วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นิวาสสถานเดิมของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเสิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2

 
นิวาสสถานเดิมของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเสิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2


เป็นที่ทราบกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ประสูติ ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นบ้านของสมเด็จพระราชนนี เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งกรุงธนบุรีแล้ว สมเด็จพระบรมชนกนาถได้เข้ารับราชการอยู่ด้วย และทรงตั้งบ้านเรือนอยู่แถววัดระฆังโฆสิตาราม (หรือวัดบางหว้าใหญ่) ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระชนมายุเพียง 2 ขวบ ก็ทรงประทับกับพระชนกนาถ ณ นิวาสสถานหลังนั้นด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2325 นั้น รัชกาลที่ 2 มีพระชนมายุ 16 พรรษา และได้รับสถาปนาขึ้นทรงกรมเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม(ของกรุงธนบุรี) เจ้าจอมมารดาเรียม (กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระชนนีของรัชกาลที่3) ได้ทำราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ตั้งแต่ยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ (คือยังไม่ได้ทรงกรม) ก็เสด็จประทับอยู่ ณ บ้านหลวงเดิมแถววัดระฆังฯ ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม เจ้าจอมมารดาเรียมก็ตามเสด็จไปด้วย (จากหนังสือบางขุนเทียน ส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทย และกรุงรัตนโกสินทร์ หน้า 145) วัดระฆังโฆสิตาราม นอกจากจะเป็นสถานที่สำคัญที่พระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี เป็นเจ้าอาวาสแล้ว นิวาสสถานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อทรงพระเยาว์ ก็ยังอยู่ถิ่นแถววัดระฆังฯ อีกด้วย ชาวบางกอกน้อยจึงภาคภูมิใจในประวัติอันเก่าแก่นี้

คลองบางกอกน้อย

คลองบางกอกน้อย
พระไชยราชาธิราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดขึ้น

แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม

แม่น้ำเจ้าพระยาหลังการขุดคลองลัด

    แม่น้ำเจ้าพระยาดั้งเดิม กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระอธิบายว่า ลำน้ำเจ้าพระยาเดิมตั้งแต่ปากน้ำเจ้าพระยาเดิมขึ้นมาตามแม่น้ำทุกวันนี้ จนถึงคลองบางกอกใหญ่ (หรือที่เรียกกันว่า คลองบางหลวง) ในระหว่างวัดอรุณ ฯ กับวัดกัลยาณ์ ฯ ที่วัดกัลยาณ์เองเป็นตัวแม่น้ำ ตลิ่งอยู่ที่กุฎีจีน คือศาลเจ้าเจ็กอยู่ติดข้างใต้วัดกัลยาณ์เดี๋ยวนี้ ลำแม่น้ำเดิมเข้าทางบางกอกใหญ่ไปเลี้ยวบางระมาด ตลิ่งชัน วกมาออกคลองบางกอกน้อย ขึ้นทางสามเสน (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น 2505 หน้า 487)
    ประเด็นเกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิมของกรุงเทพ ฯ มีข้อความอธิบายอีกอย่างหนึ่งซึ่งบางทีอาจจะช่วยให้ชัดเจนมากยิ่งขี้น ดังนี้
wpe38.jpg (24353 bytes)

    อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม (รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชามนุษยวิทยาและโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า "ตำบลบางกอก" อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใกล้อ่าวไทย เป็นบริเวณที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเป็นรูปโค้งเกือกม้า (OXBOW LAKE) กล่าวคือเมื่อแม่น้ำไหลมาจากทิศเหนือผ่านเขตจังหวัดนนทบุรี มาถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อย ก็ไหลวกไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นคลองบางกอกน้อย พอถึงบางระมาดก็ไหลวกลงใต้ กลายเป็นคลองบางระมาดมาถึงวัดนวลนรดิศแล้ววกมาทางตะวันออกเป็นคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมาถึงวัดอรุณราชวรารามก็วกไหลเรื่อยลงไปทางทิศใต้จนออกทะเลที่ปากแม่น้ำ
    การที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้านั่นเอง เป็นเหตุให้สองฟากแม่น้ำคดโค้งนี้กลายเป็นที่ดอนขึ้นมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแม่น้ำนำตะกอนจากที่ต่าง ๆ ทางเหนือมาทับถมทุกปีในฤดูน้ำหลาก จึงเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย
    อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายเพิ่มเติมอีกว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชุมชนย่านบางกอกนี้มีความเจริญและพัฒนาขี้นเป็นศูนย์กลางของประเทศได้ ก็เพราะมีลำน้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อทั้งภายในภายนอกได้สะดวก
    ในบรรดาบ้านเมืองสำคัญ ๆ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 ด้วยกันแล้ว จะเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาอันเป็นราชธานีของไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมานี้ จำเป็นต้องอาศัยลำแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการเดินลงเรือจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อจะเข้าไปยังพระนครศรีอยุธยาจึงต้องผ่านชุมชนที่เป็นบ้านเมืองขึ้นไปเป็นระยะ ๆ
    เมื่อเดินทางเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแล้ว ก็จะถึงชุมชนย่านบางกอก เป็นแหล่งพักสินค้าได้ดีที่สุด เพราะเส้นทางน้ำที่จะเดินทางต่อไปไม่สะดวกเนื่องจากลักษณะคดและโค้งของแม่ น้ำเจ้าพระยาเดิมดังกล่าวมาแล้วจะต้องเสียเวลาอีกมากนักเพราะฉะนั้นจึงต้อง จอดพักกันที่ย่านบางกอกกันก่อน ในที่สุดย่านบางกอกก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และชุมชนก็ยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย
    ความสนใจที่พระนครศรีอยุธยามีต่อ บางกอก นั้น มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตรงกันเกือบทุกฉบับว่า.......
    "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านั้น ก็ได้ขุดคลองบางกอกใหญ่ตำบลหนึ่ง" (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ 2515 หน้า 580)
wpe39.jpg (20499 bytes)

    ข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีเพียงเท่านี้เอง ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะมีสาระสำคัญใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่อ่งนี้มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุคดังกล่าวมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความสำคัญต่อฐานะความก้าวหน้าของตำบลบ้านย่านบางกอก
    เพราะนี่คือหลักฐานที่ระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ตรงส่วนที่แคบที่สุด ที่ทุกวันนี้เรียก ปากคลองบางกอกน้อยไปถึงคลองบางกอกใหญ่ และปัจจุบันนี้กลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือหน้าสถานีรถไฟในบางกอกน้อย ไปจนถึงวัดอรุณราชวราราม
    ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิม ที่ย่านย่านบอกกอกก็แคบลง กลายเป็นคลองดังที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า
"คลองบางกอกน้อย" และ "คลองบางกอกใหญ่"
    แม่พระราชพงศาวดารจะระบุปีที่ขุดคลองลัดนี้ว่า "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก" ซึ่งเทียบได้ตรงกับ พ.ศ.2065 แต่จะเอาแน่นอนนักก็ไม่ได้ เพราะโอกาสคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ส่วนที่แน่ ๆ คือ การขุดนี้เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่ทรงครองราชสมบัติอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2077-2089
(และเป็นกษัตริย์ที่มีสนมเอกนามว่า เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ นั่นเอง)
    สาเหตุที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช โปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ขึ้นนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายต่อไปว่า ในสมัยนั้นการติดต่อกับต่างประเทศ เข่น จีน และ โปรตุเกส มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ราชสำนักกรุงศรึอยุธยาจีงให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกในเรื่องการคมนาคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงโปรดให้ขุดคลองลัดที่ย่านบางกอก เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย แล้วผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราชไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ ข้างวัดอรุณราชวราราม เมื่อกระแสน้ำมีร่องให้พุ่งตรง ซึ่งจะไหลคล่องกว่าการเลี้ยวลดคดโค้งไปตามเส้นทางเดิม กระแสน้ำจึงมีกำลังแรง สามารุทำให้คลองลัดขยายกว้างขึ้นด้วยการทำลายสองฟากตลิ่ง จนกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแทนสายเก่า ส่วนลำแม่น้ำเดิมก็แคบเข้าจงเหลือเป็นคลอง ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
    กล่าวกันว่า การขุดคลองลัดที่ย่านบางกอกนั้น ช่วยย่นระยะทางคมนาคมากทีเดียว เพราะแทนที่จะเสียเวลาพายเรือทั้งวันเพื่ออ้อมไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ก็จะเหลือเพียงชั่วไปทันตั้งหม้อข้าวเดือด
    ผลที่ตามมาอย่างรวดเร็วก็คือ ย่านดังกล่าวกลายเป็นเกาะ และ ขยายชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนมากมาย ในที่สุดก็กลายเป็น "เมือง" อยู่บริเวณสองฟากฝั่งคลองลัดที่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
    จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงห่วงใยในอาณาประชาราษฎรของพระองค์ ทรงสดับตรับฟังทุกข์สุข ทรงฟังปัญหา ทรงแก้ปัญหาให้ประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยพระปรีชาญาณอันกว้างไกล เพื่อความผาสุกของประชาชน
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จประไชยราชาธิราชทรงขุดคลองเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการคมนาคม จนเกิด "คลองบางกอกน้อย"
    ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้กับพสกนิกรชองพระองค์หลายโครงการด้วยกัน และโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการตามพระราชดำริโครงการหนึ่งที่ทรงแนะนำเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตบางกอกน้อย นับเป็นพระมหากรุณาธุคุณแต่พสกนิกรของพระองค์อย่างล้นพ้น
คลองบางกอกน้อยกับพุทธศาสนา

    คลองบางกอกน้อย เป็นเส้นทางร่วมในงานชักพระ วัดนางชี การชักพระวัดนางชีนั้นเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานยังบุษบกแล้ว ชักแห่ไปทางเรือ จากหน้าวัดนางชีไปทางคลองบางกอกน้อย ถึงวัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน ก่อนเพล เลี้ยงพระกันที่วัดไก่เตี้ย แล้วยกขบวนไปที่ปากคลองบางกอกน้อย มาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ และวกเข้าคลองด่านกลับไปยังวัดนางชี
    งานนี้มีขึ้นมนวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นงานประจำปี มีการละเล่นต่าง ๆ เช่น แข่งเรือ
เพลงเรือ แห่ขบวนเรือบุปผชาติ เป็นต้น
tample13.jpg (24545 bytes)

โรงพยาบาลศิริราช

 โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ปี 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคอมมิตตี เพื่อจัดการตั้งโรงพยาบาลสำหรับพระนครขึ้น ณ บริเวณวังหลัง ทางฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนแรกเริ่มในการก่อสร้าง
ได้มีการจัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง โดยรักษาทั้งแผนปัจจุนันและแผนโบราณ ชาวบ้านทั่วไปเรียกโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า "โรงพยาบาลวังหลัง" ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า "โรงศิริราชพยาบาล"
แล้วจากนั้น เนื่องจากความต้องการแพทย์ที่มากขึ้น จึงได้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น และเริ่มเปิดสอนเมื่อ 5 กันยายน 2433 และได้มีการตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์แห่งนี้ว่า "โรงเรียนแพทยากร" โดยมีการเรียนการสอนเป็นเวลา 3 ปี เปิดสอนทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ราชแพทยาลัย"
ในปี พ.ศ.2446 ได้ขยายหลักสูตรเป็น 4 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2450 ได้รวมแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน และได้มีการขยายหลักสูตรเป็น 5 ปี ในระยะที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นไชยนาทนเรนทรทรงเป็นผู้บัญชาการราชแพทยากร ในรัชสมัยของร.6 ได้มีการประกาศให้รวมราชแพทยาลัยเข้าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนนามเป็น "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ในปี พ.ศ.2460 ต่อมาในปี พ.ศ.2461 ได้เปลี่ยนเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" และขยายหลักสูตรเป็น 6 ปี
ได้มีการเจรจากับมูลนิธิร๊อกกิเฟลเลอร์ ในปี 2464 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศสมเด้จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์เป็นผู้แทนฝ่ายไทย ในที่สุดมูลนิธิร๊อกกิเฟลเลอร์ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งการศึกษาแพทย์ เตรียมแพทย์ และพยาบาล พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกมีหลายประการและปรากฎผลสำเร็จดียิ่ง จนทำให้บุคคลทางการแพทย์ สาธารณสุข และประชาชนทั่วไปถือว่าพระองค์เป็น "องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
ในปี 2485 ได้มีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ซึ่งประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่แยกออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใช้พระนามาภิไธย "มหิดล" และคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ได้รับชื่อใหม่ว่า "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

กำแพงวังหลัง

จากวัดระฆังเดินเลี้ยว ซ้ายไปตามซอยที่จะตรงไปทะลุออกโรงพยาบาลศิริราชซอยดังกล่าวไม่กว้างมากแต่ก็ พอให้รถยนต์คันเล็ก ๆ แล่นผ่านไปได้ แต่ถ้าสวนกันคงลำบาก เลยเขตวัดระฆังไปสักเล็กน้อยจะพบบ้านหลังหนึ่งสร้างแบบสมัยใหม่ สวยงาม แต่ความแปลกของบ้านหลังนี้อยู่ที่กำแพงก่อด้วยอิฐแดงเก่า ๆ หน้าบ้าน กำแพงนั้นยาวประมาณ 10 เมตร แถวบ้านหลังนั้นตั้งอยู่เขาเรียก " ตำบลวังหลัง" ตำบลวังหลังเกี่ยวกับบ้านหลังนั้นอย่างไร เราค้นได้จากเรื่อง " บันทึกวังหลัง" นามผู้เขียนคือ "บัลลพ " "บัลลพ" เขียนไว้ในเรื่องดังกล่าวว่า สมัยกรุงศรีอยุธยากำลังจะแตก เสียแกพม่าครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2310 นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิมทองด้วง) กับพระราชวงศ์ พากันอพยพหนีลงมายังกรุงธนบุรีเข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงมีพระพี่นางสองพระองค์ พระเชษฐาหนึ่งพระองค์ พระอนุชาหนึ่งพระองค์ ที่ทรงร่วมพระชนก ชนนีเดียวกัน ตำหนักที่ประทับของพระองค์ท่าน แต่เดิมอยู่ใต้วัดระฆังไปเล็กน้อย สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่เสด็จไปประทับเหนือวัดระฆังไปหน่อย เรียกว่า ตำบลบ้านปูน ทรงทำสวนมังคุดลิ้นจี่ สมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อยเสด็จไปจอดแพค้าขายที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ส่วนพระเชษฐาและพระอนุชาตอนนั้นไป่แจ้งว่าประทับอยู่ที่ไหน ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระองค์ก็โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยอภัย พระราชนัดดา ซึ่งเป็นโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จพระพี่นาง เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์ ต่อมาทรงเห็นว่าพระยศยังไม่สมควรแก่ความชอบที่ได้ทรงร่วมทัพจับศึก ร่วมความลำบากยากเข็ญในการกู่ชาติมาด้วยกันดังนั้นหลังจากที่เจ้าฟ้ากรมหลวง อนุรักษ์เทเวศร์ได้เสด็จกลัลจากการไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองนครสวรรค์ ซึ่งพม่ายกเข้ามาถึง 9 ทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข กรมพระราชวัง กรมพระราชวังหลัง คงประทับอยู่ที่วังสวนลิ้นจี่ พระอนุชาองค์อื่น ๆ ก็มีพระตำหนักที่ประทับอยู่ในบริเวณสวนมังคุดที่บ้านปูนนั้นแหละ สำหรับพระชนนีและพระน้องนางนั้น เสด็จเข้าประทับในวังหลวง (พระบรมมหาราชวัง) เพื่อทรงช่วยราชการในวังหลวง พระนิเวศน์ที่กรมพระราชวังหลังประทับในสมัยนั้น คงจะไม้ได้สร้างเป็นประสาทราชมณเฑียรใหญ่โตเหมือนกับ " วังหน้า" คงสร้างเป็นที่ประทับธรรมดา ๆ กรมพระราชวังหน้าระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น คือสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(พระนามเดิมบุญมา) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชทรงโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น กรมพระราชวังหน้า ก่อนหน้ากรมพระราชวังหลัง 3 ปี
wpe1E.jpg (21779 bytes)
วังหน้าประทับอยู่ใกล้กับวังหลวงต่อไปทางด้านเหนือริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยไปจนจรดบางลำพู กรมพระราชวังหลังทิวงคต พ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหน้าสวรรคต 3 ปี ต่อจากนั้นก็มิได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายพระองค์ใดทรงเป็นกรมพระราชวังหลังอีก คงมีแต่พระองค์เดียวเท่านั้น ส่วนกรมพระราชวังหน้ามีถึง 6 พระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นองค์สุดท้าย พระโอรส พระธิดา และเชื้อพระวงศ์ของกรมพระราชวังหลัง ก็ทรงประทับอยู่ที่วังหลังนั้น จากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่าเจ้านายวังหลังทรงเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบมาตั้งแต่สมัยกรุงธนจน ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นอกจากจะทรงเก่งกล้าใสการรบแล้วยังทรงมีวิชา การทางฝไสยศาสตร์ ทีอาคม และอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีกด้วย มาจนถึงรัชกาลที่ 3 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกสงครามก็ว่างลง เจ้านายวังหลังต่างพลัดพรากแยกย้ายออกไป เสด็จออกต่างจังหวัดบ้าง เข้าวัดบ้าง ที่เสด็จเข้าวัดก็มีอยู่พระองค์หนึ่ง ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ต่อจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรสี) คือ หม่อมเจ้าทัด เสนีย์วงศ์ ได้ทรงเป็นสมเด็จประพุฒาจารย์เหมือนกัน เมื่อแยกกันออกไป วังหลังก็หมดสิ้นผู้สามารถปกครองไว้ได้ มีแต่ทรุดโทรมลง เมื่อ พ.ศ. 2372 เจ้าฟ้าขุนอิศรานุรักษ์พระโอรสพระองค์เล็กของสมเด็จพระพี่นาง เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ได้ทรงซื้อทางด้านสวนมังคุด แล้วทรงย้ายจากวังเดิมที่อยู่ที่เตียน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ น็น พระราชทานให้ทรงไปปลูกวังวังใหม่ที่สวนมังคุด ทรงประทับอยู่ได้เพียงปีเดียวก็ประชวรพระยอดที่ประปฤษฎางค์สิ้นพระชนม์ พรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชุอุ่ม อิศรางกูร) พระโอรสพระองค์ใหญ่ ทรงครอบครองวังต่อมา คนทั้งหลายเรียกวังตรงสวนมังคุดว่า " วังกรมเทวา" เมื่อกรมหมื่นเทวารักษ์ สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ 4 หม่อมเจ้าในกรมขุนอิศรานุรักษ์และเชื้อสายก็อยู่กันต่อมา บริเวณที่เป็นสวนลิ้นจี่ สวนนมมังคุด และบ้านปูน คนเลยเรียกรวมกันว่า " วังหลัง"มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนทางสวนลิ้นจี่ บ้านปูน ที่อยู่เหนือขึ้นไปนั้น ได้กลายเป็น วังร้าง ยิ่งขึ้น จะเนื่องจากการซื้อขายเปลี่ยนมือประการใดไม่ทราบชัด ตรงที่ต่อจากสวนมังคุดไปส่วนหนึ่งก็ได้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสตรี ชื่อว่า " โรงเรียนกุลสตีวังหลัง" โดย แหม่มแฮร์เรียต เอม เอ้าส์ เป็นผู้สร้างขึ้น สมัยนั้นขาวบ้านมักจะเรียกว่า " โรงเรียนแหม่มโคล์" ต่อมาโรงเรียนนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่ซอยวัฒนา ถนน สุขุมวิท แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า " โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย " ถัดโรงเรียนกุลสตีวังหลังไปทางเหนือก็ยังเป็นที่รกร้างอยู่ เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ศิริราชกุธภัณฑ์ พระราชโอรสองค์ที่ 53 ลำดับที่ 5 ในสมเด็จพระศรีพัชรินททราบรมราชินีนาถ ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงแบ่งวังหลังไปสร้างเป็นโรงพยาบาลศิริราช ให้เป็นอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้น ส่วนที่ทางเหนือสุดจรดลำคลอง บางกอกน้อยก็เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสายใต้ เรียกว่าสถานีรถไฟบางกอกน้อย มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ราชสกุลที่สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากกรมพระราชวังหลัง มีอยู่สองราชสกุล คือ ปาละกวงศ์ และเสนีย์วงศ์ แต่เท่าที่ทราบมาทั้งสองราชสกุลนี้มิได้รวมกันอยู่แถวนั้น คงกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่น ๆ หมด ยังมีราชสกุลที่ยังคงเหลืออยู่ในในบริเวณนั้นตลอดมาแต่ก็ไม่มากนัก คือ ราชสกุล อิศรางกูร ซื่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ที่พูดอย่างสามัญชนก็นเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ปัจจุบันบริเวณนั้นเป็น บ้านเรือน ร้านค้า ของผู้คนมากมายหนาแน่น พลุกพล่าน เพราะใกล้กับโรงพยาบาล จะมีใครรู้บ้างว่าครั้งหนึ่งเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว ที่บริเวณทั้งหมดนั้น เคยเป็นเขตที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศ์ กรมพระราชวังหลัง ในรัชกาลที่ 1 ที่มีพระราชอำนาจเป็นที่สาม รองลงมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระมหาอุปราช กรมพระราชวังหน้า

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตรอกวังหลัง


>
สำหรับคนที่เป็นขาช๊อปปิ้ง หากเอ่ยถึง "ตรอกวังหลัง" หลายคนคงต้องร้องอ๋อ..แม้ว่าบางคนจะยังไม่มีโอกาสไปสักครั้ง แต่ก็ต้องยอมรับว่าเคยได้ยินเชื่อเสียงของตรอกแห่งนี้มาบ้างพอสมควร 


     ตรอกวังหลัง นั้นตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลศริรราชเชื่อมต่อ ถนนอรุณอัมรินทร์กับ ท่าเรือวังหลังมีความยาว ประมาณ 100 เมตร วังหลังเป็นชื่่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง ของพระราชวังบวรสถานพิมุข ซึ้งมีที่ตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลศิริราช ในสมัยราชการที่ ๑

     โดยปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยกำแพงวังของ กรมหมื่นเทวานุรักษ์ ในราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ้งสืบเชื้อสายมาจาก เจ้านายท้ายวัง หลัง

wpe1E.jpg (21779 bytes)


     ปัจจุบันย่าน ตรอกวังหลัง ได้กลายเป็นแหล่งค้าขายสินค้าเบ็ดเตล็ด และอาหารการกินที่มี ชื่อเสียง จำนวนมาก อาทิ กุ้ยช่าย ไก่ย้างส้มตำ ขนมหวาน ผลไม้ อาหารแห้ง เสื้อผ้า เป็นต้น ในวันพุธ จะมีตลาดนัด ซึ้งมีพ่อ ค้าเร่ แ่ม่ค้า นำสินค้ามาขายเป็นจำนวนมาก

     หากใครที่ยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี "ตรอกวังหลัง" อาจเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่คุณน่าจะหาโอกาสมาเยือนสักครั้งหนึ่งนะคะ 



ที่มา: http://travel.thaiza.com