วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วัดปฐมบุตรอิศราราม





'วัดปฐมบุตรอิศราราม' ตั้งอยู่เลขที่ 165 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 45 แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 9 ไร่

ตามคําบอกกล่าวของ พระครูปลัดปริยัติวัฒ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน วัดนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2314 หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย 4 ปี มีอายุประมาณ 300 ปี

เดิมคนจีนเป็นผู้สร้าง เนื่องจากโล้เรือสําเภามาค้าขายจนร่ำรวย จึงได้สร้างวัดขึ้นมา แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดยี่ส่าย" ในอดีตยังไม่มีความเจริญมากนัก คําว่า "ยี่" แปลว่า สอง ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าหมายถึง ผัวเมีย แต่อีกนัยหนึ่ง คําว่า "ยี่ส่าย" หมายถึง เขยคนรอง หรือ ลูกเขยคนที่สอง (ลูกเขยคนรอง)




ประมาณในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-5 เจ้าชอุ่ม อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ขอพระราชทานนามจาก "วัดยี่ส่าย" เป็น "วัดปฐมบุตรอิศราราม" แล้วได้บูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและปูชนียสถาน มีพระประธานในพระอุโบสถ คือ หลวงพ่อแดง ทําด้วยศิลาแลงสีแดง นอกจากนี้ อาคารเสนาสนะ ประกอบไปด้วยพระอุโบสถ 1 หลัง วิหาร 1 หลัง และกุฏิสงฆ์

บริเวณโดยรอบวัดปฐมบุตรอิศราราม เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ แม้หลายพันหลังคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง

สำหรับความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ภายในวัด มีไม่ค่อยเห็นมากนัก ด้วยพื้นที่วัดมีค่อนข้างจำกัด และศาลาบางส่วนมีการซ่อม แซมต่อเติม ทำให้ฝุ่นผงละอองเลอะตามพื้นวัด

บริเวณพุทธา วาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับศาลาวัด มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี แต่ลานจอดรถด้านหน้าศาลาใหญ่ปากทางเข้าวัด มีสภาพไม่สะอาด จากเศษขยะและคราบต่างๆ เต็มบริเวณ

แม้เศษขยะจะมีไม่มากเป็นกองพะเนิน แต่ด้านหน้าเป็นที่ที่ใครผ่านไปผ่านมา ต้องประสบพบเห็น คงจะไม่ดีเท่าไรนัก

สำหรับต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกภายในวัด มีอยู่หลายต้นด้วยกัน สร้างความร่มรื่นเย็นสบายเป็นอันมาก

บริเวณด้านหน้าวัด เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี



แหล่งที่มา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด

วัดบา่งบำหรุ

วัดบางบําหรุ
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 41 จรัญสนิทวงค์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

วัดแห่งนี้ เดิมเป็นศาลเจ้าแม่ทับทิม ต้นสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาได้สร้างเป็นวัด ชื่อ "วัดสวยหรู" ไม่ปรากฏว่าสร้างอุโบสถ์ และผูกพัทรสีมาเมื่อใด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดบางตําหรุ แล้วเปลี่ยนมาเป็นวัดบางบําหรุ ในปัจจุบัน
ความเป็นมา
วัดบางบำหรุ แม้จะเป็นวัดเล็กๆ ที่อยู่ในย่านชุมชนไม่ใหญ่โต แต่มีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยเคยมี "หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านเครื่องรางเบี้ยแก้ ที่เป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
สำหรับการเดินทางมาที่วัดสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ ซอยบรมราชชนนี 5 ตรงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงซอย 45 แล้วเลี้ยวขวา ตรงไปเรื่อยๆ จะถึงวัดบางบำหรุ หรือเข้าตรงซอยบรมราชชนนี 15 ข้างศาลพระศิวะ หรือภัตตาคาร ป.กุ้งเผา จะผ่านหมู่บ้านพันธ์ศักดิ์ เลี้ยวซ้ายตรงมาเรื่อย ๆ จนเห็นแนวกำแพงวัดบางบำหรุ
ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบวัดบางบำหรุ เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ แม้จะไม่ใช่ชุมชนใหญ่ แต่มีบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง
บริเวณพุทธาวาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับถนน มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี แต่ลานจอดรถด้านหน้าศาลาใหญ่ปากทางเข้าวัด มีสภาพไม่สะอาด จากเศษขยะและคราบต่างๆเต็มบริเวณส่วนด้านหลังมีประตูเล็กออกไปข้างนอก ได้แม้เศษขยะจะมีไม่มากเป็นกองพะเนิน แต่มีกองมูลสุนัขปรากฏเป็นหย่อมๆ เชื่อว่าใครที่ผ่านไปแถบนั้น หากต้องประสบพบเห็นเข้า คงจะไม่ดีเท่าไรนัก

วัดสุวรรณคีรี


สถานที่ตั้ง
 (วัดขี้เหล็ก) ตั้งอยู่เลขที่ 796 ถนนรุ่งประชา แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
หรือเรียกบริเวณนี้ว่า สามแยกคลองชักพระ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4435 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่
ราบลุ่มอยู่ริมคลองบางกอกน้อย มีคูนํ้าโดยรอบวัด
อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับคูนํ้า
ทิศใต้ติดต่อกับคูนํ้าและโรงเรียนเสริมศรัทธา
ทิศตะวันออกติดต่อกับคูนํ้ากั้นเขต
ทิศตะวันตกติดต่อกับคลองบางกอกน้อย
ประวัติวัดสุวรรณคีรี(วัดขี้เหล็ก)
วัดสุวรรณคีรี(วัดขี้เหล็ก)เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างในปลายรัชกาล สมเด็จพระนารายณมหาราช ประมาณ พ.ศ. 2228 เดิมมีนามว่า “วัดขี้เหล็ก” โดยมีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้มาปักกลดอยู่ในบริเวณดงต้นขี้เหล็กซึ่งมีอยู่มากมาย ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างเป็นวัดขึ้นมาและวัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ขึ้นใหม่หมดทั้งวัดในราว พ.ศ. 2338 โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิง
หนาท และได้เปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดสุวรรณคีรี” วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาราวพ.ศ.2228 พร้อมกับระยะเวลา การประกาศสร้างวัด เขตวิสุงคามสีมากว้าง 26 เมตร ยาว 40เมตร
ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาถวายพระราชทานผ้าพระกฐินต้นเป็นการส่วนพระองค์
ปูชนียวัตถุ
สำ หรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถสร้างด้วยศิลาแลง หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร (ประมาณ 5 ศอก) สูง 3 เมตร ปางสะดุ้งมาร พระหัตถข้างซ้ายมี 6 นิ้ว พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา คือพระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตร พระพุทธบาทจำ ลองและพระพุทธฉาย พร้อมด้วยหอพระไตรปิฎก ทุกกลางเดือน 3 ของทุกปี ได้จัดงานนมัสการเป็นประจำ
เสนาสนะต่าง ๆ 
ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดั้งนี้
1. อุโบสถมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะทรงไทย ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันไม้สักแกะ สลักลวดลาย
2. หลังคาลด 3 ชั้น
3. กุฏิสงฆ์จำ นวน 5 หลัง ส่วนมากเป็นอาคารครึ่งไม้ ทรงไทยมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 10 เมตร
4. ศาลาการเปรียญ
5. หอสวดมนต์
6. วิหาร
7. ศาลาท่านํ้า

วัดอัมพวา


VDO ถ่ายเมื่อวันอาสาฬหบูชา 15 กรกฎาคม 2554


สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 8 ไร่ พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราลบลุ่มมีซอยต่อเชื่อมระหว่างถนนอิสรภาพกับถนนจรัลสนิทวงศ์ การคมนาคมสะดวก
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา
ทิศใต้ ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร.
ทิศตะวันตกเป็นอาคารบ้านเรือราษฎร
อาคารเสนาสนะ
1. มีอุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 26 เมตร ก่ออิฐถือปูนวิหารกว้าง 7 เมตร ยาว 14.30 เมตรก่ออิฐถือปูน
2. กุฎีสงฆ์จำ นวน 2 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้
3. ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 36 เมตร
4. อาคารคอนกรีต หอระฆัง ฌาปนสถาน
5.ศาลาบำเพ็ญกุศลสุสานสำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานหน้าตักกว้าง4ศอก พระพักตร์มีลักษณะเป็นแบบสมัยอู่ทองพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัฤทธ์ิ4องค์
ภาพเขียนที่บาน ประตูหน้าต่าง เจดยี ์ใหญ่หลังอุโบสถ
ประวัติวัดอัมพวา
วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างแต่เดิมบริเวณนี้เป็นที่สวนวัดตั้งอย ู่ด้านทิศตะวันตกของวังสวนอนันต์ปัจจุบันเป็นที่กองพันที่
1 รักษาพระองค์ กองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณพ.ศ. 2216
การศึกษา ทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจากสำ นักเรียนต่างๆได้ตามอัธยาศัย นอกจากนั้นได้ให้ทางราชการสร้างโรงเรียนขึ้นในที่วัดเป็นการสนับสนุน การศึกษของชาติอีกด้วย

วัดอมรทายิการาม

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 673 ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน โฉนดเลขที่ 1384
อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับที่ดินเลขที่ 307-306-304-313 และทางสาธารณะ
ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินเลขที่ 340-341 และทางสาธารณะทั่ว ๆ ไป ทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินเลขที่ 307-306 และคลอง
ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินเลขที่ 340-313-304 และทางสาธารณะ

พื้นที่ตั้งวัด
เป็นที่ราบลุ่ม มีถนนเข้าออกถึงวัดได้สะดวก อาคารเสนาสนะมี อุโบสถกว้าง
8.90 เมตร ยาว 12.50 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กุฎีสงฆ์จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาการเปรียญกว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร สร้าง พ.ศ. 2518 เป็นอาคาร 2 ชั้น สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ หน้าตัก 35 นิ้ว เจดีย์ขนาดสูง 8 เมตร
ประวัติวัดอมรทายิการาม
วัดอมรทายิการาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2450 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง เดิมมีนามว่าวัดยายมอญ” สันนิษฐานว่า อุบาสิกามีนามว่า “อมร” คงจะเป็นผู้ที่ยกที่ดินให้และดำเนินการสร้างวัดแล้วจึงได้ขนานนามตามนามผู้สร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนนามใหม่เป็นวัดอมรทายิการาม” คงมีความหมายตามนามเดิมซึ่งชาวบ้านยังเรียกขานกันอยู่บ้าง วัดนี้ได้รับพระ
ราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523
การศึกษาทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจาก สำนักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัยเฉพาะในวัดจัดให้มีห้องสมุดสำหรับสาธารณ ชนอีกด้วย

วัดสุทธาวาส


สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 13 คลองวัดทอง ซอยวัดวัดสุทธาวาส แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อถนนหน้าวัด
ทิศใต้ ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำคลอง
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองลัดวัดทองซึ่งแยกมาจากคลองบางกอกน้อย มีถนนเข้า
ประวัติความเป็นมา
วัดสุทธาวาส สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 ผู้สร้างวัดบางท่านบอกว่า ท้าวทรงกันดารเป็นผู้สร้าง หรืออีกนัยหนึ่งว่า พระสนมดุสิตหรือเจ้าแม่ดุสิต ที่หลบภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยาครั้นบ้านเรือนสงบปกติสุขดีแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้นและขนานนามตามผู้สร้าง ในระยะแรกๆ นั้นคงจะเป็นเพียงวัดชนิดสำนักสงฆ์และคงจะมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 2330 กาลเวลาผ่านมาเสนาสนะต่างๆ ย่อมชำรุดทรุดโทรมลงมาตามสภาพและได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามลำดับใน สมัยของพระอธิการชื่น เป็นเจ้าอาวาสได้เปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น“วัดสุทธาวาส” และใช้มาตราบเท่าทุกวันนี้การศึกษาทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณร ศึกษาประปริยัติธรรมจากสำนักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัยการศึกษาแผนกสามัญทาง วัดเปิดสอนเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ขณะนี้นักเรียนมีพระภิกษุ 267 รูป สามเณร 649 รูป จัดให้มีการสอนพุทธศาสตร์ภาคฤดูร้อนแบบการเรียนพุทธ ศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เฉพาะปี พ.ศ. 2522 มีนักเรียน 333 คน
อาคารเสนาสนะ
1. อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ ลักษณะทั่วไปเป็นทรงแบบเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีลวดลายสลักสวยงามหน้าบันเป็น ลายเทพพนมลอยออกจากดอกบังสามองค์เรียงกันซุ้มประตูหน้าต่างเป็นแบบสมัย รัชกาลที่1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใบเสมาทำด้วยหินทรายแดงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนกลาง
2. ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตรยาว 21เมตรเป็นอาคาร 2 ชั้น ลักษณะทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์กว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร มีลักษณะเช่นเดียวกับศาลาการเปรียญ
3. กุฎีสงฆ์มีอยู่ 4 หลัง แต่ละหลังมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร บางหลังมีขนาดยาว 21 เมตร เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ลักษณะทรงไทย
4. อาคารเรียนพระปริยัติธรรม 2 หลัง
5. หอประชุม
6. ศาลาบำเพ็ญกุศล 4 หลัง
7. ฌาปนสถาน
8. สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถนามว่า “หลวงพ่อมงคลประสิทธิ์” เป็นพระเก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด ส่วนพระพุทธรูปยืน 6 องค์ ประดิษฐานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องสมัยรัชกาลที่ 4 เจดีย์ 1 องค์ มีพระพุทธรูปเป็นพระประจำวัดอยู่รอบเจดีย์

วัดสีหไกรสร

 สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 489 ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 3 ไร่
พื้นที่ตั้ง วัดเป็นที่ราบลุ่ม มีบ้านเรือน อาคารพาณิชย์และตลาดสดแวดล้อมโดยรอบอยู่ใกล้สี่แยกพรานนกภายใน วัดในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง 7 เมตร ยาว 16.50เมตร เป็นอาคารคอนกรีต มีกำ แพงล้อมล้อม กุฎีสงฆ์ จำ นวน 10 หลัง สร้างด้วยไม้ศาลาการเปรียญกว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างด้วยคอนกรีต หอระฆังสูง 8 เมตร
ประวัติวัดสีหไกรสร
วัดสีหไกสร สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2310 มีนามว่า “วัดช่องลม” ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น“วัดสีหไกสร” เมื่อ พ.ศ. 2512 และวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2310เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 16 เมตร ยาว 22 เมตร
**** สาเหตุที่เรียกว่าวัดช่องลม เพราะลักษณะที่ตั้งของวัดตั้งอยู่ในเขตช่องลม จึงเรียกว่าวัดช่องมาตั้งแต่นั้นเจ้าอาวาสผู้ครองวัดนี้มีนามว่าพระครูประสิทธิวิมล

วัดลครทำ

ตั้งอยู่เลขที่ 156 ถนนอิสรภาพ41 แขวงบ้านช่างหล่อ เขต 1 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย 10700

อาณาเขต
ทิศเหนือยาว 45.60 วา ติดต่อกับทางสาธารณะ
ทิศใต้ยาว 45.60 วา ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออกยาว 32.91 วา ติดต่อกับทางสาธารณะมีกำแพงวัดกั้นเขต
ทิศตะวันตกยาว 32.91 วา ติดต่อกับถนนอิสรภาพ ที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 96 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1685,19051


พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ใกล้สี่แยกพรานนก มีถนนอิสรภาพผ่านหน้าวัดทางทิศตะวันตก การคมนาคมสะดวก สภาพสิ่งแวดล้อมมีอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ และตลาดสด โดยรอบ ๆ บริเวณวัดอาคารเสนาสนะมี อุโบสถ กว้าง 7.70 เมตร ยาว 19 เมตร สร้าง พ.ศ. 2513 โครงสร้างคอนกรีตเสริม เหล็ก มีช่อฟ้า 5 ตัว ด้านหน้า 3 ตัว หลัง 2 ตัว มีกำ แพงแก้วล้อมรอบ กุฎีสงฆ์จำนวน 3 หลังเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น หนึ่งหลัง และกุฎิเจ้าอาวาสคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น กุฎิพระภิกษุสามเณร คอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 20.50 อุโบสถ กว้าง 12 เมตร ยาว 19 เมตร พระประธานประจำอุโบสถ หน้าตัก 69 นิ้ว พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้าย-ขวา ส่วนเจดีย์นั้นแต่เดิมได้มีเจดีย์นอน 2 องค์ันฐานเข้าหากันยอดหันไปทางทิศเหนือและใต้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตารามได้มาสร้างไว้ ปัจจุบันหมดสภาพไปแล้ว

วัดลครทำ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2394 ในรัชกาลที่ 2 โดยมี นายบุญยัง นายโรงคณะละครนอกเป็นผู้สร้าง จึงได้มีนามว่า “วัดลครทำ” วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งหลังเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2513 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2513 ในพิธีดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดลูกนิมิตด้วย การศึกษาทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจากสำ นักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัย

เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบมี 3 รูป คือ

รูปที่ 1 พระมหาลาภ ขตฺตปุณฺโณ พ.ศ.2501-2514

รูปที่ 2 พระครูวิสิฐธรรมคุณ (กระจ่าง ปาสาทิโก) อายุ 81 ปี ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนถึงพ.ศ. 2550

รูปที่ 3 พระครูธรรมธรสุทัศน์ ฐานนนฺโท ปี 2550 – ปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมและทรงตัดลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดลครทำ ธนบุรี (ปัจจุับัน กรุงเทพมหานคร) เมื่อ วันศุกร์ ที่ ๑๓ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ 










ข้อมูลจากเว็บลครทำดอทคอม 

วัดยางสุทธาราม


วัดยางสุทธาราม
วัดราษฏร์

   วัดยางสุทธาราม เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง แต่จะสร้างขึ้นในสมัยใดใครเป็นผู้สร้าง ยังหาหลักฐานไม่พบจะขอนำเอาข้อความในหนังสือพระราชวิจารณ์ในจดหมายเหตุตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระเจ้าตากมาตั้งกรุงธนบุรี เฉพาะเกี่ยวกับวัดนี้ฯ
ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้วพระเจ้าตากมาตั้งเมืองธนบุรี...จุลศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลู ตรีนิศก เวลาสามโมงเช้า ทรงบรรพชาฯ ๔ ทรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปี กับ ๔ เดือน ทรงผนวชวันที่ ๔ ฯ พระยาสรรค์รักษาเมืองไว้ เจ้ารามลักษณ์สู้แต่ผู้เดียวโดยโมหาร เหลือแต่กำลังแตกหนีไปอยู่วัดยาง พระวังหลังติดตามจับได้ฯ
หลักฐานบางประการแต่ไม่มีข้อยืนยัน ว่ากันว่า วัดยางสร้างในสมัยกรุงธนบุรี โดยมีสามกรมเป็นผู้สร้าง ประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๓ ข้อสังเกตบางประการพอที่จะสรุปได้ว่า วัดยางสุทธารามสร้างในสมัยกรุงธนบุรีก็คือ รูปทรงของโบสถ์มหาอุตม์ พิจารณาให้ดีจะมีรูปแบบที่คล้ายกับศาลเจ้าคือ มีประตูหน้าไม่มีประตูหลัง อีกทั้งไม่มีช่อฟ้าใบระกาหงส์ ศิลปะลายปูนปั้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นศิลปะร่วมสมัยที่มีทั้ง ไทย จีน และฝรั่ง ผสมผสานกัน ศิลปะแบบนี้นิยมทำกันในช่วงสมัยปลายอยุธยา โบสถ์แบบมหาอุตม์ สันนิษฐานว่าผู้สร้างเป็นพี่น้องชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ชักชวนกันก่อสร้างเพื่อเป็นการเสริมบุญบารมีของพระเจ้าตากสินมหาราชฯ
พระประธานในโบสถ์เก่า หรือวิหารในปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นหน้าตักกว่าประมาณ ๖๙ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่แปลกคือ นิ้วหัวแม่มือไม่จรดติดกัน นิ้วหัวแม่มือขวาจะอยู่สูงกว่าหัวแม่มือซ้าย พระพักตร์อิ่มมีรอยยิ้มที่ประทับใจแก่ผู้มาถวายสักการบูชาหลวงพ่อ การที่จะเห็นรอยยิ้มที่ประทับใจในองค์หลวงพ่อนั้น ต้องขอให้ทุกท่านนั่งและเข้ามาให้ใกล้องค์หลวงพ่อมากที่สุด ถ้ายืนหรือนั่งอยู่ไกลจะสังเกตเห็นว่า พระพักตร์ของหลวงพ่อจะเคร่งขรึมค่อนข้างบึ้งตึง
" หลวงพ่อ" มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หลวงพ่อโบสถ์เก่า หลวงพ่อดำ หรือหลวงพ่อใหญ่ ในปัจจุบันเรียกชื่อท่านว่า " หลวงพ่อใหญ่" ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อรับรู้กันในเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับวัด ที่ห่างวัดยังไม่ค่อยมีคนทราบถึงความศักดิ์ของหลวงพ่อ ทั้งนี้ เพราะขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และไม่ได้มีการเปิดวิหาร ให้สาธุชนทั่วไป ได้เข้าถวายสักการะ ฯ
จากเว็บไซต์ธรรมะไทย

วัดดงมูลเหล็ก




"วัดดงมูลเหล็ก" ตั้งอยู่เลขที่ 69 ซ.วัดดงมูล เหล็ก (อิสรภาพ 39) ถ.อิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 81 ตารางวา โฉนดเลขที่ 19172 ระวาง

ตามประวัติ ผู้ใดเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด เพียงแต่ทราบจากคําบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมชื่อ "วัดน้อยนางทํา" หรือ "วัดพระยาทํา"

สันนิษฐานว่าสร้างในปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุง ธนบุรี เนื่องจากสังเกตได้จากก้อนอิฐที่รื้อจากอุโบสถหลังเก่า เป็นชนิดเดียวกับที่รื้อจากอุโบสถวัดละครทํา ลักษณะและขนาดคล้ายกับก้อนอิฐวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา กับทั้งรูปทรงอุโบสถเก่าเหมือนกับอุโบสถหลังเก่าวัดละครทำ ที่รื้อลงแล้วและเหมือนกับรูปทรงกุฏินายสังข์ วัดสังข์ กระจาย ซึ่งมีประวัติว่าสร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 




ครั้งเวลาต่อมาประชาชนพากันเรียก ชื่อ วัดดงมูลเหล็ก ตามสภาพแวดล้อมที่ปรากฏ คือ ต้น ขี้เหล็กที่ขึ้นในบริเวณวัดจํานวนมากมาย ซึ่งมีสรรพคุณทางยาแผนโบราณและเป็นอาหารพื้นบ้าน มาบัดนี้ไม่มีแล้ว แต่ชาวบ้านยังเรียกชื่อ วัดดงมูลเหล็ก สืบต่อมาถึงปัจจุบัน

บรรยากาศภายในวัดดงมูลเหล็ก ถึงแม้จะไม่ได้มีพื้นที่กว้างขวาง แต่บริเวณรอบวัดโดยรวม มีต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกภายในวัดอยู่หลายต้นด้วยกัน สร้างความร่มรื่นเย็นสบายเป็นอันมาก ภายในวัดเป็นที่ตั้งโรงเรียนวัดนาคกลางอีกด้วย

วัดดงมูลเหล็ก ตั้งอยู่ในชุมชน ติด กับโรงเรียนและตลาด จะมีความคึกคักตลอดทั้งวัน รวมไปถึงตอนกลางคืนด้วย

และถึงจะมีพ่อค้า-แม่ค้ามาวางขายของหน้าวัดดงมูลเหล็กบ้าง แต่ก็ไม่ได้สร้างความสกปรกเสียหายภายในวัดแต่อย่างใด

บริเวณด้านหน้าวัด เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี



ข้อมูลจาก http://board.palungjit.com

วัดครุฑ

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 4 ถนนอิสรภาพ แขวงช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพมหานคร    สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 18 ไร่ 2 ตารางวา
ความเป็นมา
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มนํ้าท่วมถึงในฤดูนํ้าหลากเพราะตั้งอยู่ริมคลองมอญ มีถนนเข้าถึงวัดผ่านเข้าทางวัดชิโนรสารามซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชิดกันภายในวัดมีอาคารเ สนาสนะต่าง ๆ ดังนี้
พระอุโบสถ กว้าง 8.25 เมตร ยาว 29.45 เมตร สร้างด้วยอิฐฉาบปูน วิหารกว้าง 5.70 เมตร ยาว 11.20 เมตร ศาลาการเปรียญกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างด้วยไม้ 2 ส่วนกุฏิสงฆ์มี 5 หลังเป็นอาคารไม้ นอกจากนี้หอระฆัง สร้างด้วยไม้กว้าง 2 เมตร สูง 6.80 เมตร
วัดครุฑสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏแต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จดหมายเหตุของราชทูต พระเจ้าหลุยส์ที่14แห่งประเทศฝรั่งเศสที่นำราชสาสน์มาถวายสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพ.ศ.2216และได้ไปเยี่ยมชาวฝรั่งเศสที่เมืองธนบุรี พบว่ามีวัดต่าง ๆ เช่น วัดนวลนรดิศ วัดครุฑ วัดเงิน วัดทอง เป็นต้น จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดครุฑคงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2207 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2210 และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2325 โดยมีสมเด็จพระนพรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ มาทำ การบูรณะปฏิสังขรณ์ด้วย
วัดครุฑ ได้รับการบูรณะให้รุ่งเรื่องขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา หลังจากที่พระเทพเมธีเจ้าคณะจังหวัดธนบุรีในคณะนั้นได้พิจารณาไม่อนุมัติให้ ยุบวัดครุฑเพื่อรวมเข้ากับวัดชิโนรสารามและได้แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดครุฑตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2513

วัดชิโนรสาราม


วัดชิโนรสาราม วรวิหาร
  พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

   วัดชิโนรสารามวรวิหาร (วัดชิโนรส) ตั้งอยู่ริมคลองมอญ ติดถนนอิสรภาพ ตรงข้ามกับกรมอู่ทหารเรือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโรรส เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๗๙
   ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นและเขียนรูปนาคไว้ทั่วไปเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งพระนามเดิม ของสมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี และให้ปั้นรูปพระมหามงกุฎ ลงรักปิดทองไว้เหนือเรือนแก้วหลังพระประธานในพระอุโบสถ
   พระอุโบสถวัดชิโนรสารามวรวิหาร มีศิลปะผสมแบบสมัยรัชกาลที่ ๓ คือ หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับปูนปั้นเป็นรูปกิ่งไม้ ดอกไม้ มีเทพพนมครึ่งองค์อยู่ตรงกลาง ปิดทองประดับกระจก บานประตูหน้าต่างภายในเขียนลายฮ่อ หรือลายโต๊ะจีน ภายนอกเขียนลายรดน้ำรูปนาคดั้นเมฆ บานประตูกลางด้านนอกเขียนรูปเซี่ยวกางเหยียบนาคถือพัดแฉก เพดานสีแดงเขียนรูปนาคลายฉลุปิดทอง
   จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถที่นับว่าแปลกกว่าที่อื่น คือ ช่วงหน้าพระประธานระดับหน้าต่างเขียนภาพแผนที่วัดชิโนรส แผนที่คลอง แม่น้ำ และแผนที่พระบรมมหาราชวัง นอกนั้นเขียนเป็นภาพวัดต่าง ๆ เป็นที่น่าเสียดายว่าลวดลายและภาพวาดเหล่านี้ของเดิมลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว
ข้อมูลจากเว็บไซต์ธรรมมะไทย 

วัดใหม่ยายแป้น





"วัดใหม่ยายแป้น" ตั้งอยู่เลขที่ 63 ถนน - แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มมีถนนสายบางขุนนนท์  เป็นทางคมนาคมได้สะดวก อาคารเสนาสนะมีอุโบสถกว้าง 9 เมตร ยาว 23 เมตร กุฏิสงฆ์ จำนวน 8 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง ศาลาการเปรียญกว้าง 11 เมตร ยาว 23.30 เมตร เป็นอาคารไม้ หอระฆังคอนกรีต

วัดใหม่ยายแป้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2390 ในรัชกาลที่ 3 สันนิษฐานตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า คุณยายแป้นเป็นผู้บริจาคที่ดินและสร้างวัด





หลักฐานซึ่งจารึกชื่อไว้ที่ระฆังใบเก่าแก่ของวัด สร้างไว้ พ.ศ. 2392 บนหลังคาอุโบสถหลังเก่ามีไก่ 2 ตัว เป็นสัญลักษณ์ว่าสร้างเสร็จในปีระกา พ.ศ. 2391 ดังนั้น เกี่ยวกับนามวัดแห่งนี้ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดใหม่ยายแป้น"

วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2392 
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 4 เมตร ยาว 23 เมตร

บรรยากาศในบริเวณวัดใหม่ยายแป้น ถือว่ามีความสงบร่มรื่นพอสมควร กุฏิสงฆ์เป็นไม้ทรงไทย ตั้งไว้เป็นหมู่แถวอย่างมีระเบียบ มีความสะอาดตา

สำหรับต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกภายในวัด มีอยู่หลายต้นด้วยกัน สร้างความร่มรื่นเย็นสบาย เป็นอันมาก

ด้วยสภาพภายในวัดใหม่ยายแป้น ด้านหน้าทางเข้าวัด อยู่เยื้องติดกับชุมชนบางขุน นนท์ มีร้านค้าแผงลอยตั้งเป็นจำนวนมาก อีกทั้งวัดเป็นทางผ่านเชื่อมต่อระหว่างชุมชน ทำ ให้วัดมีความคึกคักพอสมควร

ข้อมูลจาก Oknation

วัดศรีสุดาราม


wpe20.jpg (24545 bytes)
วัดศรีสุดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก เลขที่ 83 แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 13 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดชีปะขาว หรือวัดชีผ้าขาว บางทีเรียกวัดปะขาวก็มี สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) ซึ่งเป็นพระพี่นางเธอของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์มาแต่ในรัชกาลนั้น ครั้นล่วงมาน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาจนถึงหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาขุนมนตรีเป็นแม่กองสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่โดยเลื่อนขึ้นจากที่เดิม ทรงโปรดให้เจ้าพนักงานปักกำหนดเขตรอบโรงพระอุโบสถลงใหม่ใช้แทนวิสุงคามสีมาเดิม โดยให้มีความยาว 15 วา กว้าง 7 วา แล้วโปรดให้ลงเขื่อนหน้าวัด เพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นการทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดศรีสุดาราม ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชอัยยิกาเจ้าของพระองค์ ทรงสถาปนาพระราชทานไว้ตั้งแต่วันจันทร์ขึ้น 1ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ นพศกพุทธศักราช 2410 เป็นปีที่ 15 ในรัชกาล (ปลายรัชกาล) ตามพระราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งมีหลักฐานอยู่ในพระอุโบสถ (พระอุโบสถหลังเก่าปรากฏเป็นวิหาร อยู่หน้าพระอุโบสถปัจจุบัน)
บริเวณที่ตั้งวัด
วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด 13 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส และ สังฆาวาส เฉพาะส่วนที่เป็นธรณีสงฆ์ มีจำนวน 5 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา เมื่อก่อนใช้ศาลาการเปรียญเป็นโรงเรียนชั้นประถมศึกษาวัดศรีสุดาราม สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ครั้นต่อมาได้เปลี่ยนสังกัดไปเป็นโรงเรียนเทศบาลของเทศบาลนครธนบุรีในบัดนี้ได้สร้างอาคารโรงเรียนขึ้นใหม่ด้านหลังพระอุโบสถเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยเงินงบประมาณจำนวน 250,000 บาท ซึ่งยังคงเปิดสอนอยู่ ปัจจุบันนี้เป็นโรงเรียนประถมสังกัดกรุงเทพมหานคร
wpe21.jpg (4273 bytes)
วัดนี้เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศึกษาของสุนทรภู่ กวีเอกของโลก เมื่อครั้งเยาว์วัย เพราะท่านได้เขียนไว้ในนิราศสุพรรณ (บทที่ 24) ว่า
         วัดปะขาวคราวรุ่นรู้                      เรียนเขียน
      ทำสูตรสอนเสมียน                         สมุดน้อย
      เดินระวางระวังเวียน                        หว่างวัดปะขาวเอย
      เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย                     สวาทห้องกลางสวน
อนึ่ง สุนทรภู่ยังได้เอ่ยถึงวัดนี้อีกในนิราศพระประธม นอกจากนี้กวีโบราณท่านอื่น ๆ เช่น พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิทนายมี และ หลวงจักรปราณี (มหาฤกษ์) ก็ได้เคยกล่าวถึงวัดนี้ในเรื่องนิราศต่าง ๆ อีกหลายเรื่อง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 วัดศรีสุดารามก็ได้รับการทะนุบำรุงอีก ดังปรากฏว่ามีการสร้างสะพานข้ามคลองแบบเก่า ซึ่งมีศาลาไม้หลังเล็ก ๆ คล่อมอยู่กึ่งกลางสะพานที่หน้าจั่วของศาลานั้นจารึกไว้ว่าสร้างเมื่อ ร.ศ. 128 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์อีกเมื่อใดจนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันจึงมีการบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อนสร้างเสนาสนะต่าง ๆ อาทิพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์  เขื่อนหน้าวัด และ ถาวรวัตถุอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก
ปูชนียวัตถุ ถาวรวัตถุ และเสนาเสนาะต่าง ๆ
  1. พระประธานในพระอุโบสถ ปางปลงพระชนมายุสังขาร ไม่มีพระโมฬี มีแต่พระรัศมีประทับนั่งวางพระหัตถ์ทั้งสองบนพระเพลา   หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1คืบ   มีพระสาวก 8 8 องค์ นั่งประนมพระหัตถ์เบื้องพระพักตร์พระประธาน   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างพร้อมกับการสร้างพระอุโบสถ
  2. พระศรีอารีย์   หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์   หน้าตักกว้าง 2 ศอก   ลักษณะนั่งมารวิชัยพระหัตถ์ซ้าวยวางบนพระเพลา    พระหัตถ์ขวา ถือพัด เป็นลักษณะพระสาวก ประดิษฐานอยู่ที่หอไตร
  3. พระเจดีย์ 5 องค์ อยู่แถวเดียนวกันด้านหลังพระอุโบสถ
  4. พระปรางค์ 2 องค์ ทรงไทยโบราณ หน้าบันเป็นรูปเทพนม ลานก้านขดมีคันทวยรอบ หน้าต่างเป็นรูปซุ้ม หน้าจั่วเป็นรูปเทพนม ช่อฟ้าใบระกานาคเอี้ยว กระจังติดประดับ
  5. พระวิหาร เดิมเป็นพระอุโบสถหลังเก่า ดัดแปลงเป็นวิหารมีลักษณะเป็น 8 เหลี่ยม ต่อมาสมเด็จพระมาหสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้รื้อแล้วสร้างขี้นใหม่ในลักษณะคล้ายพระอุโบสถ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นพาน 2 ชั้น มีรูป "ปิ่น" ประดิษฐานไว้บนพาน หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และ มีพระพุทธรูปปางทรงเครื่องอยู่รวมกันหลายองค์
  6. หอไตร ก่อด้วยอิฐถือปูน มีระเบียง 4 ด้าน หลังคามุงกระเบื้อง
  7. ศาลาการเปรียญ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ปฏิสังขรณ์ติดต่อกันมาโดยตลอด
  8. กุฏิสงฆ์ ไม่มีกุฏิถาวร ปัจจุบันทางวัดเริ่มพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาตามลำดับด้วยแรงศรัทธาของประชาชน
    9.  รูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบางกอกน้อย

วัดภาวนาภิรตาราม


"วัดภาวนาภิรตาราม" ตั้งอยู่เลขที่ 187 ริมคลองบาง กอกน้อย แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา

วัดภาวนาภิรตาราม เดิมมีนามว่า "วัดใหม่วินัยชำ นาญ" เป็นวัดเก่าที่สร้างโดยสามัญชนในสมัยรัชกาลที่ 5 ในพระราชบัญญัติของสงฆ์วัดนี้มีอายุมากกว่า 200 ปี เจ้าของที่ดิน คือ ตระกูลหลวงชำนาญ สร้างขึ้นและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ.2429 สมัยรัชกาลที่ 5 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร

ต่อมา พ.ศ.2455 รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาพระราชทานผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ และได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดภาวนาภิรตาราม" ในปี 2538 เกิดอุทกภัยนํ้าท่วมใหญ่ ทำให้อาคารเสนาสนะต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก



อุโบสถวัดภาวนาภิรตาราม มีจิตรกรรมฝาผนังเขียนโดยช่างฝีมือท้องถิ่นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องทศชาติ ในแต่ละภาพจะสอดแทรกชีวิตประจำวันของชาวบ้าน รถเจ๊ก ศาลเจ้า และทหารในเครื่องแบบชาวตะวันตก เสมือนเป็นภาพที่บันทึกประวัติศาสตร์ของยุคได้เป็นอย่างดี เทคนิคการเขียนภาพได้รับมาจากตะวันตก โดยการระบายสีที่เกิดเป็นมิติในภาพ

ปัจจุบันนี้วัดภาวนาภิรตาราม เป็นวัดราษฎร์

สำหรับบรรยากาศภายในวัดภาวนาภิรตาราม มีพื้นที่กว้างขวาง แต่บริเวณรอบวัดโดยรวม มีต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกภายในวัดอยู่หลายต้นด้วยกัน สร้างร่มรื่นเย็นสบายเป็นอันมาก

วัดภาวนาภิรตาราม อยู่ในย่านชุมชนใหญ่ มีชาวบ้านพักอาศัย และมีเส้นทางสัญจรไปมาสะดวก ทำให้มีผู้คนเดินผ่านเข้า-ออก ภาย ในวัดเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้อึกทึกเสียงดัง

บรรยากาศภายในวัดค่อนข้างร่มรื่น แม้ต้นไม้ใหญ่จะมีจำนวนไม่มาก ส่วนหน้ากุฏิพระสงฆ์แต่ละคณะ มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลทำความสะอาดเป็นประจำ จัดตั้งถังขยะไว้ตามจุดต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ

บริเวณด้านหน้าวัด เป็นที่ตั้งของอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี มีคนมากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดเป็นประจำ

ส่วนเรื่องสถานที่จอดรถ สำหรับเข้ามาติดต่อกิจธุระกับทางวัด มีระบบการจัดการที่ดีมาก ด้วยวัดมีพื้นที่กว้างขวาง ทำให้เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม บริเวณเยื้องไปด้านหลังของอุโบสถวัดภาวนาภิรตาราม ที่เป็นลานว่างติดกับคลองบางกอกน้อย มีกองไม้ใหญ่ทิ้งไว้ระเกะระกะ

ท่ามกลางความร่มรื่นสงบ แต่ถูกผสมกับภาพกองไม้ จนทำให้ทัศนียภาพของวัด ต้องถูกลดทอนลงไป

ข้อมูลจาก เว็บไซต์ข่าวสด

วัดรวกสุทธาราม

 
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 387 ถนนจรัลสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา
พื้นที่ตั้งวัด
เป็นที่ราบลุ่มเดิมเป็นที่สวนราษฎรมีซอยวัดรวกสุทธารามแยกจากถนนจรัลสนิทวงศ ์เข้าถึงวัดการคมนาคมสะดวก ภายในบริเวณที่ตั้งวัดมีกำ แพงล้อมรอบ หน้าวัดอยู่ทางด้านทิศใต้ติดกับซอย ทิศเหนือและตะวันออกมีประตูด้านละ 1 ช่อง ทิศใต้และตะวันตกมีด้านละ2 ช่อง อาคารเสนาสนะมีอุโบสถกว้าง 6.50 เมตร ยาว 19 เมตร สร้าง พ.ศ. 2448 หน้าบันประดับด้วยถ้วยชามสังคโลก มีกำ แพงแก้วโดยรอบ กุฎีสงฆ์จำ นวน 7 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม่ 2 หลัง ศาลาการเปรียญกว้าง 11.40 เมตร ยาว 15.70 เมตรสร้าง พ.ศ. 2493 วิหารหลวงพ่อดำ ฌาปนสถาน หอระฆัง สำ หรับปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปซึ่ง
เป็นพระประธานในอุโบสถศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 43 นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์“ หลวงพ่อดำ ” ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 14 นิ้ว พระประธานในอุโบสถหลังเก่าหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว
ประวัติวัดรวกสุทธาราม
วัดรวกสุทธาราม สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2350 ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2449 คุณนายตลับกับคณะได้มาสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ และต่อจากนั้นมา
ก็ได้บูรณะพัฒนาทำ ให้วัดเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นตามลำ ดับ เกี่ยวกับนามวัดแต่เดิมนั้นมีนามว่า “วัดบางขุนศรี” ตามชื่อแขวงท้องที่ตั้งวัด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “ วัดรวกสุทธาราม” วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2446 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร

วัดมะลิ

         



ประวัติวัดมะลิ

********************************
วัดมะลิ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๘๗ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ๓๗ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๒๘ ตารางวา รางวัดครั้งสุดท้ายวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๔ วัดมะลิมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๕๓ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว ๑๐๓ เมตร ติดต่อกับโรงเรียนและที่จัดสรร ทิศใต้ยาว ๘๖ เมตร ติดต่อกับคลองสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว ๑๐๖ เมตร ติดต่อกับที่เอกชน ทิศตะวันตกยาว ๑๒๕ เมตร ติดต่อกับที่เอกชน
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มแวดล้อมไปด้วยคลองสวนและที่จัดสรรของเอกชน อาคารเสนาสนะ มีอุโบสถกว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๔ เมตร เป็นของเก่าหลังคา ๒ ชั้น ๓ ลด เดิมด้านหน้าและหลังเป็นแบบพาไลลาดลงมา ได้เปลี่ยนเป็นทรงหน้านาง เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒รวมกำแพงแก้วรอบอุโบสถ ขนาดกว้าง ๒๑ เมตร ยาว ๓๕ เมตร มีกุฏิสงฆ์จำนวน ๕ หลัง คือ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ๒ หลัง คือกุฏิเจ้าอาวาส ๕ ห้อง ๑ หลัง และกุฏิพักสงฆ์ ๑๙ ห้อง ๑ หลัง เป็นอาคารคอนกรีต ๓ ชั้น ๑ หลัง คือ กุฎิพักสังฆ์ ๒๕ ห้อง ๑ หลังเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น ๒ หลัง คือ กุฏิพักสงฆ์ ๑ ห้อง ๒ หลัง ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น กว้าง ๑๗.๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร วิหาร ๑ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ๑ หลัง ศาลาประชุมสงฆ์ ๑ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล หรือตั้งศพ ๒ หลัง อาคารโรงครัว ๑ หลังอาคารฌาปนสถาน (เมรุ) ๑ หลัง อาคารพระปริยัติธรรม และปฏิบัติธรรม ๑ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๙ เมตร สูง ๔ ชั้นครึ่งสำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานแบบสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย ปูนปั้นลงลักปิดทอง พร้อมด้วยอัครสาวก พระพุทธรูปปางต่าง ๆ จำนวน ๙ องค์ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ และพระพุทธรูปศิลาแลงของเก่าประดิษฐานอยู่ในวิหาร ๑ องค์

พระศิริ พุทฺธสโร (หลวงปู่ขุน) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
วัดมะลิ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๑๕ ในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากที่บ้านเมืองสงบจากข้าศึก ประชาชนได้ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินโดยปกติสุข ก็ได้สร้างวัดขึ้นมา ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง นามวัดอาจบ่งบอกถึงนามผู้สร้างวัดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด การพระราชทานวิสุงคามสีมาสันนิษฐานว่าคงจะได้รับพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๑ ประมาณ พ.ศ.๒๓๕๐
การศึกษา ทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณร ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ภายในวัดหรือจากสำนักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัย นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ มีโรงเรียนวัดมะลิ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งทางวัดให้การอุปถัมภ์อยู่ด้วย
เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามและประวัติมี ๒ รูป
คือ รูปที่ ๑ พระภิกษุพลอย พ.ศ.๒๔๔๕ -๒๔๗๔

รูปที่ ๒ พระครูธรรมวิมล

อายุ ๗๑ ปี พรรษา ๕๒ ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๒ จนถึงปัจจุบัน


ขณะนี้ พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดมะลิ มีพระภิกษุจำพรรษา ๓๐ รูป สามเณร ๓ รูป ศิษย์วัด ๔ คน


มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อดำ พระประธานในอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๕ มีอายุปัจจุบัน ๒๓๘ ปี ใบเสมาเป็นแบบ เสมาคู่ ทำด้วยศิลาแลง


ในอดีตมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ๒ รูป
คือ ๑. พระภิกษุพลอย (หลวงปู่พลอย)
๒. พระศิริ พุทฺธสโร (หลวงปู่ขุน)
และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ 
เบอร์โทรศัพท์ของวัด เจ้าอาวาส โทร. ๐-๒๔๑๑-๑๘๐๗ สำนักงาน โทร. ๐-๒๘๖๔-๕๑๙๐





อุโบสถ (บูรณใหม่ ปี ๒๕๕๐)





บริเวณวัดมุมสูง (ทิศเหนือ)


บริเวณวัดมุมสูง (ทิศใต้) ขณะนั้นอุโบสถกำลังบูรณะ
และ กุฏิสามัคคีธรรม

ประตูเข้าทางทิศใต้

    หอระฆัง