วัดวิเศษการ สร้างประมาณ พ.ศ.2393 มีชื่อเดิมว่า "วัดวิเศษอาวาส" โดยข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีนามเดิมว่า "รักษ์" ได้รับพระราชทานเป็น "หมื่นวิเศษ" ตำแหน่งผู้จัด แจงพระที่เสวย ประชาชนนิยมเรียกท่านว่า "หมื่นรักษ์" จึงได้เรียกขนานนามวัดนี้ว่า "วัดหมื่นรักษ์" ตามชื่อผู้สร้าง
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงแปลงวัดใหม่เป็น "วัดวิเศษการ"
สิ่งสำคัญภายในวัดพระอุโบสถ สร้างราวปลายรัชกาลที่ 3 ลักษณะแบบศิลปะจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับชามสังคโลก ผนังใช้อิฐหนา ประตูหน้าต่างใช้ไม้แผ่นใหญ่หนา เปิดปิดด้วยลูกดาล
พระประธานในพระอุโบสถ หน้าตักกว้าง 3 ศอก ปางมารวิชัยแบบเชียงแสน อัญเชิญมาจากวัดพระเชตุพนฯ พระพุทธรูปแบบสุโขทัยลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 2 องค์ นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ ปางประทานพร ปางสมาธิ และปางทุกรกิริยา
ศาลาการเปรียญทรงปั้นหยา สร้างด้วยไม้ พ.ศ. 2470
วัดวิเศษการ มีปูชนียวัตถุมากมาย บริเวณโดยรอบวัด เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่หลายพันหลังคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง
สำหรับความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ภายในวัด มีไม่ค่อยเห็นมากนัก ด้วยพื้นที่วัดมีค่อนข้างจำกัด
บริเวณพุทธาวาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับหน้าวัดวิเศษการ และวิหาร มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี
บริเวณด้านในวัด เป็นที่ตั้งของอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี
ข้อมูลจาก Website หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น