วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เส้นทาง วัดระฆัง - วังหลัง





ป็นเส้นทางเดินเท้า หรือจักรยานชมทิวทัศน์ และแวะซื้อสินค้า
รถเมล์สายที่ผ่าน  : 19   57 
เริ่มต้นจากวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน (คลิ๊ก)
มีสถานที่สำคัญ ๆ มากมาย เช่น หอพระไตรปิฏก ซึ่งเดิมเคยเป็นนิวาสสถานของพระราชวรินทร์ ก่อนที่จะทรงครองราชเป็นรัชกาลที่ 1

เมื่อมาเยี่ยมเยือนที่นี่แล้ว จะต้องสั่นระฆัง ซึ่งมีความเชื่อว่า จะทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
และที่จะลืมไม่ได้คือ นมัสการ 3 สมเด็จ ในพระวิหารสมเด็จ ซึ่งภายในประดิษฐานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระพุทธาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนียวงศ์) และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)

อย่าลืมนมัสการพระประธาน ยิ้มรับฟ้า

พระประธานของวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ วัสดุเนื้อทองสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอก ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท กั้นด้วยเศวตฉัตร 9 ชั้น เดิมเป็นฉัตรกั้นพระเมรุของรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ทรงขอให้นำไปถวายพระประธานวัดระฆังฯ เมื่อ พ.ศ.2352
ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเศวตฉัตรจากผ้าตาดขาว มาเป็นผ้าขาวลายฉลุปิดทอง โดยใช้โครงของเก่า และมีการเปลี่ยนผ้าอีกครั้งใน พ.ศ.2504 โดยรัชกาลปัจจุบัน

พระประธานของวัดระฆังโฆสิตาราม องค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก

มีเรื่องเล่าขานสืบมาว่า ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า "ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังฯ พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที"

เมื่อออกจากพระอุโบสถวัดระฆังแล้ว จะทำบุญปล่อยสัตว์ ตามศรัทธา

และเมื่อเดินผ่านลัดเลาะไปยังซอยด้านข้างคณะ 1 ออกจากวัดระฆัง ติดกันจะเป็นโรงละครของเอกชน
ที่มีเอกลักษณ์ และมีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ชื่อว่า ภัทรวดีเธียร์เตอร์
ซึ่งนอกจากจะจัดแสดงละครมากว่า 30 ปีแล้ว ยังเป็นสถานที่ผลิตนักแสดงที่สำคัญแห่งหนึ่ง















เดินลัดเลาะไปตามเส้นทาง เราก็จะพบกับกำแพงวังหลัง (คลิ๊กอ่านประวัติ)






เมื่อผ่านกำแพงวังหลัง เราก็จะพบกับสถานที่จับจ่ายสินค้า บริเวณซอยวังหลัง เรื่อยไปจนถึงท่าน้ำศิริราช
ซึ่งบริเวณนี้ก็จะมีร้านอาหารอร่อย ๆ มากมาย เป็นสถานที่ ๆ ผู้คนออกมาเดินจับจ่ายใช้สอย และเป็นจุดนัดพบที่สำคัญของวัยรุ่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น