วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กำแพงวังหลัง

จากวัดระฆังเดินเลี้ยว ซ้ายไปตามซอยที่จะตรงไปทะลุออกโรงพยาบาลศิริราชซอยดังกล่าวไม่กว้างมากแต่ก็ พอให้รถยนต์คันเล็ก ๆ แล่นผ่านไปได้ แต่ถ้าสวนกันคงลำบาก เลยเขตวัดระฆังไปสักเล็กน้อยจะพบบ้านหลังหนึ่งสร้างแบบสมัยใหม่ สวยงาม แต่ความแปลกของบ้านหลังนี้อยู่ที่กำแพงก่อด้วยอิฐแดงเก่า ๆ หน้าบ้าน กำแพงนั้นยาวประมาณ 10 เมตร แถวบ้านหลังนั้นตั้งอยู่เขาเรียก " ตำบลวังหลัง" ตำบลวังหลังเกี่ยวกับบ้านหลังนั้นอย่างไร เราค้นได้จากเรื่อง " บันทึกวังหลัง" นามผู้เขียนคือ "บัลลพ " "บัลลพ" เขียนไว้ในเรื่องดังกล่าวว่า สมัยกรุงศรีอยุธยากำลังจะแตก เสียแกพม่าครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2310 นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิมทองด้วง) กับพระราชวงศ์ พากันอพยพหนีลงมายังกรุงธนบุรีเข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงมีพระพี่นางสองพระองค์ พระเชษฐาหนึ่งพระองค์ พระอนุชาหนึ่งพระองค์ ที่ทรงร่วมพระชนก ชนนีเดียวกัน ตำหนักที่ประทับของพระองค์ท่าน แต่เดิมอยู่ใต้วัดระฆังไปเล็กน้อย สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่เสด็จไปประทับเหนือวัดระฆังไปหน่อย เรียกว่า ตำบลบ้านปูน ทรงทำสวนมังคุดลิ้นจี่ สมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อยเสด็จไปจอดแพค้าขายที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ส่วนพระเชษฐาและพระอนุชาตอนนั้นไป่แจ้งว่าประทับอยู่ที่ไหน ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระองค์ก็โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยอภัย พระราชนัดดา ซึ่งเป็นโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จพระพี่นาง เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์ ต่อมาทรงเห็นว่าพระยศยังไม่สมควรแก่ความชอบที่ได้ทรงร่วมทัพจับศึก ร่วมความลำบากยากเข็ญในการกู่ชาติมาด้วยกันดังนั้นหลังจากที่เจ้าฟ้ากรมหลวง อนุรักษ์เทเวศร์ได้เสด็จกลัลจากการไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองนครสวรรค์ ซึ่งพม่ายกเข้ามาถึง 9 ทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข กรมพระราชวัง กรมพระราชวังหลัง คงประทับอยู่ที่วังสวนลิ้นจี่ พระอนุชาองค์อื่น ๆ ก็มีพระตำหนักที่ประทับอยู่ในบริเวณสวนมังคุดที่บ้านปูนนั้นแหละ สำหรับพระชนนีและพระน้องนางนั้น เสด็จเข้าประทับในวังหลวง (พระบรมมหาราชวัง) เพื่อทรงช่วยราชการในวังหลวง พระนิเวศน์ที่กรมพระราชวังหลังประทับในสมัยนั้น คงจะไม้ได้สร้างเป็นประสาทราชมณเฑียรใหญ่โตเหมือนกับ " วังหน้า" คงสร้างเป็นที่ประทับธรรมดา ๆ กรมพระราชวังหน้าระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น คือสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(พระนามเดิมบุญมา) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชทรงโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น กรมพระราชวังหน้า ก่อนหน้ากรมพระราชวังหลัง 3 ปี
wpe1E.jpg (21779 bytes)
วังหน้าประทับอยู่ใกล้กับวังหลวงต่อไปทางด้านเหนือริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยไปจนจรดบางลำพู กรมพระราชวังหลังทิวงคต พ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหน้าสวรรคต 3 ปี ต่อจากนั้นก็มิได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายพระองค์ใดทรงเป็นกรมพระราชวังหลังอีก คงมีแต่พระองค์เดียวเท่านั้น ส่วนกรมพระราชวังหน้ามีถึง 6 พระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นองค์สุดท้าย พระโอรส พระธิดา และเชื้อพระวงศ์ของกรมพระราชวังหลัง ก็ทรงประทับอยู่ที่วังหลังนั้น จากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่าเจ้านายวังหลังทรงเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบมาตั้งแต่สมัยกรุงธนจน ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นอกจากจะทรงเก่งกล้าใสการรบแล้วยังทรงมีวิชา การทางฝไสยศาสตร์ ทีอาคม และอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีกด้วย มาจนถึงรัชกาลที่ 3 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกสงครามก็ว่างลง เจ้านายวังหลังต่างพลัดพรากแยกย้ายออกไป เสด็จออกต่างจังหวัดบ้าง เข้าวัดบ้าง ที่เสด็จเข้าวัดก็มีอยู่พระองค์หนึ่ง ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ต่อจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรสี) คือ หม่อมเจ้าทัด เสนีย์วงศ์ ได้ทรงเป็นสมเด็จประพุฒาจารย์เหมือนกัน เมื่อแยกกันออกไป วังหลังก็หมดสิ้นผู้สามารถปกครองไว้ได้ มีแต่ทรุดโทรมลง เมื่อ พ.ศ. 2372 เจ้าฟ้าขุนอิศรานุรักษ์พระโอรสพระองค์เล็กของสมเด็จพระพี่นาง เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ได้ทรงซื้อทางด้านสวนมังคุด แล้วทรงย้ายจากวังเดิมที่อยู่ที่เตียน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ น็น พระราชทานให้ทรงไปปลูกวังวังใหม่ที่สวนมังคุด ทรงประทับอยู่ได้เพียงปีเดียวก็ประชวรพระยอดที่ประปฤษฎางค์สิ้นพระชนม์ พรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชุอุ่ม อิศรางกูร) พระโอรสพระองค์ใหญ่ ทรงครอบครองวังต่อมา คนทั้งหลายเรียกวังตรงสวนมังคุดว่า " วังกรมเทวา" เมื่อกรมหมื่นเทวารักษ์ สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ 4 หม่อมเจ้าในกรมขุนอิศรานุรักษ์และเชื้อสายก็อยู่กันต่อมา บริเวณที่เป็นสวนลิ้นจี่ สวนนมมังคุด และบ้านปูน คนเลยเรียกรวมกันว่า " วังหลัง"มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนทางสวนลิ้นจี่ บ้านปูน ที่อยู่เหนือขึ้นไปนั้น ได้กลายเป็น วังร้าง ยิ่งขึ้น จะเนื่องจากการซื้อขายเปลี่ยนมือประการใดไม่ทราบชัด ตรงที่ต่อจากสวนมังคุดไปส่วนหนึ่งก็ได้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสตรี ชื่อว่า " โรงเรียนกุลสตีวังหลัง" โดย แหม่มแฮร์เรียต เอม เอ้าส์ เป็นผู้สร้างขึ้น สมัยนั้นขาวบ้านมักจะเรียกว่า " โรงเรียนแหม่มโคล์" ต่อมาโรงเรียนนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่ซอยวัฒนา ถนน สุขุมวิท แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า " โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย " ถัดโรงเรียนกุลสตีวังหลังไปทางเหนือก็ยังเป็นที่รกร้างอยู่ เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ศิริราชกุธภัณฑ์ พระราชโอรสองค์ที่ 53 ลำดับที่ 5 ในสมเด็จพระศรีพัชรินททราบรมราชินีนาถ ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงแบ่งวังหลังไปสร้างเป็นโรงพยาบาลศิริราช ให้เป็นอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ส่วนที่ทางเหนือสุดจรดลำคลอง บางกอกน้อยก็เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสายใต้ เรียกว่าสถานีรถไฟบางกอกน้อย มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ราชสกุลที่สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากกรมพระราชวังหลัง มีอยู่สองราชสกุล คือ ปาละกวงศ์ และเสนีย์วงศ์ แต่เท่าที่ทราบมาทั้งสองราชสกุลนี้มิได้รวมกันอยู่แถวนั้น คงกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่น ๆ หมด ยังมีราชสกุลที่ยังคงเหลืออยู่ในในบริเวณนั้นตลอดมาแต่ก็ไม่มากนัก คือ ราชสกุล อิศรางกูร ซื่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ที่พูดอย่างสามัญชนก็นเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ปัจจุบันบริเวณนั้นเป็น บ้านเรือน ร้านค้า ของผู้คนมากมายหนาแน่น พลุกพล่าน เพราะใกล้กับโรงพยาบาล จะมีใครรู้บ้างว่าครั้งหนึ่งเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว ที่บริเวณทั้งหมดนั้น เคยเป็นเขตที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศ์ กรมพระราชวังหลัง ในรัชกาลที่ 1 ที่มีพระราชอำนาจเป็นที่สาม รองลงมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระมหาอุปราช กรมพระราชวังหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น