สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 13 คลองวัดทอง ซอยวัดวัดสุทธาวาส แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อถนนหน้าวัด
ทิศใต้ ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำคลอง
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองลัดวัดทองซึ่งแยกมาจากคลองบางกอกน้อย มีถนนเข้า
ทิศเหนือ ติดต่อถนนหน้าวัด
ทิศใต้ ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำคลอง
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองลัดวัดทองซึ่งแยกมาจากคลองบางกอกน้อย มีถนนเข้า
ประวัติความเป็นมา
วัดสุทธาวาส สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 ผู้สร้างวัดบางท่านบอกว่า ท้าวทรงกันดารเป็นผู้สร้าง หรืออีกนัยหนึ่งว่า พระสนมดุสิตหรือเจ้าแม่ดุสิต ที่หลบภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยาครั้นบ้านเรือนสงบปกติสุขดีแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้นและขนานนามตามผู้สร้าง ในระยะแรกๆ นั้นคงจะเป็นเพียงวัดชนิดสำนักสงฆ์และคงจะมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 2330 กาลเวลาผ่านมาเสนาสนะต่างๆ ย่อมชำรุดทรุดโทรมลงมาตามสภาพและได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามลำดับใน สมัยของพระอธิการชื่น เป็นเจ้าอาวาสได้เปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น“วัดสุทธาวาส” และใช้มาตราบเท่าทุกวันนี้การศึกษาทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณร ศึกษาประปริยัติธรรมจากสำนักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัยการศึกษาแผนกสามัญทาง วัดเปิดสอนเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ขณะนี้นักเรียนมีพระภิกษุ 267 รูป สามเณร 649 รูป จัดให้มีการสอนพุทธศาสตร์ภาคฤดูร้อนแบบการเรียนพุทธ ศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เฉพาะปี พ.ศ. 2522 มีนักเรียน 333 คน
อาคารเสนาสนะ
1. อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ ลักษณะทั่วไปเป็นทรงแบบเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีลวดลายสลักสวยงามหน้าบันเป็น ลายเทพพนมลอยออกจากดอกบังสามองค์เรียงกันซุ้มประตูหน้าต่างเป็นแบบสมัย รัชกาลที่1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใบเสมาทำด้วยหินทรายแดงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนกลาง
2. ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตรยาว 21เมตรเป็นอาคาร 2 ชั้น ลักษณะทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์กว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร มีลักษณะเช่นเดียวกับศาลาการเปรียญ
3. กุฎีสงฆ์มีอยู่ 4 หลัง แต่ละหลังมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร บางหลังมีขนาดยาว 21 เมตร เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ลักษณะทรงไทย
4. อาคารเรียนพระปริยัติธรรม 2 หลัง
5. หอประชุม
6. ศาลาบำเพ็ญกุศล 4 หลัง
7. ฌาปนสถาน
8. สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถนามว่า “หลวงพ่อมงคลประสิทธิ์” เป็นพระเก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด ส่วนพระพุทธรูปยืน 6 องค์ ประดิษฐานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องสมัยรัชกาลที่ 4 เจดีย์ 1 องค์ มีพระพุทธรูปเป็นพระประจำวัดอยู่รอบเจดีย์
1. อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ ลักษณะทั่วไปเป็นทรงแบบเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีลวดลายสลักสวยงามหน้าบันเป็น ลายเทพพนมลอยออกจากดอกบังสามองค์เรียงกันซุ้มประตูหน้าต่างเป็นแบบสมัย รัชกาลที่1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใบเสมาทำด้วยหินทรายแดงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนกลาง
2. ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตรยาว 21เมตรเป็นอาคาร 2 ชั้น ลักษณะทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์กว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร มีลักษณะเช่นเดียวกับศาลาการเปรียญ
3. กุฎีสงฆ์มีอยู่ 4 หลัง แต่ละหลังมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร บางหลังมีขนาดยาว 21 เมตร เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ลักษณะทรงไทย
4. อาคารเรียนพระปริยัติธรรม 2 หลัง
5. หอประชุม
6. ศาลาบำเพ็ญกุศล 4 หลัง
7. ฌาปนสถาน
8. สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถนามว่า “หลวงพ่อมงคลประสิทธิ์” เป็นพระเก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด ส่วนพระพุทธรูปยืน 6 องค์ ประดิษฐานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องสมัยรัชกาลที่ 4 เจดีย์ 1 องค์ มีพระพุทธรูปเป็นพระประจำวัดอยู่รอบเจดีย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น