วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนที่ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลานายเงี๊ยบ


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ถนนบางขุนนนท์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,ปอ.79

แผนที่ วัดศรีสุดาราม


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ถนนบางขุนนนท์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,79

แผนที่วัดมะลิ


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนจรัญสนิทวงศ์
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,80,157 ปอ, 509 , ปอ.149

แผนที่วัดอัมพวา ซอย จรัญสนิทวงศ์ 22


การเดินทาง
ถนนจรัญสนิทวงศ์ สาย 80,81,91,108,157 ปอ.509 ,ปอ142
ถนนอิสรภพา สาย 40,57,149
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่วัดชิโนรสาราม



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนอิสรภาพ
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,149

แผนที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ถนนอรุณอมรินทร์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,81,91,126,127, 149,

แผนที่ตรอกมะตูม


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนอรุณอมรินทร์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57

แผนที่วัดใหม่ยายแป้น


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนบางขุนนนท์
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,108,175 ปอ.509 ปอ.142

แผนที่เทสโก้ โลตัส ปิ่นเกล้า


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทาง ถนนบรมราชชนนี
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,149,57(จากราชพฤกษ์), 149 ปอ142 ปอ 507 ปอ511

แผนที่แม็คโคร จรัญสนิทวงศ์


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนจรัญสนิทวงศ์
รถเมล์ สาย 40,56,80,108, 157 ปอ 509

แผนที่ฟู๊ดแลนดิ์ จรัญสนิทวงศ์


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทางถนนจรัญสนิทวงศ์
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,80,108,175 ปอ 509

แผนที่มัสยิด กุฏีหลวง


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

เดินทางถนนพรานนก
รถเมล์สายที่ผาน 40,56,81,91

แผนที่ มัสยิดหลวง อันซอริซุนนะห์


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทาง รถเมล์ สาย 57,81,91, 127,146,149

แผนที่โรงพยาบาลธนบุรี 1


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง
ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
รถเมล์ 40,56, 149

แผนที่ โรงพยาบาลศิริราช


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทาง
ทางเรือด่วนเจ้าพระยา
ทางเรือข้ามฟาก ท่าช้าง-วังหลัง , ท่าพระจันทร์ - วังหลัง
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,81,91,146

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

เส้นทางวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร - สถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย)

















เส้นทางเดิน- จักรยาน ประวัติศาสตร์
รถประจำทางที่ผ่าน สาย : 40 42 56 57 68 79 108 157 175
ลงรถเข้าซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ประมาณ 700 เมตร



วัดสุวรรณราชวรวิหาร (Click อ่านประวัติ)



หลวงพ่อศาสดา พระประธาน
“วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือชื่อเดิมว่า “วัดทอง”ซึ่งถือเป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ความเก่าแก่ของวัดทองนี้นับอายุไปได้ถึงปลายสมัยอยุธยา และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้ทรงใช้บริเวณวัดแห่งนี้เป็นลานประหารชีวิตเชลยพม่า แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่วัดทองได้เปลี่ยนรูปโฉมไปมาก เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่แทบทั้งหมด และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “วัดสุวรรณาราม”

แล้วอย่าลืมเข้าไปด้านในพระอุโบสถเพื่อไปกราบสักการะ “หลวงพ่อศาสดา” พระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย พระประธานของพระอุโบสถที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธากันมาก โดยมักมีคนมากราบไหว้ขอพร หรือบนบานศาลกล่าว โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับทหาร ซึ่งการบนนั้นก็นิยมแก้บนด้วยการวิ่งม้า แต่ไม่ได้ใช้ม้าจริงๆ เพียงแค่ใช้คนวิ่งและมีผ้าขาวม้าเป็นสัญลักษณ์แทนม้าเท่านั้น โดยประเพณีนี้ก็ยังคงมีสืบทอดมาจนปัจจุบัน



ภายในพระอุโบสถของวัดสุวรรณารามยังมีสิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่จะพูดข้ามไปไม่ได้เลย นั่นก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านใน ที่ถือว่าโดดเด่นและสมบูรณ์ที่สุดในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัด ก็โปรดเกล้าฯ ให้ช่างมาเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถด้วย โดยช่างที่มาเขียนภาพนั้นก็เป็นสองสุดยอดช่างในสมัยนั้น ซึ่งก็คือหลวงวิจิตรเจษฎา (ครูทองอยู่) เขียนประชันกับหลวงเสนีย์บริรักษ์ (ครูคงแป๊ะ)

ภาพจิตรกรรมของทั้งสองท่านนั้นก็มีเอกลักษณ์ต่างกันไป ภาพเขียนเรื่องทศชาติตอนเนมีราชชาดกของครูทองอยู่จะเป็นแบบไทยๆ มีการตัดเส้น แต่ภาพเขียนทศชาติตอนมโหสถชาดกของครูคงแป๊ะจะเน้นรายละเอียดของผู้คน ทั้งคนไทย จีน ฝรั่ง และใช้สีสดใสในภาพ

นอกจากนั้นภายในวัดก็ยังมีพระวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งช่อฟ้าใบระกาประดับด้วยกระจก และหน้าบันจำหลักลายรูปเทพนม อีกทั้งยังมีหมู่กุฏิสงฆ์ที่เป็นเรือนไม้ฝาปะกนเก่าแก่และงดงามมาก


และหากอยากจะชมบรรยากาศของตลาดเก่า ที่ชุมชนบ้านบุก็มี “ตลาดวัดสุวรรณาราม” หรือ “ตลาดวัดทอง” ตลาดเก่าแก่กว่าร้อยปีที่ชาวบ้านบุยังคงมาจับจ่ายซื้อสินค้ากันอยู่ในปัจจุบัน ก่อนนี้ตลาดวัดทองคึกคักมากทีเดียวเพราะมีชาวบ้านชาวสวนจากละแวกปากคลองบางกอกน้อยจนถึงคลองมหาสวัสดิ์มาหาซื้อของที่นี่ ในด้านความเก่าแก่ของตลาดวัดทองยังคงมีร่องรอยให้มองเห็นอยู่ตรงที่รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่สวยงาม มีหลังคาโค้งขนาดใหญ่ทำด้วยไม้โดยไร้คานรองรับ ถือว่าเป็นตลาดที่มีเอกลักษณ์หาดูได้ยากในปัจจุบัน
ถัดจากตลาดวัดทองเลยไปด้านหลังไม่ไกลนัก ก็จะมีร้านขายยาเก่าแก่ที่ชื่อว่า “สงวนโอสถ” เป็นร้านขายยาโบราณอายุกว่า 75 ปีที่ก่อตั้งโดย “หมอหงวน” หรือนายสงวน เหล่าตระกูล ที่มีความเชี่ยวชาญในการปรุงยา และคิดค้นตำรายาเองเพื่อใช้รักษาคนไข้ในย่านบ้านบุ ซึ่งปัจจุบันนี้ร้านสงวนโอสถก็ยังคงมีลูกหลานสืบทอดกิจการกันต่อมาจนปัจจุบัน ภายในร้านนอกจากจะมีตู้ไม้เก็บยาหน้าตาโบราณแล้วก็ยังมีเครื่องบดยาที่ใช้กันในสมัยก่อนอีกด้วย และหากใครอยากจะลองใช้ยาแผนโบราณของร้านสงวนโอสถก็สามารถหาซื้อกันได้ โดยยาที่ขึ้นชื่อก็เช่น ยาหอมอินทรจักร ยานิลโอสถ ยาหอมสมมิตรกุมาร ฯลฯ 



“ชุมชนบ้านบุ ”ชุมชนเก่าแก่ริมคลองบางกอกน้อยที่มีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงหลงเหลือบรรยากาศในอดีตตกค้างมาให้คนปัจจุบันได้สัมผัสกัน โดยชาวบ้านกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาอาศัยในบริเวณนี้ก็คือกลุ่มช่างฝีมือที่อพยพหนีภัยสงครามมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ซึ่งชาวบ้านที่อพยพมานั้นก็ได้นำเอาวิชาการทำเครื่องทองลงหินติดตัวมาด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชนบ้านบุ เพราะคำว่า “บุ” นั้นก็หมายถึงขึ้นรูปชิ้นโลหะด้วยการตี และบีบอัดเนื้อโลหะให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการเป็นภาชนะต่างๆ ชุมชนบ้านบุจึงเป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะยังคงมีการสืบทอดการทำขันลงหินมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในตอนนี้ก็ยังมีผู้ที่สืบทอดอาชีพนี้ต่อมาอยู่สองเจ้าด้วยกันคือบ้านขันลงหิน (เจียม แสงสัจจา) กับบ้านบุคอลเลคชั่นของบ้านขันธ์หิรัญ ซึ่งหากใครผ่านมาผ่านไปก็จะได้เห็นชาวบ้านกำลังทำขันลงหินกันอยู่ แถมใครสนใจอยากจะได้ขันลงหินไปใช้ ก็ยังสามารถเลือกซื้อขันลงหินจากแหล่งผลิตกันได้ด้วย 



เดินตามทางชุมชนบ้านบุ จะออกไปยัง โรงรถจักรธนบุรี  (คลิ๊กอ่านประวัติ)
ซึ่งมีความสำคัญ คือ เก็บหัวรถจักรไอน้ำโบราณ



เดินไปสักเล็กน้อย ผ่านใต้สะพานอรุณอมรินทร์ มองไปฝั่งตรงข้ามคลองบางกอกน้อย
จะเห็นพิพิธฑภัณฑ์อู่เรือพระราชพิธี



เดินไปตามทาง จะพบวัดอมรินทร์ แวะนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อย

ซึ่งอยู่ภายในวัดอมรินทราราม


เมื่อนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยแล้ว ชมโบราณสถานภายในวัดอมริทรารามวรวิหาร
หลังจากนั้นเดินมาตามเส้นทางรถไฟ เพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย)

ปัจจุบัน โรงพยาบาลศิริราช ได้สร้างอาคารศูนย์การแพทย์ บริเวณด้านหลังสถานีรถไฟธนบุรี
และปรับเปลี่ยนอาคารสถานีรถไฟธนบุรีเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและปรับปรุง
ยังไม่สามารถเข้าเยี่ยมชมอาคารสถานีได้