วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
อาณาเขตที่ดินตั้งวัด ทิศเหนือติดต่อกับดรงเรียนสุภัทรา ทิศใต้ติดต่อกับคลองวัดระฆัง และเขตทหากรมอู่ทหารเรือ ทิศตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาและทิศตะวันตกติดต่อกับถนนอรุณอัมรินทร์
ลักษณะพื้นที่ดินตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกับท่าช้าง วังหลวง และ พระบรมมหาราชวัง ภายในบริเวณวัดได้แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตจัดประโยชน์ และเขตสาธารณสงเคราะห์ วัดนี้มาการคมนาคมติดต่อได้ 2 ทาง คือ ทางน้ำมีเรือข้ามฟากจากท่าช้างวังหลวงไปยังท่าวัดระฆัง และทางบกมีซอยวัดระฆังแยกจากถนนอรุณอัมรินทร์
อาณาเขตที่ดินตั้งวัด ทิศเหนือติดต่อกับดรงเรียนสุภัทรา ทิศใต้ติดต่อกับคลองวัดระฆัง และเขตทหากรมอู่ทหารเรือ ทิศตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาและทิศตะวันตกติดต่อกับถนนอรุณอัมรินทร์
ลักษณะพื้นที่ดินตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกับท่าช้าง วังหลวง และ พระบรมมหาราชวัง ภายในบริเวณวัดได้แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตจัดประโยชน์ และเขตสาธารณสงเคราะห์ วัดนี้มาการคมนาคมติดต่อได้ 2 ทาง คือ ทางน้ำมีเรือข้ามฟากจากท่าช้างวังหลวงไปยังท่าวัดระฆัง และทางบกมีซอยวัดระฆังแยกจากถนนอรุณอัมรินทร์
ประวัติความเป็นมา
เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์ แล้วยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และ โปรดฯ ให้มีการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดนี้ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้พระสงฆ์วัดบางหว้าใหญ่เข้ารับบิณฑบาตในพระราชวัง ผลัดเวรกับพระสงฆ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ในรัชกาลนี้ได้มีการขุดพบระฆังที่มีเสียงไพเราะกังวาน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงทรงขอไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรงบริเวณที่ขุดพบระฆังโปรดฯ ให้ขุดเป็นสระน้ำ เพื่อประดิษฐานหอไตร หอไตรนี้เดิมคือพระตำหนักและหอนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อครั้งรับราชการเป็นพระราชวรินทร์ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ป้จจุบันหอไตรหลังนี้ ได้ถูกรื้อย้ายไปปลูกใหม่บริเวณกำแพงแก้ว ตรงด้านหลังพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก
สิ่งสำคัญภายในวัด และ ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
- พระอุโบสถ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นแทนพระอุโบสถหลังเก่า มีลักษระโดยเฉพาะมุขทางด้านหน้าและหลัง ทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว หน้าบันจำหลักลายทำซุ้มหน้าต่างสองซุ้มแทนแผงแลคอสองเป็นขบวน
- พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระดำรัสที่กล่าวถึงพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆัง ซึ่งเป็นพระหล่อประทับนั่งปางสมาธิกั้นด้วยเศวตฉัตร 9 ชั่น เดิมเป็นฉัตรกั้นเมรุของรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ขอให้นำไปถวายประธานวัดระฆังฯ เมื่อ พ.ศ. 2352 ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่นเศวตฉัตรจากผ้าตามขาวมาเป็นผ้าขาวลายฉลุปิดทองโดยใช้โคลงของเก่า และมีการเปลี่ยนผ้าอีกครั้งใน พ.ศ. 2504 โดยรัชกาลปัจจุบัน
- ใบเสมาวัดระฆัง มีอยู่ 2 อัน ซ้อน
- จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ ภาพชุดนรก และภาพทศชาติ ซึ่งเขียนโดยพระวรรณวาดวิจิตร์ (ทอง จารุวิจิตร์) เมื่อ พ.ศ. 2465
- หอระฆังจตุรมุข รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพร้อมระฆัง 5 ลูก พระราชทานแทนระฆังที่ทรงขอไปไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- พระปรางค์ใหญ่ รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมพระกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ สมเด็จกรมพระยาเทพสุดาวดี
- เจดีย์เจ้าสามกรม คือพระเจดีย์นราเทเวศร์ พระเจดีย์นเรศร์โยธี และพระเจดีย์เสนีย์บริรักษ์ เป็นพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ 3 อง๕ื สร้างเรียงกันอยุ่ภายในบริเวณกำแพงแก้ว ด้านทิศเหนือ สร้างโดยกรมหมื่นนราเทเวศร์ หรมหมื่นนเรศร์โยธี และ กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
- พระวิหารเดิมเป้นพระอุโบสถเก่าของวัดบางหว้าใหญ่
- ศาลาการเปรียญ เดิมเป็นศาลาการเปรียญสำหรับแสดงธรรม ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ฝึกกรรมบานของแม่ชีและอุบาสิกา ภายในมีพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ
- ตำหนักทอง รัชกาลที่ 1 ทรงรื้อตำหนักทองอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังเดิมมาปลูกที่วัดระฆังทางด้านใต้ของพระอุโบสถ ทรงอุทิศเป็นสังฆบูชา ถวายให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชสี
- ตำหนักแดง กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษเทเวศร์ พระนามเดิมว่า "ทองอิน" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระยาเทพสุดาวดี ทรงถวาย ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของพระอุโบสถหลังใหม่ ฝารูปสกลกว้างประมาณ 4 วาเศษ ระเบียงกว้างประมาณ 1 วา 2 ศอก ยาวประมาณ 8 วาเศษ ฝาประจันห้อง เขียนรูปภาพอสุภต่าง ๆ ชนิดมีภาพพระภิกษุเจริญอศุภกรรมฐาน เดิมเป็นที่ประทับทรงกรรมฐานของพระเจ้ากรุงธนบุรี
- ตำหนักเก๋ง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 อยู่ทางทิศใต้ของวัด ปัจจุบันเหลือแต่รากฐานใต้ดิน ตำหนักนี้พระองค์ใช้ประทับขณะผนวช
- พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช(สี) ภายในประดิษฐานพระรูปพระศรีอาริย์ เป็นที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราช(สี) พระรูปองค์นี้เดิมประดิษฐานอยู่บนมุขพระปรางค์ทิศตะวันออก
- พระวิหารสมเด็จ ภายในประดิษฐานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระพุทธาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนียวงศ์) และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)
- หอพระไตรปิฏก เดิมสร้างอยุ่กลางสระด้านหลังพระอุโบสถ ปัจตจุบันทางวัดได้ย้ายเข้ามาปลูกไว้ใหม่ ภายในบริเวณกำแพงเก้วพระอุโบสถ โดยสร้างอยู่ทางด้านหลัง ด้านทิศตะวันตกสร้างเป็นสมหลังแฝด เดิมเป็นพระตำหนักของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแต่ครั้งยังรับราชการอยู่กรุงธนบุรี รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้รื้อพระตำหนักเดิมและหอประทับนั่งมาเป็นหอพระไตรปิฏกถวายวัดระฆัง หอพระไตรปิฏกนี้ปลูกสามหลักแฝดเรียงกัน มีระเบียงอยุ่ทางด้านหน้าไขราปีกนก มีทวยรับชั้นหลังคา หอไตรนี้แต่เดิมปลูกเป็นตำหนักที่ประทับนั้นคงจะมีทั้งเรือนนอก เรือนขวางหรือเรือนรี และหอหน้าหรือหอนั่ง มีชานกลางถึงกันโดยตลอด ในสมัยเดิมฝ่าที่ใช้คงเป็นฝาสำหรวด หลังคาคงจะมุงจาก ครั้งเมื่อรื้อมาสร้างเป็นหอพระไตรหิฏก คงจะตัดเรือนนอกออกโดยยุบเอาเรือนขวางสองด้าน ปลูกขนานกันและเอาหอหน้าหรือเรือพะไลใส่กลางโดยตัดพะไลออก เรือนหลังกลางหลังคาจึงยกสูงกว่าเรือนข้างสองหลัง เมื่อเปลี่ยนเป็นหอพระไตรปิฏก หลังคาที่มุงจากเปลี่ยนเป็นกระเบื้องแบบธรรมดา มีกระจังเชิงชายที่ชายคา หน้าบันเป็นหน้าบันชนิดลูกฟักธรรมดามีทวยจำหลักเป็นพญานาครับไขราปีกนก หลังคาหน้าต่างมีหย่องลูกแก้วทำเป็นพนักกรง ฝาผนังทางด้านนอกทางสีดินแดง ส่วนภายในเขียนภาพสีฝีมืออาจารย์นาคเป็นภาพชีวิตประจำวันของคนสมัยนั้น
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น