วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนที่ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลานายเงี๊ยบ


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ถนนบางขุนนนท์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,ปอ.79

แผนที่ วัดศรีสุดาราม


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ถนนบางขุนนนท์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,79

แผนที่วัดมะลิ


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนจรัญสนิทวงศ์
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,80,157 ปอ, 509 , ปอ.149

แผนที่วัดอัมพวา ซอย จรัญสนิทวงศ์ 22


การเดินทาง
ถนนจรัญสนิทวงศ์ สาย 80,81,91,108,157 ปอ.509 ,ปอ142
ถนนอิสรภพา สาย 40,57,149
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่วัดชิโนรสาราม



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนอิสรภาพ
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,149

แผนที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ถนนอรุณอมรินทร์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,81,91,126,127, 149,

แผนที่ตรอกมะตูม


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนอรุณอมรินทร์
รถเมล์สายที่ผ่าน 57

แผนที่วัดใหม่ยายแป้น


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนบางขุนนนท์
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,108,175 ปอ.509 ปอ.142

แผนที่เทสโก้ โลตัส ปิ่นเกล้า


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทาง ถนนบรมราชชนนี
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,149,57(จากราชพฤกษ์), 149 ปอ142 ปอ 507 ปอ511

แผนที่แม็คโคร จรัญสนิทวงศ์


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง ถนนจรัญสนิทวงศ์
รถเมล์ สาย 40,56,80,108, 157 ปอ 509

แผนที่ฟู๊ดแลนดิ์ จรัญสนิทวงศ์


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทางถนนจรัญสนิทวงศ์
รถเมล์สายที่ผ่าน 40,56,80,108,175 ปอ 509

แผนที่มัสยิด กุฏีหลวง


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

เดินทางถนนพรานนก
รถเมล์สายที่ผาน 40,56,81,91

แผนที่ มัสยิดหลวง อันซอริซุนนะห์


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทาง รถเมล์ สาย 57,81,91, 127,146,149

แผนที่โรงพยาบาลธนบุรี 1


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
การเดินทาง
ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
รถเมล์ 40,56, 149

แผนที่ โรงพยาบาลศิริราช


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

การเดินทาง
ทางเรือด่วนเจ้าพระยา
ทางเรือข้ามฟาก ท่าช้าง-วังหลัง , ท่าพระจันทร์ - วังหลัง
รถเมล์สายที่ผ่าน 57,81,91,146

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

เส้นทางวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร - สถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย)

















เส้นทางเดิน- จักรยาน ประวัติศาสตร์
รถประจำทางที่ผ่าน สาย : 40 42 56 57 68 79 108 157 175
ลงรถเข้าซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ประมาณ 700 เมตร



วัดสุวรรณราชวรวิหาร (Click อ่านประวัติ)



หลวงพ่อศาสดา พระประธาน
“วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” หรือชื่อเดิมว่า “วัดทอง”ซึ่งถือเป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ความเก่าแก่ของวัดทองนี้นับอายุไปได้ถึงปลายสมัยอยุธยา และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้ทรงใช้บริเวณวัดแห่งนี้เป็นลานประหารชีวิตเชลยพม่า แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่วัดทองได้เปลี่ยนรูปโฉมไปมาก เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่แทบทั้งหมด และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “วัดสุวรรณาราม”

แล้วอย่าลืมเข้าไปด้านในพระอุโบสถเพื่อไปกราบสักการะ “หลวงพ่อศาสดา” พระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย พระประธานของพระอุโบสถที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธากันมาก โดยมักมีคนมากราบไหว้ขอพร หรือบนบานศาลกล่าว โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับทหาร ซึ่งการบนนั้นก็นิยมแก้บนด้วยการวิ่งม้า แต่ไม่ได้ใช้ม้าจริงๆ เพียงแค่ใช้คนวิ่งและมีผ้าขาวม้าเป็นสัญลักษณ์แทนม้าเท่านั้น โดยประเพณีนี้ก็ยังคงมีสืบทอดมาจนปัจจุบัน



ภายในพระอุโบสถของวัดสุวรรณารามยังมีสิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่จะพูดข้ามไปไม่ได้เลย นั่นก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านใน ที่ถือว่าโดดเด่นและสมบูรณ์ที่สุดในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัด ก็โปรดเกล้าฯ ให้ช่างมาเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถด้วย โดยช่างที่มาเขียนภาพนั้นก็เป็นสองสุดยอดช่างในสมัยนั้น ซึ่งก็คือหลวงวิจิตรเจษฎา (ครูทองอยู่) เขียนประชันกับหลวงเสนีย์บริรักษ์ (ครูคงแป๊ะ)

ภาพจิตรกรรมของทั้งสองท่านนั้นก็มีเอกลักษณ์ต่างกันไป ภาพเขียนเรื่องทศชาติตอนเนมีราชชาดกของครูทองอยู่จะเป็นแบบไทยๆ มีการตัดเส้น แต่ภาพเขียนทศชาติตอนมโหสถชาดกของครูคงแป๊ะจะเน้นรายละเอียดของผู้คน ทั้งคนไทย จีน ฝรั่ง และใช้สีสดใสในภาพ

นอกจากนั้นภายในวัดก็ยังมีพระวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งช่อฟ้าใบระกาประดับด้วยกระจก และหน้าบันจำหลักลายรูปเทพนม อีกทั้งยังมีหมู่กุฏิสงฆ์ที่เป็นเรือนไม้ฝาปะกนเก่าแก่และงดงามมาก


และหากอยากจะชมบรรยากาศของตลาดเก่า ที่ชุมชนบ้านบุก็มี “ตลาดวัดสุวรรณาราม” หรือ “ตลาดวัดทอง” ตลาดเก่าแก่กว่าร้อยปีที่ชาวบ้านบุยังคงมาจับจ่ายซื้อสินค้ากันอยู่ในปัจจุบัน ก่อนนี้ตลาดวัดทองคึกคักมากทีเดียวเพราะมีชาวบ้านชาวสวนจากละแวกปากคลองบางกอกน้อยจนถึงคลองมหาสวัสดิ์มาหาซื้อของที่นี่ ในด้านความเก่าแก่ของตลาดวัดทองยังคงมีร่องรอยให้มองเห็นอยู่ตรงที่รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่สวยงาม มีหลังคาโค้งขนาดใหญ่ทำด้วยไม้โดยไร้คานรองรับ ถือว่าเป็นตลาดที่มีเอกลักษณ์หาดูได้ยากในปัจจุบัน
ถัดจากตลาดวัดทองเลยไปด้านหลังไม่ไกลนัก ก็จะมีร้านขายยาเก่าแก่ที่ชื่อว่า “สงวนโอสถ” เป็นร้านขายยาโบราณอายุกว่า 75 ปีที่ก่อตั้งโดย “หมอหงวน” หรือนายสงวน เหล่าตระกูล ที่มีความเชี่ยวชาญในการปรุงยา และคิดค้นตำรายาเองเพื่อใช้รักษาคนไข้ในย่านบ้านบุ ซึ่งปัจจุบันนี้ร้านสงวนโอสถก็ยังคงมีลูกหลานสืบทอดกิจการกันต่อมาจนปัจจุบัน ภายในร้านนอกจากจะมีตู้ไม้เก็บยาหน้าตาโบราณแล้วก็ยังมีเครื่องบดยาที่ใช้กันในสมัยก่อนอีกด้วย และหากใครอยากจะลองใช้ยาแผนโบราณของร้านสงวนโอสถก็สามารถหาซื้อกันได้ โดยยาที่ขึ้นชื่อก็เช่น ยาหอมอินทรจักร ยานิลโอสถ ยาหอมสมมิตรกุมาร ฯลฯ 



“ชุมชนบ้านบุ ”ชุมชนเก่าแก่ริมคลองบางกอกน้อยที่มีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงหลงเหลือบรรยากาศในอดีตตกค้างมาให้คนปัจจุบันได้สัมผัสกัน โดยชาวบ้านกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาอาศัยในบริเวณนี้ก็คือกลุ่มช่างฝีมือที่อพยพหนีภัยสงครามมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ซึ่งชาวบ้านที่อพยพมานั้นก็ได้นำเอาวิชาการทำเครื่องทองลงหินติดตัวมาด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชนบ้านบุ เพราะคำว่า “บุ” นั้นก็หมายถึงขึ้นรูปชิ้นโลหะด้วยการตี และบีบอัดเนื้อโลหะให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการเป็นภาชนะต่างๆ ชุมชนบ้านบุจึงเป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะยังคงมีการสืบทอดการทำขันลงหินมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในตอนนี้ก็ยังมีผู้ที่สืบทอดอาชีพนี้ต่อมาอยู่สองเจ้าด้วยกันคือบ้านขันลงหิน (เจียม แสงสัจจา) กับบ้านบุคอลเลคชั่นของบ้านขันธ์หิรัญ ซึ่งหากใครผ่านมาผ่านไปก็จะได้เห็นชาวบ้านกำลังทำขันลงหินกันอยู่ แถมใครสนใจอยากจะได้ขันลงหินไปใช้ ก็ยังสามารถเลือกซื้อขันลงหินจากแหล่งผลิตกันได้ด้วย 



เดินตามทางชุมชนบ้านบุ จะออกไปยัง โรงรถจักรธนบุรี  (คลิ๊กอ่านประวัติ)
ซึ่งมีความสำคัญ คือ เก็บหัวรถจักรไอน้ำโบราณ



เดินไปสักเล็กน้อย ผ่านใต้สะพานอรุณอมรินทร์ มองไปฝั่งตรงข้ามคลองบางกอกน้อย
จะเห็นพิพิธฑภัณฑ์อู่เรือพระราชพิธี



เดินไปตามทาง จะพบวัดอมรินทร์ แวะนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อย

ซึ่งอยู่ภายในวัดอมรินทราราม


เมื่อนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยแล้ว ชมโบราณสถานภายในวัดอมริทรารามวรวิหาร
หลังจากนั้นเดินมาตามเส้นทางรถไฟ เพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย)

ปัจจุบัน โรงพยาบาลศิริราช ได้สร้างอาคารศูนย์การแพทย์ บริเวณด้านหลังสถานีรถไฟธนบุรี
และปรับเปลี่ยนอาคารสถานีรถไฟธนบุรีเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและปรับปรุง
ยังไม่สามารถเข้าเยี่ยมชมอาคารสถานีได้

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นิวาสสถานเดิมของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเสิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2

 
นิวาสสถานเดิมของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเสิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2


เป็นที่ทราบกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ประสูติ ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นบ้านของสมเด็จพระราชนนี เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งกรุงธนบุรีแล้ว สมเด็จพระบรมชนกนาถได้เข้ารับราชการอยู่ด้วย และทรงตั้งบ้านเรือนอยู่แถววัดระฆังโฆสิตาราม (หรือวัดบางหว้าใหญ่) ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระชนมายุเพียง 2 ขวบ ก็ทรงประทับกับพระชนกนาถ ณ นิวาสสถานหลังนั้นด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2325 นั้น รัชกาลที่ 2 มีพระชนมายุ 16 พรรษา และได้รับสถาปนาขึ้นทรงกรมเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม(ของกรุงธนบุรี) เจ้าจอมมารดาเรียม (กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระชนนีของรัชกาลที่3) ได้ทำราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ตั้งแต่ยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ (คือยังไม่ได้ทรงกรม) ก็เสด็จประทับอยู่ ณ บ้านหลวงเดิมแถววัดระฆังฯ ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม เจ้าจอมมารดาเรียมก็ตามเสด็จไปด้วย (จากหนังสือบางขุนเทียน ส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทย และกรุงรัตนโกสินทร์ หน้า 145) วัดระฆังโฆสิตาราม นอกจากจะเป็นสถานที่สำคัญที่พระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี เป็นเจ้าอาวาสแล้ว นิวาสสถานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อทรงพระเยาว์ ก็ยังอยู่ถิ่นแถววัดระฆังฯ อีกด้วย ชาวบางกอกน้อยจึงภาคภูมิใจในประวัติอันเก่าแก่นี้

คลองบางกอกน้อย

คลองบางกอกน้อย
พระไชยราชาธิราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดขึ้น

แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม

แม่น้ำเจ้าพระยาหลังการขุดคลองลัด

    แม่น้ำเจ้าพระยาดั้งเดิม กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระอธิบายว่า ลำน้ำเจ้าพระยาเดิมตั้งแต่ปากน้ำเจ้าพระยาเดิมขึ้นมาตามแม่น้ำทุกวันนี้ จนถึงคลองบางกอกใหญ่ (หรือที่เรียกกันว่า คลองบางหลวง) ในระหว่างวัดอรุณ ฯ กับวัดกัลยาณ์ ฯ ที่วัดกัลยาณ์เองเป็นตัวแม่น้ำ ตลิ่งอยู่ที่กุฎีจีน คือศาลเจ้าเจ็กอยู่ติดข้างใต้วัดกัลยาณ์เดี๋ยวนี้ ลำแม่น้ำเดิมเข้าทางบางกอกใหญ่ไปเลี้ยวบางระมาด ตลิ่งชัน วกมาออกคลองบางกอกน้อย ขึ้นทางสามเสน (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น 2505 หน้า 487)
    ประเด็นเกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิมของกรุงเทพ ฯ มีข้อความอธิบายอีกอย่างหนึ่งซึ่งบางทีอาจจะช่วยให้ชัดเจนมากยิ่งขี้น ดังนี้
wpe38.jpg (24353 bytes)

    อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม (รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชามนุษยวิทยาและโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า "ตำบลบางกอก" อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใกล้อ่าวไทย เป็นบริเวณที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเป็นรูปโค้งเกือกม้า (OXBOW LAKE) กล่าวคือเมื่อแม่น้ำไหลมาจากทิศเหนือผ่านเขตจังหวัดนนทบุรี มาถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อย ก็ไหลวกไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นคลองบางกอกน้อย พอถึงบางระมาดก็ไหลวกลงใต้ กลายเป็นคลองบางระมาดมาถึงวัดนวลนรดิศแล้ววกมาทางตะวันออกเป็นคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมาถึงวัดอรุณราชวรารามก็วกไหลเรื่อยลงไปทางทิศใต้จนออกทะเลที่ปากแม่น้ำ
    การที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้านั่นเอง เป็นเหตุให้สองฟากแม่น้ำคดโค้งนี้กลายเป็นที่ดอนขึ้นมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแม่น้ำนำตะกอนจากที่ต่าง ๆ ทางเหนือมาทับถมทุกปีในฤดูน้ำหลาก จึงเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย
    อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายเพิ่มเติมอีกว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชุมชนย่านบางกอกนี้มีความเจริญและพัฒนาขี้นเป็นศูนย์กลางของประเทศได้ ก็เพราะมีลำน้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อทั้งภายในภายนอกได้สะดวก
    ในบรรดาบ้านเมืองสำคัญ ๆ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 ด้วยกันแล้ว จะเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาอันเป็นราชธานีของไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมานี้ จำเป็นต้องอาศัยลำแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการเดินลงเรือจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อจะเข้าไปยังพระนครศรีอยุธยาจึงต้องผ่านชุมชนที่เป็นบ้านเมืองขึ้นไปเป็นระยะ ๆ
    เมื่อเดินทางเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแล้ว ก็จะถึงชุมชนย่านบางกอก เป็นแหล่งพักสินค้าได้ดีที่สุด เพราะเส้นทางน้ำที่จะเดินทางต่อไปไม่สะดวกเนื่องจากลักษณะคดและโค้งของแม่ น้ำเจ้าพระยาเดิมดังกล่าวมาแล้วจะต้องเสียเวลาอีกมากนักเพราะฉะนั้นจึงต้อง จอดพักกันที่ย่านบางกอกกันก่อน ในที่สุดย่านบางกอกก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และชุมชนก็ยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย
    ความสนใจที่พระนครศรีอยุธยามีต่อ บางกอก นั้น มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตรงกันเกือบทุกฉบับว่า.......
    "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านั้น ก็ได้ขุดคลองบางกอกใหญ่ตำบลหนึ่ง" (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ 2515 หน้า 580)
wpe39.jpg (20499 bytes)

    ข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีเพียงเท่านี้เอง ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะมีสาระสำคัญใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่อ่งนี้มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุคดังกล่าวมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความสำคัญต่อฐานะความก้าวหน้าของตำบลบ้านย่านบางกอก
    เพราะนี่คือหลักฐานที่ระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ตรงส่วนที่แคบที่สุด ที่ทุกวันนี้เรียก ปากคลองบางกอกน้อยไปถึงคลองบางกอกใหญ่ และปัจจุบันนี้กลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือหน้าสถานีรถไฟในบางกอกน้อย ไปจนถึงวัดอรุณราชวราราม
    ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิม ที่ย่านย่านบอกกอกก็แคบลง กลายเป็นคลองดังที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า
"คลองบางกอกน้อย" และ "คลองบางกอกใหญ่"
    แม่พระราชพงศาวดารจะระบุปีที่ขุดคลองลัดนี้ว่า "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก" ซึ่งเทียบได้ตรงกับ พ.ศ.2065 แต่จะเอาแน่นอนนักก็ไม่ได้ เพราะโอกาสคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ส่วนที่แน่ ๆ คือ การขุดนี้เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่ทรงครองราชสมบัติอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2077-2089
(และเป็นกษัตริย์ที่มีสนมเอกนามว่า เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ นั่นเอง)
    สาเหตุที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช โปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ขึ้นนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายต่อไปว่า ในสมัยนั้นการติดต่อกับต่างประเทศ เข่น จีน และ โปรตุเกส มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ราชสำนักกรุงศรึอยุธยาจีงให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกในเรื่องการคมนาคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงโปรดให้ขุดคลองลัดที่ย่านบางกอก เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย แล้วผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราชไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ ข้างวัดอรุณราชวราราม เมื่อกระแสน้ำมีร่องให้พุ่งตรง ซึ่งจะไหลคล่องกว่าการเลี้ยวลดคดโค้งไปตามเส้นทางเดิม กระแสน้ำจึงมีกำลังแรง สามารุทำให้คลองลัดขยายกว้างขึ้นด้วยการทำลายสองฟากตลิ่ง จนกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแทนสายเก่า ส่วนลำแม่น้ำเดิมก็แคบเข้าจงเหลือเป็นคลอง ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
    กล่าวกันว่า การขุดคลองลัดที่ย่านบางกอกนั้น ช่วยย่นระยะทางคมนาคมากทีเดียว เพราะแทนที่จะเสียเวลาพายเรือทั้งวันเพื่ออ้อมไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ก็จะเหลือเพียงชั่วไปทันตั้งหม้อข้าวเดือด
    ผลที่ตามมาอย่างรวดเร็วก็คือ ย่านดังกล่าวกลายเป็นเกาะ และ ขยายชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนมากมาย ในที่สุดก็กลายเป็น "เมือง" อยู่บริเวณสองฟากฝั่งคลองลัดที่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
    จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงห่วงใยในอาณาประชาราษฎรของพระองค์ ทรงสดับตรับฟังทุกข์สุข ทรงฟังปัญหา ทรงแก้ปัญหาให้ประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยพระปรีชาญาณอันกว้างไกล เพื่อความผาสุกของประชาชน
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จประไชยราชาธิราชทรงขุดคลองเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการคมนาคม จนเกิด "คลองบางกอกน้อย"
    ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้กับพสกนิกรชองพระองค์หลายโครงการด้วยกัน และโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการตามพระราชดำริโครงการหนึ่งที่ทรงแนะนำเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตบางกอกน้อย นับเป็นพระมหากรุณาธุคุณแต่พสกนิกรของพระองค์อย่างล้นพ้น
คลองบางกอกน้อยกับพุทธศาสนา

    คลองบางกอกน้อย เป็นเส้นทางร่วมในงานชักพระ วัดนางชี การชักพระวัดนางชีนั้นเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานยังบุษบกแล้ว ชักแห่ไปทางเรือ จากหน้าวัดนางชีไปทางคลองบางกอกน้อย ถึงวัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน ก่อนเพล เลี้ยงพระกันที่วัดไก่เตี้ย แล้วยกขบวนไปที่ปากคลองบางกอกน้อย มาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ และวกเข้าคลองด่านกลับไปยังวัดนางชี
    งานนี้มีขึ้นมนวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นงานประจำปี มีการละเล่นต่าง ๆ เช่น แข่งเรือ
เพลงเรือ แห่ขบวนเรือบุปผชาติ เป็นต้น
tample13.jpg (24545 bytes)

โรงพยาบาลศิริราช

 โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ปี 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคอมมิตตี เพื่อจัดการตั้งโรงพยาบาลสำหรับพระนครขึ้น ณ บริเวณวังหลัง ทางฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนแรกเริ่มในการก่อสร้าง
ได้มีการจัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง โดยรักษาทั้งแผนปัจจุนันและแผนโบราณ ชาวบ้านทั่วไปเรียกโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า "โรงพยาบาลวังหลัง" ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า "โรงศิริราชพยาบาล"
แล้วจากนั้น เนื่องจากความต้องการแพทย์ที่มากขึ้น จึงได้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น และเริ่มเปิดสอนเมื่อ 5 กันยายน 2433 และได้มีการตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์แห่งนี้ว่า "โรงเรียนแพทยากร" โดยมีการเรียนการสอนเป็นเวลา 3 ปี เปิดสอนทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ราชแพทยาลัย"
ในปี พ.ศ.2446 ได้ขยายหลักสูตรเป็น 4 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2450 ได้รวมแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน และได้มีการขยายหลักสูตรเป็น 5 ปี ในระยะที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นไชยนาทนเรนทรทรงเป็นผู้บัญชาการราชแพทยากร ในรัชสมัยของร.6 ได้มีการประกาศให้รวมราชแพทยาลัยเข้าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนนามเป็น "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ในปี พ.ศ.2460 ต่อมาในปี พ.ศ.2461 ได้เปลี่ยนเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" และขยายหลักสูตรเป็น 6 ปี
ได้มีการเจรจากับมูลนิธิร๊อกกิเฟลเลอร์ ในปี 2464 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศสมเด้จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์เป็นผู้แทนฝ่ายไทย ในที่สุดมูลนิธิร๊อกกิเฟลเลอร์ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งการศึกษาแพทย์ เตรียมแพทย์ และพยาบาล พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกมีหลายประการและปรากฎผลสำเร็จดียิ่ง จนทำให้บุคคลทางการแพทย์ สาธารณสุข และประชาชนทั่วไปถือว่าพระองค์เป็น "องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
ในปี 2485 ได้มีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ซึ่งประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่แยกออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใช้พระนามาภิไธย "มหิดล" และคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ได้รับชื่อใหม่ว่า "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

กำแพงวังหลัง

จากวัดระฆังเดินเลี้ยว ซ้ายไปตามซอยที่จะตรงไปทะลุออกโรงพยาบาลศิริราชซอยดังกล่าวไม่กว้างมากแต่ก็ พอให้รถยนต์คันเล็ก ๆ แล่นผ่านไปได้ แต่ถ้าสวนกันคงลำบาก เลยเขตวัดระฆังไปสักเล็กน้อยจะพบบ้านหลังหนึ่งสร้างแบบสมัยใหม่ สวยงาม แต่ความแปลกของบ้านหลังนี้อยู่ที่กำแพงก่อด้วยอิฐแดงเก่า ๆ หน้าบ้าน กำแพงนั้นยาวประมาณ 10 เมตร แถวบ้านหลังนั้นตั้งอยู่เขาเรียก " ตำบลวังหลัง" ตำบลวังหลังเกี่ยวกับบ้านหลังนั้นอย่างไร เราค้นได้จากเรื่อง " บันทึกวังหลัง" นามผู้เขียนคือ "บัลลพ " "บัลลพ" เขียนไว้ในเรื่องดังกล่าวว่า สมัยกรุงศรีอยุธยากำลังจะแตก เสียแกพม่าครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2310 นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิมทองด้วง) กับพระราชวงศ์ พากันอพยพหนีลงมายังกรุงธนบุรีเข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงมีพระพี่นางสองพระองค์ พระเชษฐาหนึ่งพระองค์ พระอนุชาหนึ่งพระองค์ ที่ทรงร่วมพระชนก ชนนีเดียวกัน ตำหนักที่ประทับของพระองค์ท่าน แต่เดิมอยู่ใต้วัดระฆังไปเล็กน้อย สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่เสด็จไปประทับเหนือวัดระฆังไปหน่อย เรียกว่า ตำบลบ้านปูน ทรงทำสวนมังคุดลิ้นจี่ สมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อยเสด็จไปจอดแพค้าขายที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ส่วนพระเชษฐาและพระอนุชาตอนนั้นไป่แจ้งว่าประทับอยู่ที่ไหน ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระองค์ก็โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยอภัย พระราชนัดดา ซึ่งเป็นโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จพระพี่นาง เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์ ต่อมาทรงเห็นว่าพระยศยังไม่สมควรแก่ความชอบที่ได้ทรงร่วมทัพจับศึก ร่วมความลำบากยากเข็ญในการกู่ชาติมาด้วยกันดังนั้นหลังจากที่เจ้าฟ้ากรมหลวง อนุรักษ์เทเวศร์ได้เสด็จกลัลจากการไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองนครสวรรค์ ซึ่งพม่ายกเข้ามาถึง 9 ทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข กรมพระราชวัง กรมพระราชวังหลัง คงประทับอยู่ที่วังสวนลิ้นจี่ พระอนุชาองค์อื่น ๆ ก็มีพระตำหนักที่ประทับอยู่ในบริเวณสวนมังคุดที่บ้านปูนนั้นแหละ สำหรับพระชนนีและพระน้องนางนั้น เสด็จเข้าประทับในวังหลวง (พระบรมมหาราชวัง) เพื่อทรงช่วยราชการในวังหลวง พระนิเวศน์ที่กรมพระราชวังหลังประทับในสมัยนั้น คงจะไม้ได้สร้างเป็นประสาทราชมณเฑียรใหญ่โตเหมือนกับ " วังหน้า" คงสร้างเป็นที่ประทับธรรมดา ๆ กรมพระราชวังหน้าระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น คือสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(พระนามเดิมบุญมา) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชทรงโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น กรมพระราชวังหน้า ก่อนหน้ากรมพระราชวังหลัง 3 ปี
wpe1E.jpg (21779 bytes)
วังหน้าประทับอยู่ใกล้กับวังหลวงต่อไปทางด้านเหนือริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยไปจนจรดบางลำพู กรมพระราชวังหลังทิวงคต พ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหน้าสวรรคต 3 ปี ต่อจากนั้นก็มิได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายพระองค์ใดทรงเป็นกรมพระราชวังหลังอีก คงมีแต่พระองค์เดียวเท่านั้น ส่วนกรมพระราชวังหน้ามีถึง 6 พระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นองค์สุดท้าย พระโอรส พระธิดา และเชื้อพระวงศ์ของกรมพระราชวังหลัง ก็ทรงประทับอยู่ที่วังหลังนั้น จากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่าเจ้านายวังหลังทรงเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบมาตั้งแต่สมัยกรุงธนจน ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นอกจากจะทรงเก่งกล้าใสการรบแล้วยังทรงมีวิชา การทางฝไสยศาสตร์ ทีอาคม และอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีกด้วย มาจนถึงรัชกาลที่ 3 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกสงครามก็ว่างลง เจ้านายวังหลังต่างพลัดพรากแยกย้ายออกไป เสด็จออกต่างจังหวัดบ้าง เข้าวัดบ้าง ที่เสด็จเข้าวัดก็มีอยู่พระองค์หนึ่ง ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ต่อจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรสี) คือ หม่อมเจ้าทัด เสนีย์วงศ์ ได้ทรงเป็นสมเด็จประพุฒาจารย์เหมือนกัน เมื่อแยกกันออกไป วังหลังก็หมดสิ้นผู้สามารถปกครองไว้ได้ มีแต่ทรุดโทรมลง เมื่อ พ.ศ. 2372 เจ้าฟ้าขุนอิศรานุรักษ์พระโอรสพระองค์เล็กของสมเด็จพระพี่นาง เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ได้ทรงซื้อทางด้านสวนมังคุด แล้วทรงย้ายจากวังเดิมที่อยู่ที่เตียน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ น็น พระราชทานให้ทรงไปปลูกวังวังใหม่ที่สวนมังคุด ทรงประทับอยู่ได้เพียงปีเดียวก็ประชวรพระยอดที่ประปฤษฎางค์สิ้นพระชนม์ พรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชุอุ่ม อิศรางกูร) พระโอรสพระองค์ใหญ่ ทรงครอบครองวังต่อมา คนทั้งหลายเรียกวังตรงสวนมังคุดว่า " วังกรมเทวา" เมื่อกรมหมื่นเทวารักษ์ สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ 4 หม่อมเจ้าในกรมขุนอิศรานุรักษ์และเชื้อสายก็อยู่กันต่อมา บริเวณที่เป็นสวนลิ้นจี่ สวนนมมังคุด และบ้านปูน คนเลยเรียกรวมกันว่า " วังหลัง"มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนทางสวนลิ้นจี่ บ้านปูน ที่อยู่เหนือขึ้นไปนั้น ได้กลายเป็น วังร้าง ยิ่งขึ้น จะเนื่องจากการซื้อขายเปลี่ยนมือประการใดไม่ทราบชัด ตรงที่ต่อจากสวนมังคุดไปส่วนหนึ่งก็ได้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสตรี ชื่อว่า " โรงเรียนกุลสตีวังหลัง" โดย แหม่มแฮร์เรียต เอม เอ้าส์ เป็นผู้สร้างขึ้น สมัยนั้นขาวบ้านมักจะเรียกว่า " โรงเรียนแหม่มโคล์" ต่อมาโรงเรียนนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่ซอยวัฒนา ถนน สุขุมวิท แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า " โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย " ถัดโรงเรียนกุลสตีวังหลังไปทางเหนือก็ยังเป็นที่รกร้างอยู่ เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ศิริราชกุธภัณฑ์ พระราชโอรสองค์ที่ 53 ลำดับที่ 5 ในสมเด็จพระศรีพัชรินททราบรมราชินีนาถ ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงแบ่งวังหลังไปสร้างเป็นโรงพยาบาลศิริราช ให้เป็นอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ส่วนที่ทางเหนือสุดจรดลำคลอง บางกอกน้อยก็เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสายใต้ เรียกว่าสถานีรถไฟบางกอกน้อย มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ราชสกุลที่สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากกรมพระราชวังหลัง มีอยู่สองราชสกุล คือ ปาละกวงศ์ และเสนีย์วงศ์ แต่เท่าที่ทราบมาทั้งสองราชสกุลนี้มิได้รวมกันอยู่แถวนั้น คงกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่น ๆ หมด ยังมีราชสกุลที่ยังคงเหลืออยู่ในในบริเวณนั้นตลอดมาแต่ก็ไม่มากนัก คือ ราชสกุล อิศรางกูร ซื่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ที่พูดอย่างสามัญชนก็นเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ปัจจุบันบริเวณนั้นเป็น บ้านเรือน ร้านค้า ของผู้คนมากมายหนาแน่น พลุกพล่าน เพราะใกล้กับโรงพยาบาล จะมีใครรู้บ้างว่าครั้งหนึ่งเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว ที่บริเวณทั้งหมดนั้น เคยเป็นเขตที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศ์ กรมพระราชวังหลัง ในรัชกาลที่ 1 ที่มีพระราชอำนาจเป็นที่สาม รองลงมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระมหาอุปราช กรมพระราชวังหน้า

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตรอกวังหลัง


>
สำหรับคนที่เป็นขาช๊อปปิ้ง หากเอ่ยถึง "ตรอกวังหลัง" หลายคนคงต้องร้องอ๋อ..แม้ว่าบางคนจะยังไม่มีโอกาสไปสักครั้ง แต่ก็ต้องยอมรับว่าเคยได้ยินเชื่อเสียงของตรอกแห่งนี้มาบ้างพอสมควร 


     ตรอกวังหลัง นั้นตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลศริรราชเชื่อมต่อ ถนนอรุณอัมรินทร์กับ ท่าเรือวังหลังมีความยาว ประมาณ 100 เมตร วังหลังเป็นชื่่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง ของพระราชวังบวรสถานพิมุข ซึ้งมีที่ตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลศิริราช ในสมัยราชการที่ ๑

     โดยปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยกำแพงวังของ กรมหมื่นเทวานุรักษ์ ในราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ้งสืบเชื้อสายมาจาก เจ้านายท้ายวัง หลัง

wpe1E.jpg (21779 bytes)


     ปัจจุบันย่าน ตรอกวังหลัง ได้กลายเป็นแหล่งค้าขายสินค้าเบ็ดเตล็ด และอาหารการกินที่มี ชื่อเสียง จำนวนมาก อาทิ กุ้ยช่าย ไก่ย้างส้มตำ ขนมหวาน ผลไม้ อาหารแห้ง เสื้อผ้า เป็นต้น ในวันพุธ จะมีตลาดนัด ซึ้งมีพ่อ ค้าเร่ แ่ม่ค้า นำสินค้ามาขายเป็นจำนวนมาก

     หากใครที่ยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี "ตรอกวังหลัง" อาจเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่คุณน่าจะหาโอกาสมาเยือนสักครั้งหนึ่งนะคะ 



ที่มา: http://travel.thaiza.com




วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วัดปฐมบุตรอิศราราม





'วัดปฐมบุตรอิศราราม' ตั้งอยู่เลขที่ 165 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 45 แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 9 ไร่

ตามคําบอกกล่าวของ พระครูปลัดปริยัติวัฒ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน วัดนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2314 หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย 4 ปี มีอายุประมาณ 300 ปี

เดิมคนจีนเป็นผู้สร้าง เนื่องจากโล้เรือสําเภามาค้าขายจนร่ำรวย จึงได้สร้างวัดขึ้นมา แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดยี่ส่าย" ในอดีตยังไม่มีความเจริญมากนัก คําว่า "ยี่" แปลว่า สอง ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าหมายถึง ผัวเมีย แต่อีกนัยหนึ่ง คําว่า "ยี่ส่าย" หมายถึง เขยคนรอง หรือ ลูกเขยคนที่สอง (ลูกเขยคนรอง)




ประมาณในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-5 เจ้าชอุ่ม อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ขอพระราชทานนามจาก "วัดยี่ส่าย" เป็น "วัดปฐมบุตรอิศราราม" แล้วได้บูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและปูชนียสถาน มีพระประธานในพระอุโบสถ คือ หลวงพ่อแดง ทําด้วยศิลาแลงสีแดง นอกจากนี้ อาคารเสนาสนะ ประกอบไปด้วยพระอุโบสถ 1 หลัง วิหาร 1 หลัง และกุฏิสงฆ์

บริเวณโดยรอบวัดปฐมบุตรอิศราราม เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ แม้หลายพันหลังคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง

สำหรับความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ภายในวัด มีไม่ค่อยเห็นมากนัก ด้วยพื้นที่วัดมีค่อนข้างจำกัด และศาลาบางส่วนมีการซ่อม แซมต่อเติม ทำให้ฝุ่นผงละอองเลอะตามพื้นวัด

บริเวณพุทธา วาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับศาลาวัด มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี แต่ลานจอดรถด้านหน้าศาลาใหญ่ปากทางเข้าวัด มีสภาพไม่สะอาด จากเศษขยะและคราบต่างๆ เต็มบริเวณ

แม้เศษขยะจะมีไม่มากเป็นกองพะเนิน แต่ด้านหน้าเป็นที่ที่ใครผ่านไปผ่านมา ต้องประสบพบเห็น คงจะไม่ดีเท่าไรนัก

สำหรับต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกภายในวัด มีอยู่หลายต้นด้วยกัน สร้างความร่มรื่นเย็นสบายเป็นอันมาก

บริเวณด้านหน้าวัด เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี



แหล่งที่มา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด

วัดบา่งบำหรุ

วัดบางบําหรุ
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 41 จรัญสนิทวงค์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

วัดแห่งนี้ เดิมเป็นศาลเจ้าแม่ทับทิม ต้นสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาได้สร้างเป็นวัด ชื่อ "วัดสวยหรู" ไม่ปรากฏว่าสร้างอุโบสถ์ และผูกพัทรสีมาเมื่อใด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดบางตําหรุ แล้วเปลี่ยนมาเป็นวัดบางบําหรุ ในปัจจุบัน
ความเป็นมา
วัดบางบำหรุ แม้จะเป็นวัดเล็กๆ ที่อยู่ในย่านชุมชนไม่ใหญ่โต แต่มีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยเคยมี "หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านเครื่องรางเบี้ยแก้ ที่เป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
สำหรับการเดินทางมาที่วัดสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ ซอยบรมราชชนนี 5 ตรงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงซอย 45 แล้วเลี้ยวขวา ตรงไปเรื่อยๆ จะถึงวัดบางบำหรุ หรือเข้าตรงซอยบรมราชชนนี 15 ข้างศาลพระศิวะ หรือภัตตาคาร ป.กุ้งเผา จะผ่านหมู่บ้านพันธ์ศักดิ์ เลี้ยวซ้ายตรงมาเรื่อย ๆ จนเห็นแนวกำแพงวัดบางบำหรุ
ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบวัดบางบำหรุ เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ แม้จะไม่ใช่ชุมชนใหญ่ แต่มีบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง
บริเวณพุทธาวาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับถนน มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี แต่ลานจอดรถด้านหน้าศาลาใหญ่ปากทางเข้าวัด มีสภาพไม่สะอาด จากเศษขยะและคราบต่างๆเต็มบริเวณส่วนด้านหลังมีประตูเล็กออกไปข้างนอก ได้แม้เศษขยะจะมีไม่มากเป็นกองพะเนิน แต่มีกองมูลสุนัขปรากฏเป็นหย่อมๆ เชื่อว่าใครที่ผ่านไปแถบนั้น หากต้องประสบพบเห็นเข้า คงจะไม่ดีเท่าไรนัก

วัดสุวรรณคีรี


สถานที่ตั้ง
 (วัดขี้เหล็ก) ตั้งอยู่เลขที่ 796 ถนนรุ่งประชา แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
หรือเรียกบริเวณนี้ว่า สามแยกคลองชักพระ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4435 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่
ราบลุ่มอยู่ริมคลองบางกอกน้อย มีคูนํ้าโดยรอบวัด
อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับคูนํ้า
ทิศใต้ติดต่อกับคูนํ้าและโรงเรียนเสริมศรัทธา
ทิศตะวันออกติดต่อกับคูนํ้ากั้นเขต
ทิศตะวันตกติดต่อกับคลองบางกอกน้อย
ประวัติวัดสุวรรณคีรี(วัดขี้เหล็ก)
วัดสุวรรณคีรี(วัดขี้เหล็ก)เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างในปลายรัชกาล สมเด็จพระนารายณมหาราช ประมาณ พ.ศ. 2228 เดิมมีนามว่า “วัดขี้เหล็ก” โดยมีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้มาปักกลดอยู่ในบริเวณดงต้นขี้เหล็กซึ่งมีอยู่มากมาย ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างเป็นวัดขึ้นมาและวัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ขึ้นใหม่หมดทั้งวัดในราว พ.ศ. 2338 โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิง
หนาท และได้เปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดสุวรรณคีรี” วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาราวพ.ศ.2228 พร้อมกับระยะเวลา การประกาศสร้างวัด เขตวิสุงคามสีมากว้าง 26 เมตร ยาว 40เมตร
ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาถวายพระราชทานผ้าพระกฐินต้นเป็นการส่วนพระองค์
ปูชนียวัตถุ
สำ หรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถสร้างด้วยศิลาแลง หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร (ประมาณ 5 ศอก) สูง 3 เมตร ปางสะดุ้งมาร พระหัตถข้างซ้ายมี 6 นิ้ว พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา คือพระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตร พระพุทธบาทจำ ลองและพระพุทธฉาย พร้อมด้วยหอพระไตรปิฎก ทุกกลางเดือน 3 ของทุกปี ได้จัดงานนมัสการเป็นประจำ
เสนาสนะต่าง ๆ 
ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดั้งนี้
1. อุโบสถมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะทรงไทย ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันไม้สักแกะ สลักลวดลาย
2. หลังคาลด 3 ชั้น
3. กุฏิสงฆ์จำ นวน 5 หลัง ส่วนมากเป็นอาคารครึ่งไม้ ทรงไทยมีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 10 เมตร
4. ศาลาการเปรียญ
5. หอสวดมนต์
6. วิหาร
7. ศาลาท่านํ้า

วัดอัมพวา


VDO ถ่ายเมื่อวันอาสาฬหบูชา 15 กรกฎาคม 2554


สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 8 ไร่ พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราลบลุ่มมีซอยต่อเชื่อมระหว่างถนนอิสรภาพกับถนนจรัลสนิทวงศ์ การคมนาคมสะดวก
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา
ทิศใต้ ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร.
ทิศตะวันตกเป็นอาคารบ้านเรือราษฎร
อาคารเสนาสนะ
1. มีอุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 26 เมตร ก่ออิฐถือปูนวิหารกว้าง 7 เมตร ยาว 14.30 เมตรก่ออิฐถือปูน
2. กุฎีสงฆ์จำ นวน 2 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้
3. ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 36 เมตร
4. อาคารคอนกรีต หอระฆัง ฌาปนสถาน
5.ศาลาบำเพ็ญกุศลสุสานสำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานหน้าตักกว้าง4ศอก พระพักตร์มีลักษณะเป็นแบบสมัยอู่ทองพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัฤทธ์ิ4องค์
ภาพเขียนที่บาน ประตูหน้าต่าง เจดยี ์ใหญ่หลังอุโบสถ
ประวัติวัดอัมพวา
วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างแต่เดิมบริเวณนี้เป็นที่สวนวัดตั้งอย ู่ด้านทิศตะวันตกของวังสวนอนันต์ปัจจุบันเป็นที่กองพันที่
1 รักษาพระองค์ กองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณพ.ศ. 2216
การศึกษา ทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจากสำ นักเรียนต่างๆได้ตามอัธยาศัย นอกจากนั้นได้ให้ทางราชการสร้างโรงเรียนขึ้นในที่วัดเป็นการสนับสนุน การศึกษของชาติอีกด้วย

วัดอมรทายิการาม

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 673 ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน โฉนดเลขที่ 1384
อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับที่ดินเลขที่ 307-306-304-313 และทางสาธารณะ
ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินเลขที่ 340-341 และทางสาธารณะทั่ว ๆ ไป ทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินเลขที่ 307-306 และคลอง
ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินเลขที่ 340-313-304 และทางสาธารณะ

พื้นที่ตั้งวัด
เป็นที่ราบลุ่ม มีถนนเข้าออกถึงวัดได้สะดวก อาคารเสนาสนะมี อุโบสถกว้าง
8.90 เมตร ยาว 12.50 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กุฎีสงฆ์จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาการเปรียญกว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร สร้าง พ.ศ. 2518 เป็นอาคาร 2 ชั้น สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ หน้าตัก 35 นิ้ว เจดีย์ขนาดสูง 8 เมตร
ประวัติวัดอมรทายิการาม
วัดอมรทายิการาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2450 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง เดิมมีนามว่าวัดยายมอญ” สันนิษฐานว่า อุบาสิกามีนามว่า “อมร” คงจะเป็นผู้ที่ยกที่ดินให้และดำเนินการสร้างวัดแล้วจึงได้ขนานนามตามนามผู้สร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนนามใหม่เป็นวัดอมรทายิการาม” คงมีความหมายตามนามเดิมซึ่งชาวบ้านยังเรียกขานกันอยู่บ้าง วัดนี้ได้รับพระ
ราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523
การศึกษาทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจาก สำนักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัยเฉพาะในวัดจัดให้มีห้องสมุดสำหรับสาธารณ ชนอีกด้วย

วัดสุทธาวาส


สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 13 คลองวัดทอง ซอยวัดวัดสุทธาวาส แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อถนนหน้าวัด
ทิศใต้ ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับลำคลอง
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองลัดวัดทองซึ่งแยกมาจากคลองบางกอกน้อย มีถนนเข้า
ประวัติความเป็นมา
วัดสุทธาวาส สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 ผู้สร้างวัดบางท่านบอกว่า ท้าวทรงกันดารเป็นผู้สร้าง หรืออีกนัยหนึ่งว่า พระสนมดุสิตหรือเจ้าแม่ดุสิต ที่หลบภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยาครั้นบ้านเรือนสงบปกติสุขดีแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้นและขนานนามตามผู้สร้าง ในระยะแรกๆ นั้นคงจะเป็นเพียงวัดชนิดสำนักสงฆ์และคงจะมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 2330 กาลเวลาผ่านมาเสนาสนะต่างๆ ย่อมชำรุดทรุดโทรมลงมาตามสภาพและได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามลำดับใน สมัยของพระอธิการชื่น เป็นเจ้าอาวาสได้เปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น“วัดสุทธาวาส” และใช้มาตราบเท่าทุกวันนี้การศึกษาทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณร ศึกษาประปริยัติธรรมจากสำนักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัยการศึกษาแผนกสามัญทาง วัดเปิดสอนเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ขณะนี้นักเรียนมีพระภิกษุ 267 รูป สามเณร 649 รูป จัดให้มีการสอนพุทธศาสตร์ภาคฤดูร้อนแบบการเรียนพุทธ ศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เฉพาะปี พ.ศ. 2522 มีนักเรียน 333 คน
อาคารเสนาสนะ
1. อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ ลักษณะทั่วไปเป็นทรงแบบเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีลวดลายสลักสวยงามหน้าบันเป็น ลายเทพพนมลอยออกจากดอกบังสามองค์เรียงกันซุ้มประตูหน้าต่างเป็นแบบสมัย รัชกาลที่1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใบเสมาทำด้วยหินทรายแดงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนกลาง
2. ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตรยาว 21เมตรเป็นอาคาร 2 ชั้น ลักษณะทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์กว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร มีลักษณะเช่นเดียวกับศาลาการเปรียญ
3. กุฎีสงฆ์มีอยู่ 4 หลัง แต่ละหลังมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร บางหลังมีขนาดยาว 21 เมตร เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ลักษณะทรงไทย
4. อาคารเรียนพระปริยัติธรรม 2 หลัง
5. หอประชุม
6. ศาลาบำเพ็ญกุศล 4 หลัง
7. ฌาปนสถาน
8. สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถนามว่า “หลวงพ่อมงคลประสิทธิ์” เป็นพระเก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด ส่วนพระพุทธรูปยืน 6 องค์ ประดิษฐานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องสมัยรัชกาลที่ 4 เจดีย์ 1 องค์ มีพระพุทธรูปเป็นพระประจำวัดอยู่รอบเจดีย์

วัดสีหไกรสร

 สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 489 ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 3 ไร่
พื้นที่ตั้ง วัดเป็นที่ราบลุ่ม มีบ้านเรือน อาคารพาณิชย์และตลาดสดแวดล้อมโดยรอบอยู่ใกล้สี่แยกพรานนกภายใน วัดในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง 7 เมตร ยาว 16.50เมตร เป็นอาคารคอนกรีต มีกำ แพงล้อมล้อม กุฎีสงฆ์ จำ นวน 10 หลัง สร้างด้วยไม้ศาลาการเปรียญกว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างด้วยคอนกรีต หอระฆังสูง 8 เมตร
ประวัติวัดสีหไกรสร
วัดสีหไกสร สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2310 มีนามว่า “วัดช่องลม” ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น“วัดสีหไกสร” เมื่อ พ.ศ. 2512 และวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2310เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 16 เมตร ยาว 22 เมตร
**** สาเหตุที่เรียกว่าวัดช่องลม เพราะลักษณะที่ตั้งของวัดตั้งอยู่ในเขตช่องลม จึงเรียกว่าวัดช่องมาตั้งแต่นั้นเจ้าอาวาสผู้ครองวัดนี้มีนามว่าพระครูประสิทธิวิมล

วัดลครทำ

ตั้งอยู่เลขที่ 156 ถนนอิสรภาพ41 แขวงบ้านช่างหล่อ เขต 1 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย 10700

อาณาเขต
ทิศเหนือยาว 45.60 วา ติดต่อกับทางสาธารณะ
ทิศใต้ยาว 45.60 วา ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศตะวันออกยาว 32.91 วา ติดต่อกับทางสาธารณะมีกำแพงวัดกั้นเขต
ทิศตะวันตกยาว 32.91 วา ติดต่อกับถนนอิสรภาพ ที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 96 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1685,19051


พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ใกล้สี่แยกพรานนก มีถนนอิสรภาพผ่านหน้าวัดทางทิศตะวันตก การคมนาคมสะดวก สภาพสิ่งแวดล้อมมีอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ และตลาดสด โดยรอบ ๆ บริเวณวัดอาคารเสนาสนะมี อุโบสถ กว้าง 7.70 เมตร ยาว 19 เมตร สร้าง พ.ศ. 2513 โครงสร้างคอนกรีตเสริม เหล็ก มีช่อฟ้า 5 ตัว ด้านหน้า 3 ตัว หลัง 2 ตัว มีกำ แพงแก้วล้อมรอบ กุฎีสงฆ์จำนวน 3 หลังเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น หนึ่งหลัง และกุฎิเจ้าอาวาสคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น กุฎิพระภิกษุสามเณร คอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 20.50 อุโบสถ กว้าง 12 เมตร ยาว 19 เมตร พระประธานประจำอุโบสถ หน้าตัก 69 นิ้ว พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้าย-ขวา ส่วนเจดีย์นั้นแต่เดิมได้มีเจดีย์นอน 2 องค์ันฐานเข้าหากันยอดหันไปทางทิศเหนือและใต้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตารามได้มาสร้างไว้ ปัจจุบันหมดสภาพไปแล้ว

วัดลครทำ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2394 ในรัชกาลที่ 2 โดยมี นายบุญยัง นายโรงคณะละครนอกเป็นผู้สร้าง จึงได้มีนามว่า “วัดลครทำ” วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งหลังเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2513 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2513 ในพิธีดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดลูกนิมิตด้วย การศึกษาทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจากสำ นักเรียนอื่นได้ตามอัธยาศัย

เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบมี 3 รูป คือ

รูปที่ 1 พระมหาลาภ ขตฺตปุณฺโณ พ.ศ.2501-2514

รูปที่ 2 พระครูวิสิฐธรรมคุณ (กระจ่าง ปาสาทิโก) อายุ 81 ปี ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนถึงพ.ศ. 2550

รูปที่ 3 พระครูธรรมธรสุทัศน์ ฐานนนฺโท ปี 2550 – ปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมและทรงตัดลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดลครทำ ธนบุรี (ปัจจุับัน กรุงเทพมหานคร) เมื่อ วันศุกร์ ที่ ๑๓ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ 










ข้อมูลจากเว็บลครทำดอทคอม 

วัดยางสุทธาราม


วัดยางสุทธาราม
วัดราษฏร์

   วัดยางสุทธาราม เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง แต่จะสร้างขึ้นในสมัยใดใครเป็นผู้สร้าง ยังหาหลักฐานไม่พบจะขอนำเอาข้อความในหนังสือพระราชวิจารณ์ในจดหมายเหตุตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระเจ้าตากมาตั้งกรุงธนบุรี เฉพาะเกี่ยวกับวัดนี้ฯ
ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้วพระเจ้าตากมาตั้งเมืองธนบุรี...จุลศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลู ตรีนิศก เวลาสามโมงเช้า ทรงบรรพชาฯ ๔ ทรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปี กับ ๔ เดือน ทรงผนวชวันที่ ๔ ฯ พระยาสรรค์รักษาเมืองไว้ เจ้ารามลักษณ์สู้แต่ผู้เดียวโดยโมหาร เหลือแต่กำลังแตกหนีไปอยู่วัดยาง พระวังหลังติดตามจับได้ฯ
หลักฐานบางประการแต่ไม่มีข้อยืนยัน ว่ากันว่า วัดยางสร้างในสมัยกรุงธนบุรี โดยมีสามกรมเป็นผู้สร้าง ประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๓ ข้อสังเกตบางประการพอที่จะสรุปได้ว่า วัดยางสุทธารามสร้างในสมัยกรุงธนบุรีก็คือ รูปทรงของโบสถ์มหาอุตม์ พิจารณาให้ดีจะมีรูปแบบที่คล้ายกับศาลเจ้าคือ มีประตูหน้าไม่มีประตูหลัง อีกทั้งไม่มีช่อฟ้าใบระกาหงส์ ศิลปะลายปูนปั้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นศิลปะร่วมสมัยที่มีทั้ง ไทย จีน และฝรั่ง ผสมผสานกัน ศิลปะแบบนี้นิยมทำกันในช่วงสมัยปลายอยุธยา โบสถ์แบบมหาอุตม์ สันนิษฐานว่าผู้สร้างเป็นพี่น้องชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ชักชวนกันก่อสร้างเพื่อเป็นการเสริมบุญบารมีของพระเจ้าตากสินมหาราชฯ
พระประธานในโบสถ์เก่า หรือวิหารในปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นหน้าตักกว่าประมาณ ๖๙ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่แปลกคือ นิ้วหัวแม่มือไม่จรดติดกัน นิ้วหัวแม่มือขวาจะอยู่สูงกว่าหัวแม่มือซ้าย พระพักตร์อิ่มมีรอยยิ้มที่ประทับใจแก่ผู้มาถวายสักการบูชาหลวงพ่อ การที่จะเห็นรอยยิ้มที่ประทับใจในองค์หลวงพ่อนั้น ต้องขอให้ทุกท่านนั่งและเข้ามาให้ใกล้องค์หลวงพ่อมากที่สุด ถ้ายืนหรือนั่งอยู่ไกลจะสังเกตเห็นว่า พระพักตร์ของหลวงพ่อจะเคร่งขรึมค่อนข้างบึ้งตึง
" หลวงพ่อ" มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หลวงพ่อโบสถ์เก่า หลวงพ่อดำ หรือหลวงพ่อใหญ่ ในปัจจุบันเรียกชื่อท่านว่า " หลวงพ่อใหญ่" ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อรับรู้กันในเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับวัด ที่ห่างวัดยังไม่ค่อยมีคนทราบถึงความศักดิ์ของหลวงพ่อ ทั้งนี้ เพราะขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และไม่ได้มีการเปิดวิหาร ให้สาธุชนทั่วไป ได้เข้าถวายสักการะ ฯ
จากเว็บไซต์ธรรมะไทย