วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

สถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย)

                เรียกอีกชื่อว่าสถานีรถไฟบางกอกน้อยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ เมื่อ พ..2443 บริเวณปากคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นที่ดินเวนคืนจากชาวมุสลิมโดยพระองค์ได้พระราชทานที่ดินฝั่งตรงกันข้าม พร้อมกับสร้างมัสยิด  อันซอริซซุนนะห์  มัสยิดหลวง )  ให้เป็นการทดแทน
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิด   “สถานีรถไฟธนบุรี” ในวันที่  19 มิถุนายน 2446เปิดเดินรถวันที่ เมษายน 2446   บริเวณริมคลองบางกอกน้อย  อันเป็นเส้นทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์รวมของผู้คนที่จะเดินทางออกจากเมืองหลวง โดยอาศัยเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้าม )
                ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ญี่ปุ่นได้ใช้สถานีรถไฟเป็นฐานที่มั่นสำหรับขนส่งยุทธปัจจัยไปจังหวัดกาญจนบุรีและเป็นแหล่งบัญชาการสงครามในภูมิภาคนี้เพื่อโจมตีพม่า     มาเลเซียและสิงคโปร์  ญี่ปุ่นอาศัยรถไฟเป็นเส้นทางลำเลียงของกองทัพ  สถานีรถไฟธนบุรีจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ใน  การโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนอาคารต่างๆ ถูกทำลายหมดสิ้น  ต่อมาในสมัยจอมพล ปพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี  ได้ทำการปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยคงรูปแบบเดิมไว้และให้มีการเดินรถไฟ จากสถานีไปยัง  สมุทรสาคร นครปฐม หัวหิน และกาญจนบุรีตัวอาคารสถานีปัจจุบันได้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.. 2493 
                ที่ตั้ง                ทิศเหนือ  จรดคลองบางกอกน้อย
                                                ทิศตะวันตก           พื้นที่รางรถไฟ
                                                ทิศตะวันออก         จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
                                                ทิศใต้      ติดโรงพยาบาลศิริราชและตลาดบางกอกน้อย
ปัจจุบันสถานีรถไฟธนบุรีแห่งนี้มีขบวนรถให้บริการวันละ 14 ขบวน คือ  
ขบวน 251/252( ธนบุรี – ประจวบฯ – ธนบุรี 
253/254 ( ธนบุรี – หลังสวน – ธนบุรี 
255/256 ( ธนบุรี – หลังสวน – ธนบุรี )
257/258 ( ธนบุรี น้ำตก – ธนบุรี )
259/260 ( ธนบุรี – น้ำตก – ธนบุรี 
351/352 ( ธนบุรี – ราชบุรี – ธนบุรี 
353/354 ( ธนบุรี – นครปฐม –   ธนบุรี 
วันที่ กรกฎาคม พ.. 2442  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายใต้ ขนาดกว้าง เมตรจากปากคลองบางกอกน้อย – เพชรบุรี ระยะทาง 150 กิโลเมตร  และเปิดเดินรถได้เมื่อ 19 มิถุนายน   .. 2446
                ปัจจุบันการรถไฟฯ  ได้จัดเก็บและบำรุงรักษารถจักรไอน้ำเพื่อใช้ลากจูงขบวนรถในวันสำคัญต่างๆ  จำนวน    5 คัน  จัดเก็บไว้ที่โรงรถจักรธนบุรี  โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ  สารวัตรงานรถจักร  ธนบุรี ดังนี้
1.  รถจักรไอน้ำ ซี 56 การรถไฟฯ สั่งมาใช้การ 46 คัน  หมายเลข 701 – 746  ปัจจุบันเหลือการใช้งาน คัน หมายเลข 713,715 ใช้ฟืนเป็น เชื้อเพลิงแบบล้อ2–6–0 ( ล้อนำ ล้อกำลัง ล้อตาม 0 )  สร้างในประเทศญี่ปุ่นนำมาใช้การเมื่อ พ.. 2489  ใช้วิ่งในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จงหวัด กาญจนบุรี ซึ่งจัดงานประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน
 โรงรถจักรธนบุรี
                วันที่ 26 มีนาคม พ.. 2439  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเปิดเดินรถไฟครั้งแรก ระหว่าง กรุงเทพฯ – อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตรเดือนธันวาคม ของทุกปี  และใช้วิ่งในการถ่ายทำภาพยนตร์ตามที่ขอเช่า
1. รถจักรไอน้ำแปซิฟิก ( PACIFIC ) การรถไฟฯ สั่งมาใช้การจำนวน 30 คัน  รุ่นหมายเลข 821 – 850  ปัจจุบันมีเหลือใช้การ คัน      หมายเลข 824 , 850  เดิมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง  ภายหลังการรถไฟฯ ดัดแปลงใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง  แบบล้อ 4 – 6 – 2  ( ล้อนำ ล้อกำลัง ล้อตาม 2 ) สร้างโดย สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น  นำมาใช้การเมื่อปี พ.. 2492 – 2494
2.รถจักรไอน้ำมิกาโด ( MIKADO ) การรถไฟฯ สั่งมาใช้การจำนวน 70 คันหมายเลข 901 – 970  ปัจจุบันมีเหลือใช้การ คัน หมายเลข 953  เดิมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงภายหลังการรถไฟฯ ดัดแปลงใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง แบบล้อ 2 – 8 – 2 ( ล้อนำ ล้อกำลัง ล้อตาม 2 )  สร้างโดยสมาคม      อุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การเมื่อปี พ.. 2492 – 2494
 
รถจักรไอน้ำแปซิฟิก และ มิกาโด  ใช้วิ่งทำขบวนพิเศษโดยสารในวันสำคัญต่างๆ ดังนี้
วิ่งทำขบวนทุกวันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี  เนื่องในวันสถาปนากิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย  โดยวิ่งทำขบวนจากสถานีกรุงเทพฯ หัวลำโพง ) – สถานีอยุธยา  ไปและกลับโดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปซื้อตั๋วรถไฟนั่งเที่ยวย้อนอดีตโดยใช้รถพ่วง 10 คัน
-  วิ่งทำขบวนทุกวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเนื่องในวันปิยมหาราช  โดยวิ่งระหว่าง กรุงเทพ – อยุธยา
         - วิ่งทำขบวนทุกวันที่ ธันวาคม ของทุกปี  เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยวิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ – อยุธยา
-  วิ่งทำขบวนพิเศษต่างๆ ตามที่มีผู้ขอเช่า เช่น ถ่ายทำภาพยนตร์การรถไฟฯ ได้ทำการจัดซื้อรถจักรดีเซล     มาใช้การครั้งแรก เมื่อปี พ.. 2471จำนวน คัน  ยี่ห้อ ซุลเลอร์ 180 แรงม้า  ผลิตในประเทศ  สวิสเซอร์แลนด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น