่าง ๆ
ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดั้งนี้
1. อุโบสถมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะทรงไทย ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันไม้สักแกะ สลักลวดลาย
2. หลังคาลด 3 ชั้น
3. กุฏิสงฆ์จำ นวน 5 หลัง ส่วนมากเป็นอาคารครึ่งไม้ ทรงไทยมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 10 เมตร
4. ศาลาการเปรียญ
5. หอสวดมนต์
6. วิหาร
7. ศาลาท่านํ้า
ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดั้งนี้
1. อุโบสถมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะทรงไทย ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันไม้สักแกะ สลักลวดลาย
2. หลังคาลด 3 ชั้น
3. กุฏิสงฆ์จำ นวน 5 หลัง ส่วนมากเป็นอาคารครึ่งไม้ ทรงไทยมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 10 เมตร
4. ศาลาการเปรียญ
5. หอสวดมนต์
6. วิหาร
7. ศาลาท่านํ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น