โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ปี 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคอมมิตตี เพื่อจัดการตั้งโรงพยาบาลสำหรับพระนครขึ้น ณ บริเวณวังหลัง ทางฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนแรกเริ่มในการก่อสร้าง
ได้มีการจัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง โดยรักษาทั้งแผนปัจจุนันและแผนโบราณ ชาวบ้านทั่วไปเรียกโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า "โรงพยาบาลวังหลัง" ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า "โรงศิริราชพยาบาล"
แล้วจากนั้น เนื่องจากความต้องการแพทย์ที่มากขึ้น จึงได้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น และเริ่มเปิดสอนเมื่อ 5 กันยายน 2433 และได้มีการตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์แห่งนี้ว่า "โรงเรียนแพทยากร" โดยมีการเรียนการสอนเป็นเวลา 3 ปี เปิดสอนทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ราชแพทยาลัย"
ในปี พ.ศ.2446 ได้ขยายหลักสูตรเป็น 4 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2450 ได้รวมแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน และได้มีการขยายหลักสูตรเป็น 5 ปี ในระยะที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นไชยนาทนเรนทรทรงเป็นผู้บัญชาการราชแพทยากร ในรัชสมัยของร.6 ได้มีการประกาศให้รวมราชแพทยาลัยเข้าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนนามเป็น "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ในปี พ.ศ.2460 ต่อมาในปี พ.ศ.2461 ได้เปลี่ยนเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" และขยายหลักสูตรเป็น 6 ปี
ได้มีการเจรจากับมูลนิธิร๊อกกิเฟลเลอร์ ในปี 2464 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศสมเด้จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์เป็นผู้แทนฝ่ายไทย ในที่สุดมูลนิธิร๊อกกิเฟลเลอร์ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งการศึกษาแพทย์ เตรียมแพทย์ และพยาบาล พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกมีหลายประการและปรากฎผลสำเร็จดียิ่ง จนทำให้บุคคลทางการแพทย์ สาธารณสุข และประชาชนทั่วไปถือว่าพระองค์เป็น "องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
ในปี 2485 ได้มีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ซึ่งประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่แยกออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใช้พระนามาภิไธย "มหิดล" และคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ได้รับชื่อใหม่ว่า "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น