วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี

     เดิมเรียกอู่เรือพระราชพิธี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อใช้เก็บเรือพระที่นั่งและเรือรบ แต่ปัจจุบันใช้เก็บเรือในพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เดิมอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรือได้รับความเสียหายมาก และในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมดูแลรักษา บรรดาเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีเหล่านี้เป็นเรือที่มีประวัติสำคัญมาแต่โบราณ ที่ยังคงความสวยงามในฝีมือช่างอันล้ำเลิศ และทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม ประการสำคัญยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่าง ๆ สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน กรมศิลปกรเล็กเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะของอูเก็บเรือขึ้นเป็ฯ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี" ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2517 เป็นต้นมา จัดแสดงเรือพระราชพิธี ศิลปโบราณวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ประกอบในพระราชพิธีชลมารคเพิ่มเติม เพื่อเปิดบริการแก่ผู้เข้าชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ชื่นชมความงาม และศึคกษาเรื่องราวของเรือพระราชพิธีได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

     เรือที่เก็บอยู่ในโรงเรือพระราชพิธีนี้ ได้แก่

                         1.  เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4)
                         2.  เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5)
                         3.  เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
                         4.  เรือครุฑเหิรเห็จ
                         5.  เรือพาลีรั้งทวีป
                         6.  เรือสุครีพครองเมือง
                         7.  เรือพระที่นั่งสุพรรณหงษ์ (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6)
                         8.  เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือลำล่าสุดที่กองทัพเรือน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
     เนื่องจากบริเวณและพื้นที่ของพิฑภัณฑสถานแห่งชา่ติเรือพระราชพิธีแห่งนี้ มีอยู่น้อยและจำกัดมาก สามารถจัดแสดงเรือพระราชพิธีได้เพียง 8 ลำเท่านั้น อีก 5 ลำได้นำไปฝากไว้ที่ท่าวาสุกรี และอีก 38 ลำเก็บรักษาไว้ที่กองเรือเล็ก แผนกเรือพระราชพิธี กองทัพเรือ บริเวณสะพานอรุณอมรินทร์ด้านทิศตะวันตก โดยมีกองทัพเรือเป็นผู้ดูแล
เรือพระราชพิธี
     เรือพระราชพิธีนั้น หมายถึง เรือสำหรับใช้ในการประกอบพระราชพิธีชลมารค หรือที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค ถือเป็นพระราชประเพณีดั้งเดิม สืบเนื่องมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งก็คือ การจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงครามนั่นเอง ซึ่งการรบทางน้ำในสมัยโบราณนั้นส่วนใหญ่รบกันทางทะเลหรือแม่น้ำ ดังนั้น เรือที่ใช้ในการราบการสงครามจึงต้องมีขนาดใหญ่และยาว เพื่อบรรจุพลรบได้คราวละมาก ๆ แต่ถ้าในยามปรกติแล้ว ในหน้าน้ำจะจัดเป็นพระราชพิธีการทอดกฐินตามพระอารามหลวงที่สำคัญ ๆ ที่ตั้งอยู่ริมน้ำ เป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารค ส่วนประชาชนธรรมดาก็ถือเป็นประเพณีกำหนดงานเทศกาลแข่งเรือ
     กระบวนพยุหยาตรา คือ กระบวนพระราชพิธีที่องค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น มีกระบวนพิธีซึ่งพิธีหนึ่ง ๆ ก็เป็นเฉพาะการนั้น ๆ ดังนั้น กระบวนพยุหยาตราชลมารค ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ที่จัดเป็นกระบวนโดยทางน้ำ ซึ่งต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ มักจัดขึ้นในโอกาสที่ต้องเสด็จกรีฑาทัพในศึกสงคราม และในโอกาสพระราชพิธี เพื่อเป็นการรวมพลโดยเสด็จครั้งใหญ่ อีกประการหนึ่ง ก็คือ เพื่อเป็นการฝึกพลเรือรบทางน้ำพร้อมไปในการพิธีต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากยามว่างจากสงคราม จะต้องมีการระดมพลเพื่อเตรียมความพร้อมเพรียง และทันต่อการเกิดสงคราม เพราะในสมัยอยุธยานั้น การเตรียมพร้อมด้านกำลังรบ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด กระบวนพยุหยาตรานั้น สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในราว พ.ศ. 2217 รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
     พระราชพิธีที่เนื่องด้วยเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ
          1.  พระราชพิธีอาสวยุทธ เป็นพระราชพิธีเกี่ยวกับกระบวนเรือรบ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
          2.  พระราชพิธีไล่เรือ
          3.  กระบวนเสด็จพยุหยาตราเพชรพวง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนี้ได้มีการใช้เรือรบโบราณประกอบพระราชพิธีแห่แหนทูตชาวตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีอย่างมโหฬาร ซึ่งในสมัยรัชการที่ 4 โปรดฯ ให้จัดเรือเหล่านี้ต้อนรับบรรดาทูตานุทูตที่ปากน้ำสมุทรปราการแห่เข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย อย่างไรก็ตามในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการกล่าวถึงกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งอยุธยาที่สำคัญพระราชพิธีหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นการพระราชพิธีเกี่ยวกับการต้อนรับทูตตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีสมัยต่าง ๆ ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น
          4.  กระบวนการเสด็จราชดำเนินเลียบพระมหานคร เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชภิเษก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างเรือรบชนิดต่าง ๆ 67 ลำ เพื่อใช้เป็นเรือรบทางแม่น้ำในการยกทัพไปโจมตีข้าศึกโดยเฉพาะพม่าที่ยังคงสงครามติดพันอยู่ และทรงโปรดฯ ให้ใช้เป็นเรือในการประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ดังเช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
          5.  กระบวนเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราชลมารค (รวมทั้งสถลมารค) เพื่อเสด็จนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยอยุธยา ดังเช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
          6.  พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน เป็นการพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จพยุหยาตราชลมารคที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน เช่น กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณราชวรารามในปี พ.ศ.2502
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูู่่่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดฯ ให้ฟื้นฟูจารีตประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคกระบวนใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 เป็นต้นมา เหตุที่มีพระราชหฤทัยในการฟื้นฟู ก็ด้วยเสด็จยังโรงเก็บเรือพระราชพิธีที่คลองบางกอกน้อย ทอดพระเนตรเรืออยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะโปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูการเสด็จระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคขึ้น ก็คงไม่เป็นการสิ้นเปลืองอะไรนัก เพราะกำลังคนสามารถใช้ของทหารเรือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายทำขึ้นครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้แรมปี ส่วนประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น เรือพระราชพิธีต่าง ๆ อันสวยงามและทรงคุณค่าในทางศิลปะเหล่านี้ จะได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติที่เราได้กระทำมาแล้วแต่กาลก่อน ให้ดำรงคงอยุ่เป็นที่เชิดหน้าของชาติ เป็นการบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจของคนไทย และยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศด้วย

สถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย)

                เรียกอีกชื่อว่าสถานีรถไฟบางกอกน้อยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ เมื่อ พ..2443 บริเวณปากคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นที่ดินเวนคืนจากชาวมุสลิมโดยพระองค์ได้พระราชทานที่ดินฝั่งตรงกันข้าม พร้อมกับสร้างมัสยิด  อันซอริซซุนนะห์  มัสยิดหลวง )  ให้เป็นการทดแทน
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิด   “สถานีรถไฟธนบุรี” ในวันที่  19 มิถุนายน 2446เปิดเดินรถวันที่ เมษายน 2446   บริเวณริมคลองบางกอกน้อย  อันเป็นเส้นทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์รวมของผู้คนที่จะเดินทางออกจากเมืองหลวง โดยอาศัยเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้าม )
                ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ญี่ปุ่นได้ใช้สถานีรถไฟเป็นฐานที่มั่นสำหรับขนส่งยุทธปัจจัยไปจังหวัดกาญจนบุรีและเป็นแหล่งบัญชาการสงครามในภูมิภาคนี้เพื่อโจมตีพม่า     มาเลเซียและสิงคโปร์  ญี่ปุ่นอาศัยรถไฟเป็นเส้นทางลำเลียงของกองทัพ  สถานีรถไฟธนบุรีจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ใน  การโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนอาคารต่างๆ ถูกทำลายหมดสิ้น  ต่อมาในสมัยจอมพล ปพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี  ได้ทำการปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยคงรูปแบบเดิมไว้และให้มีการเดินรถไฟ จากสถานีไปยัง  สมุทรสาคร นครปฐม หัวหิน และกาญจนบุรีตัวอาคารสถานีปัจจุบันได้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.. 2493 
                ที่ตั้ง                ทิศเหนือ  จรดคลองบางกอกน้อย
                                                ทิศตะวันตก           พื้นที่รางรถไฟ
                                                ทิศตะวันออก         จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
                                                ทิศใต้      ติดโรงพยาบาลศิริราชและตลาดบางกอกน้อย
ปัจจุบันสถานีรถไฟธนบุรีแห่งนี้มีขบวนรถให้บริการวันละ 14 ขบวน คือ  
ขบวน 251/252( ธนบุรี – ประจวบฯ – ธนบุรี 
253/254 ( ธนบุรี – หลังสวน – ธนบุรี 
255/256 ( ธนบุรี – หลังสวน – ธนบุรี )
257/258 ( ธนบุรี น้ำตก – ธนบุรี )
259/260 ( ธนบุรี – น้ำตก – ธนบุรี 
351/352 ( ธนบุรี – ราชบุรี – ธนบุรี 
353/354 ( ธนบุรี – นครปฐม –   ธนบุรี 
วันที่ กรกฎาคม พ.. 2442  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายใต้ ขนาดกว้าง เมตรจากปากคลองบางกอกน้อย – เพชรบุรี ระยะทาง 150 กิโลเมตร  และเปิดเดินรถได้เมื่อ 19 มิถุนายน   .. 2446
                ปัจจุบันการรถไฟฯ  ได้จัดเก็บและบำรุงรักษารถจักรไอน้ำเพื่อใช้ลากจูงขบวนรถในวันสำคัญต่างๆ  จำนวน    5 คัน  จัดเก็บไว้ที่โรงรถจักรธนบุรี  โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ  สารวัตรงานรถจักร  ธนบุรี ดังนี้
1.  รถจักรไอน้ำ ซี 56 การรถไฟฯ สั่งมาใช้การ 46 คัน  หมายเลข 701 – 746  ปัจจุบันเหลือการใช้งาน คัน หมายเลข 713,715 ใช้ฟืนเป็น เชื้อเพลิงแบบล้อ2–6–0 ( ล้อนำ ล้อกำลัง ล้อตาม 0 )  สร้างในประเทศญี่ปุ่นนำมาใช้การเมื่อ พ.. 2489  ใช้วิ่งในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จงหวัด กาญจนบุรี ซึ่งจัดงานประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน
 โรงรถจักรธนบุรี
                วันที่ 26 มีนาคม พ.. 2439  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเปิดเดินรถไฟครั้งแรก ระหว่าง กรุงเทพฯ – อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตรเดือนธันวาคม ของทุกปี  และใช้วิ่งในการถ่ายทำภาพยนตร์ตามที่ขอเช่า
1. รถจักรไอน้ำแปซิฟิก ( PACIFIC ) การรถไฟฯ สั่งมาใช้การจำนวน 30 คัน  รุ่นหมายเลข 821 – 850  ปัจจุบันมีเหลือใช้การ คัน      หมายเลข 824 , 850  เดิมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง  ภายหลังการรถไฟฯ ดัดแปลงใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง  แบบล้อ 4 – 6 – 2  ( ล้อนำ ล้อกำลัง ล้อตาม 2 ) สร้างโดย สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น  นำมาใช้การเมื่อปี พ.. 2492 – 2494
2.รถจักรไอน้ำมิกาโด ( MIKADO ) การรถไฟฯ สั่งมาใช้การจำนวน 70 คันหมายเลข 901 – 970  ปัจจุบันมีเหลือใช้การ คัน หมายเลข 953  เดิมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงภายหลังการรถไฟฯ ดัดแปลงใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง แบบล้อ 2 – 8 – 2 ( ล้อนำ ล้อกำลัง ล้อตาม 2 )  สร้างโดยสมาคม      อุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การเมื่อปี พ.. 2492 – 2494
 
รถจักรไอน้ำแปซิฟิก และ มิกาโด  ใช้วิ่งทำขบวนพิเศษโดยสารในวันสำคัญต่างๆ ดังนี้
วิ่งทำขบวนทุกวันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี  เนื่องในวันสถาปนากิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย  โดยวิ่งทำขบวนจากสถานีกรุงเทพฯ หัวลำโพง ) – สถานีอยุธยา  ไปและกลับโดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปซื้อตั๋วรถไฟนั่งเที่ยวย้อนอดีตโดยใช้รถพ่วง 10 คัน
-  วิ่งทำขบวนทุกวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเนื่องในวันปิยมหาราช  โดยวิ่งระหว่าง กรุงเทพ – อยุธยา
         - วิ่งทำขบวนทุกวันที่ ธันวาคม ของทุกปี  เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยวิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ – อยุธยา
-  วิ่งทำขบวนพิเศษต่างๆ ตามที่มีผู้ขอเช่า เช่น ถ่ายทำภาพยนตร์การรถไฟฯ ได้ทำการจัดซื้อรถจักรดีเซล     มาใช้การครั้งแรก เมื่อปี พ.. 2471จำนวน คัน  ยี่ห้อ ซุลเลอร์ 180 แรงม้า  ผลิตในประเทศ  สวิสเซอร์แลนด์

วัดป่าเชิงเลน

การมาพบซากวัด
ในเดือนมีนาคม 2532 ได้พบวัดนี่โดยบังเอิญ สภาพที่พบครั้งแรกบริเวณวัดเป็นบึงกว้างใหญ่กลางบึงเป็นพงต้นอ้อขึ้นสูงกว่าที่อื่น ใต้พงอ้อสังเกตเป็นกองอิฐปะปนอยู่ สอบถามจากชาวบ้านทราบว่าเป็นวัดร้างบริเวณพงอ้อนั้นคือซากโบสถ์ ส่วนบริเวณวัดส่วนอื่นได้จมลงไปเกือบจนหมด คงเหลือแต่ซากเจดีย์ริมคลอง ซึ่งจะปรากฏเวลาน้ำลดเท่านั้น ปัจจุบัน กรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลวัดนี้และได้ให้ชาวบ้านเช่าทำสวนมา 2 ชั่วคนแล้ว ตามข้อเท็จจริงชาวบ้านไม่สามารถทำสวนมานานแล้ว เพราะน้ำท่วมจึงได้แต่อาสัยที่หน้าบริเวณริมคลองปลูกบ้านเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อได้เข้าไปสำรวจและแผ้วถางหญ้าบริเวณที่เป็นโบสถ์พบซากโบสถ์มีกองอิฐและกองไม้โครงหลังคาซึ่งหักพังลงมากองทับรวมกันอยู่และเหลือแต่ซากกำแพงบางส่วน ตัวโบสถ์โผล่พ้นน้ำเพียงนิดเดียว ในฤดูน้ำคงท่วมซากโบสถ์เกือบมิด เพราะสังเกตบ้านผู้เช่าวัดปลูกยกพื้นบ้านสูงกว่าระดับที่ตั้งโบสถ์มาก นอกจากซากโบสถ์ยังพบพระพุทธรูปเศียรขาด 3 องค์ ทราบว่าถูกลอบตัดไปนานแล้ว เวลาที่ถูกตัดเป็นเวลากลางคืน ชาวบ้านเล่าว่าในคืนที่พระพุทธรูปถูกลอบตัดเศียรมีลมพายุพัดรุนแรง ฝนตกหนักฟ้าร้องฟ้าผ่าเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทั้งคืนเหมือนกับเทพยาดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้แสดงความโกรธกริ้วและโศกสลดต่อการกระทำของมนุษย์ในบาปเหล่านั้น
นอกจากนี้จากการสำรวจรอบ ๆ บริเวณโบสถ์ซึ่งไม่กว้างนัก ยังพบใบเสมาที่ทำด้วยหินเกรนิตหนึ่งใบและพบหลุมฝังลูกนิมิตรอบโบสถ์ซึ่งได้ก่อเจดีย์เล็ก ๆ ครอบปิดหลุมไว้ มีสภาพชำรุด ทรุดโทรมาก มีต้นไทรและต้นโพธิ์ขึ้นเต็มทั้งองค์เจดีย์ บริเวณโบสถ์นี้นานมาแล้วเคยถูกมาขอหวยและถูกหวยใต้ดินต่อมาเมื่อไม่ถูกหวยและหมดทุนแทงหวยแล้วสภาพก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้โดยปราศจากผู้ดูแล กลายเป็นสถานที่เด็ก ๆ ในละแวกนี้ใช้เป็นสถานที่ละเล่นต่าง ๆ เช่น ทอยกอง โยนห่วง บางครั้งใช้เศียรพระพุทธรูปเป็นหลักโยนให้ห่วงคล้อง มีการกระโดดข้ามพระพุทธรูปไปมา เป็นที่สนุกสนานโดยไม่คิดอะไรตามภาษาเด็ก ตกเย็น ๆ บางวันก็เป็นสถานที่พบปะของวัยรุ่นหนุ่มคะนอง เพื่อดื่มสุรายาเมา เมื่อเมาได้ที่ก็ใช้กำแพงโบสถ์ทั้งภายในและภายนอกรอบ ๆ บริเวณโบสถ์ เป็นที่ถ่ายหนักถ่ายเบาไปทั่ว
บังเกิดความคิดและศรัทธาจะบูรณะฟื้นฟูสภาพซากปรักหักพังขึ้นคืนเป็นวัด
เมื่อได้เห็นสภาพวัดร้างและได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับวัดร้างนี้ได้ทำให้เกิดความรู้สึกสลดหดหู่ในเป็นที่สุดไม่นึกเลยว่าใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ สิ่งปลูกสร้างอันเป็นตัวแทนที่ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระพุทธศาสนาจะถูกย่ำยีและถูกทอดทิ้ง โดยปราศจากการดูแลถึงขนาดนี้ ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนี้ ในที่สุดซากวัดนี้คงชำรุดทรุดโทรมจมลงใต้น้ำในที่สุด และชื่อวัดเชิงเลน คงจะหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นหลังแน่นอน ความรู้สึกที่ได้รับความกดดันทางจิตใจอย่างยิ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดความคิดและความตั้งใจอย่างแรงกล้าว่า จะต้องดำเนินการบูรณะฟื้นฟูสภาพปรักหักพังของวัดนี้ให้คืนสภาพเป็นวัดให้สำเร็จให้จงได้ ทันทีที่เกิดความคิดนี้ได้ปรากฏเหตุมหัศจรรย์ท้องฟ้าที่สว่างไสวอยู่ พลันมืดครึ้มโดยปราศจากเมฆหมอกเกิดกระแสลมเย็นพัดกรรโชกมากระทบร่างกายทำให้เกิดอาการขนลุกซู่ และสบายอย่างประหลาด จึงมีความมั่นใจว่าการบูรณะฟื้นฟูวัดนี้จะต้องสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแน่
เมื่อได้นำความคิดบูรณะฟื้นฟูวัดเชิงเลนกลับไปปรึกษากับเพื่อนฝูง ญาติโยมและผู้ใหญ่ กับครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือทุกท่านต่างเห็นดีด้วยและจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยได้กำหนดหลักการบูรณะวัดดังกล่าวไว้ 3 ประการคือ
    1. จะดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะ เฉพาะที่จำเป็นเช่น โบสถ์ หอฉัน กุฏิ โรงครัว เป็นต้น จะปลูกต้นไม้ยืนต้นให้มาก ๆ และจะรักษาสภาพเดิมและซากเดิมของวัดให้มากที่สุด เพื่อเป็นอนุสรณ์และคงความเก่าแก่ไว้
    2. ปัจจัยและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะบูรณะจะดำเนินการให้ได้มาโดยบอกเล่าถึงสภาพและความประสงค์ในการบูรณะแก่ญาตโยม แล้วสุดแต่ผู้ใดจะศรัทธาร่วมกันบูรณะโดยไม่มีการเรี่ยไรใด ๆ ทั้งสิ้น
    3. เมื่อบูรณะเสร็จก็จะยกเสนาสนะทั้งหมดถวายแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีประพฤติชอบเพื่อใช้สถานที่วัดนี้เป็นที่จำศีลภาวนา เป็นที่ปฏิบัติธรรมของญาติโยมผู้ใฝ่ธรรมและให้ใช้เป็นที่เผยแพร่และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไป
การก่อสร้าง
การเริ่มดำเนินการก่อนการบูรณะคือการได้ใช้ความพยายามอยู่หลายเดือนในการติดต่อขอแบ่งเช่าที่ดินซึ่งเป็นบริเวณวัดส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านทิ้งไว้ไม่ใช้เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน จากชาวบ้านที่เช่าอยู่เต็มแล้วจึงได้เจรจาขอทำสัญญากับกรมการศาสนาจนสำเร็จ อุปสรรคที่ตามมาคือ ช่างผู้รับก่อสร้าง เพราะเนื่องจากที่ตั้งวัดเป็นที่ลุ่ม การก่อสร้างยากมาก รอบ ๆ วัดเป็นป่าหญ้าและบึงน้ำมียุงมากมาย การหาอาหารการกินลำบาก ผู้รับเหมาที่ไปดูงานส่วนใหญ่ไม่อยากรับงาน ส่วนผู้ที่รับงานก็เรียกร้องราคาสูงมากสุดจะสู้ราคาไหว จนในที่สุดจึงตัดสินใจหาหัวหน้าช่างผู้หนึ่งมาเป็นผู้รับผิดชอบงานนี้และรับสมัครคนงานเองกับจัดซื้อวัสดุก่อสร้างเอง โดยให้ช่างส่วนหนึ่งปลูกที่อยู่อาศัยในบริเวณวัด อีกส่วนหนึ่งทำงานเช่าไปเย็นกลับ เมื่อได้ช่างแล้วการบูรณะจึงเริ่มขึ้น ระยะเวลาที่เริ่มบูรณะนั้นเป็นช่วงเข้าฤดูฝน จึงลำบากมาก และอยู่ในภาวะที่วัสดุก่อสร้างหายาก โดยเฉพาะเสาคอนกรีตที่จะนำมาตอกเพื่อปูเป็นทางเดินปูนเข้าในบริเวณวัด วัสดุทุกอย่างต้องชลอการทำงานเพราะขาดวัสดุ บางครั้งฝนตกหนักงานก่อสร้างบางส่วนคนงานต้องทำงานในน้ำต้องแช่ในน้ำโคลนน้ำเลนเกือบทั้งวัน ร่างกายสกปรกเลอะเทอะ บางครั้งขาดคนงานเพราะสถานที่ก่อสร้างกันดาร ไม่มีใครอยากอยู่ประกอบกับงานก่อสร้างที่วัดมาก คนงานเปลี่ยนไปหลายชุด โชคดีที่หัวหน้าช่างไม่เปลี่ยน
เมื่อเริ่มคิดที่จะบูรณะวัดเชิงเลนนั้นไม่เคยคิดถึงเรื่องปัจจัยและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเลยว่าจะได้มาอย่างไรและจากไหน แต่เป็นที่อัศจรรย์ว่าเมื่อเริ่มบูรณะบรรดาปัจจัยและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและสิ่งจำเป็นนั้น ๆ หลั่งไหลเข้ามาเหมือนกระแสน้ำ ญาติโยมจากทุกทิศทุกทางที่ได้ทราบข่าวและเรื่องราวในภายหลังต่างมีศรัทธาและร่วมบริจาคและอนุโมทนาในความมุ่งหมายดังกล่าวทุกคน แม้แต่ร้านวัสดุก่อสร้างให้วัดยังศรัทธาบริจาควัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างกุฏิ 1 หลัง
สำหรับพระประธานนั้น เมื่อแรกพบซากวัดไม่ปรากฏว่ามี อยู่แต่ภายในซากโบสถ์ปรากฏพระพุทธรูปปูนปั้นเศียรขาดอยู่ 3 องค์ ซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรม สอบถามชาวบ้านทราบว่าเศียรพระถูกลอบตัดไปทั้ง 3 เศียร ในวันเวลาเดียวกัน ภายหลังลงมือบูรณะวัดไประยะหนึ่ง มีผู้นำเศียรพระห่อผ้าขาวใส่พานมาให้ลองสวมดูกับองค์เดิมใส่ได้พอดี จึงดำเนินการบูรณะพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ใหม่ การบูรณะได้ทำโดยช่างปั้นจากจังหวัดกาฬสินธุ์ สิ้นเวลา 4 เดือน จึงบูรณะเสร็จ
การก่อสร้างได้ดำเนินไปด้วยดีจนสำเร็จเสร็จสิ้นประมาณเดือน มกราคม 2533 สิ้นเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน 17 วัน และได้มีพิธีถวายสิ่งปลูกสร้างเสนาสนะทั้งหมดให้แก่พระสงฆ์ไปแล้วในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 ในวันงานมีผู้ไปร่วมงานทั้งภิกษุสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกามากมาย จากใกล้ไกลและมาจากทุกทิศ หลังจากนั้นอีก 4 เดือน ญาติโยมได้จัดสร้างพระประธานสำเร็จ มีพิธีฉลองพระประธานในเดือนมิถุนายน 2533 ในวันงานก็ได้มีญาติโยมไปร่วมงานอย่างมากมายเช่นเดียวกับวันถวายวัด
การบูรณะฟื้นฟูวัดเชิงเลนจึงเป็นอันสำเร็จสมบูรณ์ด้วยประการฉะนี้ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 3,490,000.- บาท โดยไม่รวมวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องใช้ต่าง ๆ ในวัดซึ่งมีผู้ศรัทธาบริจาคสมทบอีกมากมาย
สรุปสิ่งก่อสร้างที่ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยถวายแก่สงฆ์ไปแล้วมีดังนี้
    1. ศาลาหอฉัน
    2. โบสถ์ที่บูรณะใหม่
    3. กุฏิ 6 หลัง
    4. ศาลาฟังธรรมแปดเหลี่ยม
    5. โรงครัว
    6. ที่พักคนเฝ้าวัด
    7. ทางเดินคอนกรีตที่ยกเหนือน้ำเข้าวัด และเชื่อมโยงระหว่างกุฏิและสิ่งปลูกสร้างทั้งมวล
ในปีพรรษา 2533 มีพระจำพรรษาอยู่ 5 รูป เณร 3 รูป
ในปีพรรษา 2534 มีพระจำพรรษาอยู่คงเดิมคือ พระ 5 รูป เณร 3 รูป รวม 8 รูป
ในปี 2533 ต่อเนื่องกับปี 2534 ได้พัฒนาวัดเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องคือ ได้ปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้รอบ ๆ วัดและได้ทำการถมดินเสริมคันเดินรอบ ๆ วัด ให้สูงขึ้นเพื่อเป็นเขื่อนรอบ ๆ วัด เฉพาะค่าถมดินสิ้นเงินไปทั้งสิ้น 388,000.- บาท ดินที่ถมนี้ขนมาจากต่างจังหวัด (อ่างทอง,อยุธยา ฯลฯ) โดยทางเรือ แล้วมาจอดเทียบท่าเรือหน้าวัด ซึ่งต้องใช้เวลา แรงงานคนแบกดินคราวละหนึ่งบุ้งกี๋ เดินไปถมรอบ ๆ วัด ซึ่งต้องใช้เวลาและความมานะอดทนมาก แต่ไม่พ้นความมานะพยายามและความศรัทธา ของญาติโยมสิ้นเวลาไปถึง 8 เดือน การถมดินเป็นเขื่อนรอบ ๆ วัดจึงสำเร็จ ต่อไปเป็นการปลูกต้นไม้บนสันเขื่อนซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
Creative Design by Administrator part Of Bangkoknoi District Office
Tel. 0 2424 8655 Email:dear_near@hotmail.com

วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร




วัดสุวรรณารามเป็ยพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
อาณาเขต        ทิศเหนือ ติดต่อกับคลองบางกอกน้อย
                     ทิศใต้      ติดต่อกับโรงเรียนสุวรรณาราม
                     ทิศตะวันออก ติดต่อกับคูน้ำเขตบางกอกน้อย
                     ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนเข้าเขตบางกอกน้อย
วัดนี้ยังไม่มีแผนผังรายละเอียดแน่นอน แต่ได้กำหนดเขตเป็นหลักฐาน 2 เขต 
ดังนี้ เขตพุทธาวาส มีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ   
เขตสังฆาวาส ที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร มี 3 คณะ กุฏิ 36 หลัง มีศาลาการเปรียญและโรงเรียนปริยัติธรรมอยู่ในเขตนี้ด้วย มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ
ลักษณะพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเนื้อที่ยาวประมาณ 3 เส้น กว้างราว 4 เส้น มีคลองเป็นที่หมายเขต พื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง        


ประวัติความเป็นมา
วัดสุวรรณาราม เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อวัดทอง ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์จากพระมาหกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มาด้วยดี ตั้งแต่ต้นจนปัจจุบันโดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 ได้ทรงปฏิสังขรณ์เสนาเสนาะ ถาวรวัตถุและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้รือและสถาปนาใหม่หมดทั้งพระอาราม ได้ทรงสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร กำแพงแก้ว มีเก๋งข้างหน้า 2 เก๋ง พร้อมทั้งเสนาสนะขึ้นมาใหม่ ครั้นสถาปนาเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุวรรณาราม" ส่วนสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างเครื่องป่าช้าขึ้น
สำหรับพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมาโดยเฉพาะรัชกาลที่ 3 ก็ได้ปฏิสังขรณ์ขยายเขตให้กว้างขวางออกไปกว่าของเดิม พร้อมทั้งหอระฆัง หอพระไตรปิฏก หอฉัน กุฏิตึก กุฏิฝากระดาน ศาลาการเปรียญ ฯลฯ นับว่ายุคนี้พระอารามเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
วัดสุวรรณารามในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพเชื้อพระวงศ์ และ ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่จำนวนมาก
การบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคปัจจุบันนี้ มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้ดำเนินการร่วมกับสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ร่วมกันซ่อมหน้าบันพระอุโบสถ ปูหินอ่อน ซ่อมบานประตูหน้าต่าง เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา และช่อฟ้าใบระกาพระอุโบสถ ซ่อมพระวิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาท่าน้ำ เก๋งหน้าพระอุโบสถ สร้างฌาปนสถานพร้อมทั้งศาลา 5 หลัง และ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
นับได้ว่าวัดสุวรรณารามโดยการนำของพระอุบาลีคุณูปมจารย์ได้กลับฟื้นคืนสู่สภาพเดิมที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง และขณะนี้ทางกรมศิลปากรได้อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถอยู่ เพื่อรักษามรดกอันล้ำค่าหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว


สิ่งสำคัญภายในวัด
จำนวนที่ดินที่เป็นบริเวณวัดมีประมาณ 12 ไร่เศษ ส่วนที่กัลปนา (ที่จัดประโยชน์) ทางวัดไม่มีแผนที่รายละเอียดระบุไว้แน่ชัด เพราะที่ดังกล่าวนี้ทางกรมการศาสนาเป็นผู้ดำเนินการจัดประโยชน์ทั้งสิ้น รายได้ทั้งหมดปีหนึ่งประมาณ 13,000 บาทเศษ


โบราณวัตถุสถานภายในบริเวณวัด
-พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 สร้างแบบฐานโค้งปากสำเภา เป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนปลาย ผสมผสานระเบียบแบบแผนที่เป็นพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยโครงสร้างพระอุโบสถคล้ายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างกันตรงที่อุโบสถวัดสุวรรณารามไม่มีเฉลียงรอบพระอุโบสถ ฐานเป็นลวดบัวฐานปัทม์ทรงอ่อนโค้งปากสำเภา ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าอัญเชิญมาจากสุโขทัย
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ นับว่าเป็นสิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดของวัดนี้  โดยเฉพาะภาพเขียนของจิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 3 อาจารย์ทองอยู่ หรือหลวงวิจิตรเจษฎา เขียนภาพเนมีราชชาดก  อาจารย์คงแป๊ะ เป็นคนจีน เขียนภาพมโหสถ ซึ่งได้ดัดแปลงเทคนิคแบบจีนมาใช้ โดยเฉพาะการใช้พู่กันปลายเรียวแหลมที่เรียกว่าหนวดหนู ตัดเส้น การใช้สีอ่อนแก่ รวมทั้งการเขียนแรเงาบาง ๆ ทำให้ภาพแสดงการเคลื่อนไหว และมีสีที่สดใส

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

วัดอมรินทรารามวรวิหาร


วัดอมรินทราราม

วัดอมรินทราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 566 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ประวัติความเป็นมา

วัดนี้เป็นวัดโบราณ ชื่อว่า "วัดบางหว้าน้อย" สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงคู่กันกับวัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเป็นชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ต่อมาได้ถูกจัดเป็น ชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตามประกาศลงวันที่ 30 กันยายน 2548

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโ่ลกมหาราชทรางสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นแล้ว กรมพระราชวังหลังได้โปรดสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่หมดทั้งพระอาราม คือ สร้างพระอุโบสถ พระระเบียง วิหาร กำแพงแก้ว ศาลาราย หอระฆัง หอไตร หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียฐ กุฏิ เสนาสนะ และ ถนนในพระอาราม รัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอมรินทราราม" และทรงสร้างพระอุโบสถที่สร้างค้างอยู่ต่อไปจนสำเร็จ ต่อมารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร และสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งทรงสร้างกุฏิเพิ่มเติมอีกหลายห้อง การปฏิสังขรณ์ได้กระทำกันต่อเนื่องมาทุกยุคของเจ้าอาวาส แต่ละรูปรวมทั้งพระบรมราชวงศ์ ข้าราชบริพาร และ ราษฏรผู้มีจิตศรัทธา บริจาคทรัพย์บูรณะปฏิสังขรณ์วัดอมรินทรารามมาด้วยดีจนถึงปัจจุบันนี้

สิ่งสำคัญภายในวัด

  1. พระอุโบสถ สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมที่ถูการทางรถไฟตัดไปหนึ่งห้องเพื่อทำทางรถไฟ ทำให้พระอุโบสถเล็กลง ชาวบ้านจึงเรียกว่าโบสถ์น้อย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
  2. มณฑปพระพุทธบาทจำลอง พระองค์เจ้าหญิงจงกลพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ทรางสร้างขึ้น จัดว่าเป็นมณฑปที่สวยงานที่สุดในประเทศไทย
  3. พระพุทธฉายจำลอง พระองค์เจ้าหญิงกระจับ พระธิดาในกรมพระราชวังหลังทรงสร้างขึ้นเป็นภูเขามีความสูง 3 วา 2 ศอก กว้างโดยรอบ 19 วา
  4. ตำหนักเขียว เป็นตำหนักของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งอยู่ในความอนุรักษ์ของกรมศิลปากร ซึ่งทางวัดได้ทำการรื้อเพื่อย้าย และ ทำการสร้างใหม่ให้คงสภาพเดิม


    ข้อมูลเพิ่มเติม Website หมูหินดอทคอม

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
wpe1E.jpg (3423 bytes)
วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
อาณาเขตที่ดินตั้งวัด ทิศเหนือติดต่อกับดรงเรียนสุภัทรา ทิศใต้ติดต่อกับคลองวัดระฆัง และเขตทหากรมอู่ทหารเรือ ทิศตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาและทิศตะวันตกติดต่อกับถนนอรุณอัมรินทร์
ลักษณะพื้นที่ดินตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกับท่าช้าง วังหลวง และ พระบรมมหาราชวัง ภายในบริเวณวัดได้แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตจัดประโยชน์ และเขตสาธารณสงเคราะห์ วัดนี้มาการคมนาคมติดต่อได้ 2 ทาง คือ ทางน้ำมีเรือข้ามฟากจากท่าช้างวังหลวงไปยังท่าวัดระฆัง และทางบกมีซอยวัดระฆังแยกจากถนนอรุณอัมรินทร์
ประวัติความเป็นมา
เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์ แล้วยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และ โปรดฯ ให้มีการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดนี้ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้พระสงฆ์วัดบางหว้าใหญ่เข้ารับบิณฑบาตในพระราชวัง ผลัดเวรกับพระสงฆ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ในรัชกาลนี้ได้มีการขุดพบระฆังที่มีเสียงไพเราะกังวาน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงทรงขอไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรงบริเวณที่ขุดพบระฆังโปรดฯ ให้ขุดเป็นสระน้ำ เพื่อประดิษฐานหอไตร หอไตรนี้เดิมคือพระตำหนักและหอนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อครั้งรับราชการเป็นพระราชวรินทร์ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ป้จจุบันหอไตรหลังนี้ ได้ถูกรื้อย้ายไปปลูกใหม่บริเวณกำแพงแก้ว ตรงด้านหลังพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก
สิ่งสำคัญภายในวัด และ ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
  1. พระอุโบสถ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นแทนพระอุโบสถหลังเก่า มีลักษระโดยเฉพาะมุขทางด้านหน้าและหลัง ทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว หน้าบันจำหลักลายทำซุ้มหน้าต่างสองซุ้มแทนแผงแลคอสองเป็นขบวน
  2. พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระดำรัสที่กล่าวถึงพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆัง ซึ่งเป็นพระหล่อประทับนั่งปางสมาธิกั้นด้วยเศวตฉัตร 9 ชั่น เดิมเป็นฉัตรกั้นเมรุของรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ขอให้นำไปถวายประธานวัดระฆังฯ เมื่อ พ.ศ. 2352 ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่นเศวตฉัตรจากผ้าตามขาวมาเป็นผ้าขาวลายฉลุปิดทองโดยใช้โคลงของเก่า และมีการเปลี่ยนผ้าอีกครั้งใน พ.ศ. 2504 โดยรัชกาลปัจจุบันwpe1F.jpg (3641 bytes)
  3. ใบเสมาวัดระฆัง มีอยู่ 2 อัน ซ้อน
  4. จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ ภาพชุดนรก และภาพทศชาติ ซึ่งเขียนโดยพระวรรณวาดวิจิตร์ (ทอง จารุวิจิตร์) เมื่อ พ.ศ. 2465
  5. หอระฆังจตุรมุข รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพร้อมระฆัง 5 ลูก พระราชทานแทนระฆังที่ทรงขอไปไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  6. พระปรางค์ใหญ่ รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมพระกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ สมเด็จกรมพระยาเทพสุดาวดี
  7. เจดีย์เจ้าสามกรม คือพระเจดีย์นราเทเวศร์ พระเจดีย์นเรศร์โยธี และพระเจดีย์เสนีย์บริรักษ์ เป็นพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ 3 อง๕ื สร้างเรียงกันอยุ่ภายในบริเวณกำแพงแก้ว ด้านทิศเหนือ สร้างโดยกรมหมื่นนราเทเวศร์ หรมหมื่นนเรศร์โยธี และ กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
  8. พระวิหารเดิมเป้นพระอุโบสถเก่าของวัดบางหว้าใหญ่
  9. ศาลาการเปรียญ เดิมเป็นศาลาการเปรียญสำหรับแสดงธรรม ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ฝึกกรรมบานของแม่ชีและอุบาสิกา ภายในมีพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ
  10. ตำหนักทอง รัชกาลที่ 1 ทรงรื้อตำหนักทองอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังเดิมมาปลูกที่วัดระฆังทางด้านใต้ของพระอุโบสถ ทรงอุทิศเป็นสังฆบูชา ถวายให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชสี
  11. ตำหนักแดง กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษเทเวศร์ พระนามเดิมว่า "ทองอิน" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระยาเทพสุดาวดี ทรงถวาย ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของพระอุโบสถหลังใหม่ ฝารูปสกลกว้างประมาณ 4 วาเศษ ระเบียงกว้างประมาณ 1 วา 2 ศอก ยาวประมาณ 8 วาเศษ ฝาประจันห้อง เขียนรูปภาพอสุภต่าง ๆ ชนิดมีภาพพระภิกษุเจริญอศุภกรรมฐาน เดิมเป็นที่ประทับทรงกรรมฐานของพระเจ้ากรุงธนบุรี
  12. ตำหนักเก๋ง   พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 อยู่ทางทิศใต้ของวัด ปัจจุบันเหลือแต่รากฐานใต้ดิน ตำหนักนี้พระองค์ใช้ประทับขณะผนวช
  13. พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช(สี) ภายในประดิษฐานพระรูปพระศรีอาริย์ เป็นที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราช(สี) พระรูปองค์นี้เดิมประดิษฐานอยู่บนมุขพระปรางค์ทิศตะวันออก
  14. พระวิหารสมเด็จ ภายในประดิษฐานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระพุทธาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนียวงศ์) และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)
  15. หอพระไตรปิฏก เดิมสร้างอยุ่กลางสระด้านหลังพระอุโบสถ ปัจตจุบันทางวัดได้ย้ายเข้ามาปลูกไว้ใหม่ ภายในบริเวณกำแพงเก้วพระอุโบสถ โดยสร้างอยู่ทางด้านหลัง ด้านทิศตะวันตกสร้างเป็นสมหลังแฝด เดิมเป็นพระตำหนักของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแต่ครั้งยังรับราชการอยู่กรุงธนบุรี รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้รื้อพระตำหนักเดิมและหอประทับนั่งมาเป็นหอพระไตรปิฏกถวายวัดระฆัง หอพระไตรปิฏกนี้ปลูกสามหลักแฝดเรียงกัน มีระเบียงอยุ่ทางด้านหน้าไขราปีกนก มีทวยรับชั้นหลังคา หอไตรนี้แต่เดิมปลูกเป็นตำหนักที่ประทับนั้นคงจะมีทั้งเรือนนอก เรือนขวางหรือเรือนรี   และหอหน้าหรือหอนั่ง มีชานกลางถึงกันโดยตลอด ในสมัยเดิมฝ่าที่ใช้คงเป็นฝาสำหรวด หลังคาคงจะมุงจาก ครั้งเมื่อรื้อมาสร้างเป็นหอพระไตรหิฏก คงจะตัดเรือนนอกออกโดยยุบเอาเรือนขวางสองด้าน ปลูกขนานกันและเอาหอหน้าหรือเรือพะไลใส่กลางโดยตัดพะไลออก เรือนหลังกลางหลังคาจึงยกสูงกว่าเรือนข้างสองหลัง เมื่อเปลี่ยนเป็นหอพระไตรปิฏก หลังคาที่มุงจากเปลี่ยนเป็นกระเบื้องแบบธรรมดา มีกระจังเชิงชายที่ชายคา หน้าบันเป็นหน้าบันชนิดลูกฟักธรรมดามีทวยจำหลักเป็นพญานาครับไขราปีกนก หลังคาหน้าต่างมีหย่องลูกแก้วทำเป็นพนักกรง ฝาผนังทางด้านนอกทางสีดินแดง ส่วนภายในเขียนภาพสีฝีมืออาจารย์นาคเป็นภาพชีวิตประจำวันของคนสมัยนั้น

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ประวัติสำนักงานเขตบางกอกน้อย






          เขตบางกอกน้อย แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า "อำเภออมรินทร์"   เป็นชื่อเรียกตามประกาศกระทรวงนครบาล ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม   2458 ลงนามประกาศโดยมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาลใต้ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6





 อำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอที่ 21 ในจำนวน 25 อำเภอ ตามประกาศดังกล่าวระบุอาณาเขตไว้ว่า "ทิศเหนือต่ออำเภอตลิ่งชัน และ บางพลัด แต่สามแยกหน้าวัดสุวรรณคีรีไปตามลำคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ ออกลำน้ำเจ้าพระยา ตัดข้ามฟากไปถึงปากคลองโรงไหม ทิศตะวันออกต่ออำเภอพระราชวังแต่ปากคลองโรงไหมฝั่งใต้ไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกถึงตรงข้ามปากคลองมอญ ทิศใต้อำเภอหงษาราม แต่ตรงข้ามปากคลองมอญ ข้ามลำน้ำเจ้าพระยาเข้าไปตามลำคลองมอญฝั่งเหนือถึงสี่แยกบางเสาธง ทิศตะวันตกต่ออำเภอตลิ่งชัน แต่สี่แยกบางเสาธงไปตามลำคลองบางขุนศรี และ คลองอ้อมชักพระฝั่งตะวันออกถึงสามแยกหน้าวัดสุวรรณคีรี (จากหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 32 หน้า 349)

wpe4.jpg (18130 bytes)
จากอำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอ "บางกอกน้อย"
     ด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเจ้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า นามอำเภอบางแห่งยังไม่เหมาะแก่นามตำบลอันเป็นหลักฐานมาแต่โบราณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีประกาศให้เปลี่ยนนามอำเภออมรินทร์เรียกว่าอำเภอบางกอกน้อย อำเภอหงษารามเรียกว่าอำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอราชคฤห์เรียกว่าอำเภอบางยี่เรือ อำเภอบุบผารามเรียกว่าอำเภอคลองสาน ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฏาคม 2459 เป็นวันที่ 2070 ในรัชกาลปัจจุบัน (คัดจากหนังสือ ประชุมกฏหมายประจำศก เล่ม 29 พ.ศ. 2459)
     อำเภอบางกอกน้อย เมื่อ พ.ศ. 2459 แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบลคือ
1. ตำบลบางอ้อ
2.ตำบลบางพลัด
 3.ตำบลบางบำหรุ
4.ตำบลบางยี่ขัน
5.ตำบลบางขุนนนท์
6.ตำบลบางขุนศรี
7.ตำบลศิริราช
8.ตำบลบ้านช่างหล่อ
wpe3.jpg (11560 bytes)

     ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้ยกเลิกหน่วยการปกครองเดิม คือ จังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ เขตจังหวัดธนบุรี เป็นหน่วยการปกครองเดียว เรียกว่า "กรุงเทพมหานคร" และได้เปลี่ยนจากอำเภอบางกอกน้อยมาเป็น "เขตบางกอกน้อย" ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2515
เขตบางกอกน้อยได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อีกโดยกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย จากแขวงบางพลัดเป็น "เขตบางพลัด" โดยได้ตัดพื้นที่แขวงบางอ้อ เขวงบางพลัด แขวงบางบำหรุ และแขวงบางยี่ขัน ไปขึ้นกับเขตบางพลัด ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2532 พื้นที่เขตบางกอกน้อยจึงเหลือเพียง 4 แขวง คือ แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ แขวงบางขุนศรี และแขวงบางขุนนนท์ สาเหตุที่แบ่งพื้นที่เขตบางกอกน้อยออกเป็น 2 เขต ก็เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้กับประชาชนในพื้นที่เขตบางพลัดซึ่งมีประชากรมาก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาถึงบางกอกน้อย


wpe5.jpg (8487 bytes)

     ต่อมาได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2534 เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยอีก โดยได้ตัดพื้นที่ของเขตบางพลัด คือพื้นที่แขวงบางยี่ขัน และ แขวงบางบำหรุบางส่วน ไปเป็นพื้นที่เขตบางกอกน้อย และ ได้กำหนดพื้นที่ที่ตัดโอนมาใหม่ เป็นแขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย จึงมีพื้นที่การปกครองเป็น 5 แขวงคือ
1. แขวงศิริราช
2. แขวงบ้านช่างหล่อ
3. แขวงบางขุนนนท์
4. แขวงบางขุนศรี
5. แขวงอรุณอมรินทร์
ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2534


ที่ตั้งปัจจุบันของสำนักงานเขตบางกอกน้อย
เลขที่ 31/1 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
โทร 0 2424 0056 โทรสาร 0 2424 6847
Email: bangkoknoi.district@gmail.com


.