เดิมเรียกอู่เรือพระราชพิธี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อใช้เก็บเรือพระที่นั่งและเรือรบ แต่ปัจจุบันใช้เก็บเรือในพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เดิมอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรือได้รับความเสียหายมาก และในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมดูแลรักษา บรรดาเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีเหล่านี้เป็นเรือที่มีประวัติสำคัญมาแต่โบราณ ที่ยังคงความสวยงามในฝีมือช่างอันล้ำเลิศ และทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม ประการสำคัญยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่าง ๆ สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน กรมศิลปกรเล็กเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะของอูเก็บเรือขึ้นเป็ฯ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี" ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2517 เป็นต้นมา จัดแสดงเรือพระราชพิธี ศิลปโบราณวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ประกอบในพระราชพิธีชลมารคเพิ่มเติม เพื่อเปิดบริการแก่ผู้เข้าชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ชื่นชมความงาม และศึคกษาเรื่องราวของเรือพระราชพิธีได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
เรือที่เก็บอยู่ในโรงเรือพระราชพิธีนี้ ได้แก่
1. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4)
2. เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5)
3. เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
4. เรือครุฑเหิรเห็จ
5. เรือพาลีรั้งทวีป
6. เรือสุครีพครองเมือง
7. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงษ์ (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6)
8. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือลำล่าสุดที่กองทัพเรือน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
เนื่องจากบริเวณและพื้นที่ของพิฑภัณฑสถานแห่งชา่ติเรือพระราชพิธีแห่งนี้ มีอยู่น้อยและจำกัดมาก สามารถจัดแสดงเรือพระราชพิธีได้เพียง 8 ลำเท่านั้น อีก 5 ลำได้นำไปฝากไว้ที่ท่าวาสุกรี และอีก 38 ลำเก็บรักษาไว้ที่กองเรือเล็ก แผนกเรือพระราชพิธี กองทัพเรือ บริเวณสะพานอรุณอมรินทร์ด้านทิศตะวันตก โดยมีกองทัพเรือเป็นผู้ดูแล
เรือพระราชพิธี
เรือพระราชพิธีนั้น หมายถึง เรือสำหรับใช้ในการประกอบพระราชพิธีชลมารค หรือที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค ถือเป็นพระราชประเพณีดั้งเดิม สืบเนื่องมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งก็คือ การจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงครามนั่นเอง ซึ่งการรบทางน้ำในสมัยโบราณนั้นส่วนใหญ่รบกันทางทะเลหรือแม่น้ำ ดังนั้น เรือที่ใช้ในการราบการสงครามจึงต้องมีขนาดใหญ่และยาว เพื่อบรรจุพลรบได้คราวละมาก ๆ แต่ถ้าในยามปรกติแล้ว ในหน้าน้ำจะจัดเป็นพระราชพิธีการทอดกฐินตามพระอารามหลวงที่สำคัญ ๆ ที่ตั้งอยู่ริมน้ำ เป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารค ส่วนประชาชนธรรมดาก็ถือเป็นประเพณีกำหนดงานเทศกาลแข่งเรือ
กระบวนพยุหยาตรา คือ กระบวนพระราชพิธีที่องค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น มีกระบวนพิธีซึ่งพิธีหนึ่ง ๆ ก็เป็นเฉพาะการนั้น ๆ ดังนั้น กระบวนพยุหยาตราชลมารค ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ที่จัดเป็นกระบวนโดยทางน้ำ ซึ่งต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ มักจัดขึ้นในโอกาสที่ต้องเสด็จกรีฑาทัพในศึกสงคราม และในโอกาสพระราชพิธี เพื่อเป็นการรวมพลโดยเสด็จครั้งใหญ่ อีกประการหนึ่ง ก็คือ เพื่อเป็นการฝึกพลเรือรบทางน้ำพร้อมไปในการพิธีต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากยามว่างจากสงคราม จะต้องมีการระดมพลเพื่อเตรียมความพร้อมเพรียง และทันต่อการเกิดสงคราม เพราะในสมัยอยุธยานั้น การเตรียมพร้อมด้านกำลังรบ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด กระบวนพยุหยาตรานั้น สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในราว พ.ศ. 2217 รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระราชพิธีที่เนื่องด้วยเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ
1. พระราชพิธีอาสวยุทธ เป็นพระราชพิธีเกี่ยวกับกระบวนเรือรบ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
2. พระราชพิธีไล่เรือ
3. กระบวนเสด็จพยุหยาตราเพชรพวง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนี้ได้มีการใช้เรือรบโบราณประกอบพระราชพิธีแห่แหนทูตชาวตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีอย่างมโหฬาร ซึ่งในสมัยรัชการที่ 4 โปรดฯ ให้จัดเรือเหล่านี้ต้อนรับบรรดาทูตานุทูตที่ปากน้ำสมุทรปราการแห่เข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย อย่างไรก็ตามในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการกล่าวถึงกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งอยุธยาที่สำคัญพระราชพิธีหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นการพระราชพิธีเกี่ยวกับการต้อนรับทูตตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีสมัยต่าง ๆ ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น
4. กระบวนการเสด็จราชดำเนินเลียบพระมหานคร เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชภิเษก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างเรือรบชนิดต่าง ๆ 67 ลำ เพื่อใช้เป็นเรือรบทางแม่น้ำในการยกทัพไปโจมตีข้าศึกโดยเฉพาะพม่าที่ยังคงสงครามติดพันอยู่ และทรงโปรดฯ ให้ใช้เป็นเรือในการประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ดังเช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
5. กระบวนเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราชลมารค (รวมทั้งสถลมารค) เพื่อเสด็จนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยอยุธยา ดังเช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
6. พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน เป็นการพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จพยุหยาตราชลมารคที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน เช่น กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณราชวรารามในปี พ.ศ.2502
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูู่่่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดฯ ให้ฟื้นฟูจารีตประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคกระบวนใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 เป็นต้นมา เหตุที่มีพระราชหฤทัยในการฟื้นฟู ก็ด้วยเสด็จยังโรงเก็บเรือพระราชพิธีที่คลองบางกอกน้อย ทอดพระเนตรเรืออยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะโปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูการเสด็จระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคขึ้น ก็คงไม่เป็นการสิ้นเปลืองอะไรนัก เพราะกำลังคนสามารถใช้ของทหารเรือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายทำขึ้นครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้แรมปี ส่วนประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น เรือพระราชพิธีต่าง ๆ อันสวยงามและทรงคุณค่าในทางศิลปะเหล่านี้ จะได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติที่เราได้กระทำมาแล้วแต่กาลก่อน ให้ดำรงคงอยุ่เป็นที่เชิดหน้าของชาติ เป็นการบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจของคนไทย และยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศด้วย
กระบวนพยุหยาตรา คือ กระบวนพระราชพิธีที่องค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น มีกระบวนพิธีซึ่งพิธีหนึ่ง ๆ ก็เป็นเฉพาะการนั้น ๆ ดังนั้น กระบวนพยุหยาตราชลมารค ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ที่จัดเป็นกระบวนโดยทางน้ำ ซึ่งต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ มักจัดขึ้นในโอกาสที่ต้องเสด็จกรีฑาทัพในศึกสงคราม และในโอกาสพระราชพิธี เพื่อเป็นการรวมพลโดยเสด็จครั้งใหญ่ อีกประการหนึ่ง ก็คือ เพื่อเป็นการฝึกพลเรือรบทางน้ำพร้อมไปในการพิธีต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากยามว่างจากสงคราม จะต้องมีการระดมพลเพื่อเตรียมความพร้อมเพรียง และทันต่อการเกิดสงคราม เพราะในสมัยอยุธยานั้น การเตรียมพร้อมด้านกำลังรบ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด กระบวนพยุหยาตรานั้น สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในราว พ.ศ. 2217 รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระราชพิธีที่เนื่องด้วยเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ
1. พระราชพิธีอาสวยุทธ เป็นพระราชพิธีเกี่ยวกับกระบวนเรือรบ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
2. พระราชพิธีไล่เรือ
3. กระบวนเสด็จพยุหยาตราเพชรพวง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนี้ได้มีการใช้เรือรบโบราณประกอบพระราชพิธีแห่แหนทูตชาวตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีอย่างมโหฬาร ซึ่งในสมัยรัชการที่ 4 โปรดฯ ให้จัดเรือเหล่านี้ต้อนรับบรรดาทูตานุทูตที่ปากน้ำสมุทรปราการแห่เข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย อย่างไรก็ตามในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการกล่าวถึงกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งอยุธยาที่สำคัญพระราชพิธีหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นการพระราชพิธีเกี่ยวกับการต้อนรับทูตตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีสมัยต่าง ๆ ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น
4. กระบวนการเสด็จราชดำเนินเลียบพระมหานคร เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชภิเษก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างเรือรบชนิดต่าง ๆ 67 ลำ เพื่อใช้เป็นเรือรบทางแม่น้ำในการยกทัพไปโจมตีข้าศึกโดยเฉพาะพม่าที่ยังคงสงครามติดพันอยู่ และทรงโปรดฯ ให้ใช้เป็นเรือในการประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ดังเช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
5. กระบวนเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราชลมารค (รวมทั้งสถลมารค) เพื่อเสด็จนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยอยุธยา ดังเช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
6. พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน เป็นการพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จพยุหยาตราชลมารคที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน เช่น กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณราชวรารามในปี พ.ศ.2502
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูู่่่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดฯ ให้ฟื้นฟูจารีตประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคกระบวนใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 เป็นต้นมา เหตุที่มีพระราชหฤทัยในการฟื้นฟู ก็ด้วยเสด็จยังโรงเก็บเรือพระราชพิธีที่คลองบางกอกน้อย ทอดพระเนตรเรืออยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะโปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูการเสด็จระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคขึ้น ก็คงไม่เป็นการสิ้นเปลืองอะไรนัก เพราะกำลังคนสามารถใช้ของทหารเรือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายทำขึ้นครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้แรมปี ส่วนประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น เรือพระราชพิธีต่าง ๆ อันสวยงามและทรงคุณค่าในทางศิลปะเหล่านี้ จะได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติที่เราได้กระทำมาแล้วแต่กาลก่อน ให้ดำรงคงอยุ่เป็นที่เชิดหน้าของชาติ เป็นการบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจของคนไทย และยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศด้วย