สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 4 ถนนอิสรภาพ แขวงช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 18 ไร่ 2 ตารางวา
ตั้งอยู่เลขที่ 4 ถนนอิสรภาพ แขวงช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 18 ไร่ 2 ตารางวา
ความเป็นมา
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึงในฤดูนํ้าหลากเพราะตั้งอยู่ริมคลองมอญ มีถนนเข้าถึงวัดผ่านเข้าทางวัดชิโนรสารามซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชิดกันภายในวัดมีอาคารเ สนาสนะต่าง ๆ ดังนี้
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึงในฤดูนํ้าหลากเพราะตั้งอยู่ริมคลองมอญ มีถนนเข้าถึงวัดผ่านเข้าทางวัดชิโนรสารามซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชิดกันภายในวัดมีอาคารเ สนาสนะต่าง ๆ ดังนี้
พระอุโบสถ กว้าง 8.25 เมตร ยาว 29.45 เมตร สร้างด้วยอิฐฉาบปูน วิหารกว้าง 5.70 เมตร ยาว 11.20 เมตร ศาลาการเปรียญกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างด้วยไม้ 2 ส่วนกุฏิสงฆ์มี 5 หลังเป็นอาคารไม้ นอกจากนี้หอระฆัง สร้างด้วยไม้กว้าง 2 เมตร สูง 6.80 เมตร
วัดครุฑสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏแต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จดหมายเหตุของราชทูต พระเจ้าหลุยส์ที่14แห่งประเทศฝรั่งเศสที่นำราชสาสน์มาถวายสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพ.ศ.2216และได้ไปเยี่ยมชาวฝรั่งเศสที่เมืองธนบุรี พบว่ามีวัดต่าง ๆ เช่น วัดนวลนรดิศ วัดครุฑ วัดเงิน วัดทอง เป็นต้น จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดครุฑคงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2207 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2210 และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2325 โดยมีสมเด็จพระนพรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ มาทำ การบูรณะปฏิสังขรณ์ด้วย
วัดครุฑ ได้รับการบูรณะให้รุ่งเรื่องขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา หลังจากที่พระเทพเมธีเจ้าคณะจังหวัดธนบุรีในคณะนั้นได้พิจารณาไม่อนุมัติให้ ยุบวัดครุฑเพื่อรวมเข้ากับวัดชิโนรสารามและได้แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดครุฑตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2513
วัดครุฑ ได้รับการบูรณะให้รุ่งเรื่องขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา หลังจากที่พระเทพเมธีเจ้าคณะจังหวัดธนบุรีในคณะนั้นได้พิจารณาไม่อนุมัติให้ ยุบวัดครุฑเพื่อรวมเข้ากับวัดชิโนรสารามและได้แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดครุฑตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2513
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น